เจมส์ บอนด์
เจมส์ บอนด์ (อังกฤษ: James Bond) เป็นบทประพันธ์ชุดที่เน้นตัวละคร เจมส์ บอนด์ เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับอังกฤษ ซึ่งสร้างขึ้นโดยนักเขียน เอียน เฟลมมิ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2496 ซึ่งปรากฏอยู่ในนวนิยาย 12 ตอนและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ต่อมาหลังจากเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2507 มีนักประพันธ์อีกหลายคนได้สิทธิ์ในการประพันธ์ เจมส์ บอนด์ ต่อ ได้แก่ คิงส์ลีย์ เอมิส, คริสโตเฟอร์ วูด, จอห์น การ์ดเนอร์, เรย์มอนด์ เบ็นสัน, เซบาสเตียน ฟอล์ค, เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ และ วิลเลียม บอยด์[1] นอกจากนี้ยังมีผลงานประพันธ์ของ ชาร์ลี ฮิกสัน ในชุด ยังบอนด์ และ เคต เวสต์บรูค ประพันธ์ในรูปแบบไดอารีของตัวละคร มิสมันนีเพนนี
James Bond เจมส์ บอนด์ | |
---|---|
ตัวละครใน นวนิยายชุด เจมส์ บอนด์, 007 | |
![]() ภาพวาดเจมส์ บอนด์ โดยเอียน เฟลมิ่ง ใน Daily Express | |
ปรากฏครั้งแรก | นวนิยาย คาสิโน รอยัล, พ.ศ. 2496 |
ปรากฏครั้งสุดท้าย | ภาพยนตร์ องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย, พ.ศ. 2558 |
คนสร้าง | เอียน เฟลมมิ่ง |
คนแสดง | แบร์รี เนลสัน (พ.ศ. 2497) ฌอน คอนเนอรี (พ.ศ. 2505–2514 & 2526) |
คนพากย์ | บ็อบ ฮอลเนสส์ (พ.ศ. 2499) จอร์จ เบเกอร์ (พ.ศ. 2512) |
เจมส์ บอนด์ ยังได้ถูกดัดแปลงออกมาเป็นสื่อต่างๆ เช่น ละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, การ์ตูน, วิดีโอเกมและภาพยนตร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากทั่วโลก โดยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ 4 เริ่มจากเรื่อง พยัคฆ์ร้าย 007 (Dr.No) เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบท เจมส์ บอนด์ ปัจจุบันออกฉายแล้วทั้งหมด 24 ภาค ผลิตโดย อีโอเอ็น โปรดักชันส์ ภาคล่าสุด ชื่อว่า องค์กรลับดับพยัคฆ์ร้าย (Spectre) แดเนียล เคร็ก เป็นเจมส์ บอนด์ ครั้งที่ 4 และเป็นคนที่ 6 ที่รับบทนี้
นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ของ อีโอเอ็น คือ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) เมื่อปี พ.ศ. 2510 เดวิด นิเวน เป็นเจมส์ บอนด์ และ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) เมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นการรีเมค ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) โดย ฌอน คอนเนอรี กลับมารับบทเป็นเจมส์ บอนด์ อีกครั้ง
ตัวเลข 007 ที่อยู่ท้ายชื่อของเจมส์ บอนด์ หมายถึงรหัสลับประจำตัวที่ใช้เรียกแทนตัวเขาในฐานะของสายลับคนหนึ่ง โดยเลข 00 ที่นำหน้าเลข 7 อยู่นั้น ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แจ้งให้ทราบว่า ตัวเขาเป็นสายลับที่ได้รับอนุญาตให้สามารถสังหารชีวิตผู้อื่นได้โดยไม่ผิดกฎหมาย[2] ซึ่งในประเด็นนี้ ได้มีนักวิเคราะห์บางคนแสดงทัศนะว่า เฟลมิ่งน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากสายลับชาวอังกฤษผู้หนึ่งในช่วงศตวรรษที่ 16 ที่ได้ส่งสารลับมาถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ด้วยรหัส 00 ซึ่งมีความหมายว่า "สำหรับพระเนตรของพระองค์เท่านั้น" (For Your Eyes Only) [3]
ประวัติการตีพิมพ์แก้ไข
การสร้างและแรงบันดาลใจแก้ไข
เอียน เฟลมิ่ง สร้างตัวละครเจมส์ บอนด์ โดยกำหนดให้เป็น เจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ หรือ สายลับ สังกัด หน่วยสืบราชการลับอังกฤษ (Secret Intelligence Service) หรือรู้จักในชื่อ MI6 (Military Intelligence, Section 6) โดยบอนด์มีรหัสลับคือ 007, มียศ นาวาโท สังกัดกองกำลังพลสำรอง กองทัพเรือ
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
นวนิยายและผลงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข
นวนิยายของเอียน เฟลมิ่งแก้ไข
ในขณะที่ปฏิบัติราชการอยู่กับฝ่ายข่าวกรองของกองทัพเรือนั้น เฟลมิ่ง วางแผนที่จะเป็นนักประพันธ์[5] และได้บอกเพื่อนของเขาว่า "I am going to write the spy story to end all spy stories."[6] เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 เขาได้เริ่มต้นประพันธ์นวนิยายเจมส์ บอนด์เล่มแรก ในชื่อ Casino Royale ที่ คฤหาสน์ โกลเดนอาย ที่จาไมกา[7] ซึ่งเป็นที่ๆ เฟลมิ่งประพันธ์นวนิยายเจมส์ บอนด์ทั้งหมด, ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี[8] หลังจากประพันธ์ได้ไม่นาน เฟลมิ่งได้แต่งงานกับ แอน ชาร์เตอร์ริส ทำให้ต้องใช้เวลาอยู่ครอบครัว[9]
หลังจากพิมพ์ต้นฉบับของ Casino Royale เสร็จแล้ว, เฟลมิ่งได้ให้เพื่อนของเขา วิลเลียม โฟลเมอร์ อ่าน ซึ่งโฟลเมอร์ชอบมันและได้ส่งไปยังสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป แต่เคปก็ไม่ค่อยจะชอบมากเท่าไหร่ แต่สุดท้ายก็ได้ถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2496 ซึ่งแนะนำโดย ปีเตอร์ เฟลมิ่ง, พี่ชายของเอียน เฟลมมิง[8] ระหว่างปี พ.ศ. 2496 ถึง พ.ศ. 2509 และ 2 ปีหลังจากเสียชีวิต เฟลมมิงได้ประพันธ์นวนิยายทั้งหมด 12 เล่มและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ซึ่ง 2 เล่มสุดท้ายนั้นใช้ชื่อว่า The Man with the Golden Gun และ Octopussy and The Living Daylights – ซึ่งตีพิมพ์หลังเสียชีวิตแล้ว[10] ทุกเล่มตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป
|
|
นวนิยายหลังเฟลมมิ่งแก้ไข
หลังเฟลมมิ่งเสียชีวิต คิงส์ลีย์ เอมิส ได้แต่งนวนิยายบอนด์ต่อ ในชื่อ Colonel Sun (ใช้นามปากกา โรเบิร์ต มาร์คแฮม) และตีพิมพ์ในปีพ.ศ. 2511[25] ซึ่งก่อนหน้าเขาเคยเขียนหนังสือเกี่ยวกับนวนิยายบอนด์ของเฟลมมิ่งด้วย ในชื่อ The James Bond Dossier เมื่อปีพ.ศ. 2508[26] ต่อมานิยาย 2 เล่มจากภาพยนตร์ของอีโอเอ็น โปรดักชันส์ได้ตีพิมพ์ ในชื่อ James Bond, The Spy Who Loved Me และ James Bond and Moonraker โดยทั้งสองเล่มแต่งโดย คริสโตเฟอร์ วูด ซึ่งเป็นผู้เขียนบทภาพยนตร์[27] หลังจากนั้นนิยายบอนด์ก็หยุดไป จนถึงปีพ.ศ. 2524 นักเขียนแนวสยองขวัญ จอห์น การ์ดเนอร์ ได้หยิบนวนิยายบอนด์ มาแต่งในชื่อ Licence Renewed.[28] โดยการ์ดเนอร์ได้แต่งนวนิยายบอนด์ทั้งหมด 16 เล่ม โดยมี 2 เล่มเป็นนิยายจากภาพยนตร์ของอีโอเอ็น โปรดักชันส์ชื่อ Licence to Kill และ GoldenEye ถึงแม้ว่าผ่านไป 13 ปี การ์ดเนอร์ ยังคงให้ตัวละครยังอายุเท่าเดิมกับที่เฟลมมิ่งระบุเอาไว้[29] ในปี พ.ศ. 2539 การ์ดเนอร์ได้หยุดแต่งนวนิยายบอนด์ เนื่องจากปัญหาสุขภาพ[30]
|
|
ในปี พ.ศ. 2539 นักเขียนชาวอเมริกัน เรย์มอนด์ เบ็นสัน กลายเป็นนักเขียนนวนิยายบอนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเขียนหนังสือ The James Bond Bedside Companion, ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527[45] จนถึงปี พ.ศ. 2545 ก็หยุดเขียน โดยเบ็นสันเขียนนวนิยายบอนด์ทั้งหมด 6 เล่ม, นิยายอีก 3 เล่มและเรื่องสั้นอีก 3 เรื่อง[46]
|
|
6 ปีผ่านไป เซบาสเตียน ฟอล์ค ได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์เอียน เฟลมมิ่ง ให้แต่งนวนิยายบอนด์ใหม่ โดยได้วางจำหน่ายวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ในวาระครบรอบ 100 ปีเอียน เฟลมิ่ง[56] ในชื่อ Devil May Care ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ แพนกวินบุค ในสหราชอาณาจักร และสำนักพิมพ์ ดับเบิลเดย์ ในสหรัฐอเมริกา[57] ต่อมา นักเขียนชาวอเมริกัน เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ ได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์เอียน เฟลมมิง ให้แต่งนวนิยายบอนด์ในชื่อ พลิกแผนเพชฌฆาต (Carte Blanche) โดยได้วางจำหน่ายวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[58] ซึ่งเป็นรีบูทนวนิยายบอนด์ใหม่ เป็นสายลับหลังเหตุการณ์ 9/11 โดยบอนด์จะไม่สังกัด MI5 หรือ MI6[59] เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556 นวนิยายชื่อ โซโล แต่ง วิลเลียม บอยด์ โดยดำเนินเหตุการณ์อยู่ในปี พ.ศ. 2512[60]
พยัคฆ์ร้ายวัยทีนแก้ไข
พยัคฆ์ร้ายวัยทีน (Young Bond) เป็นนิยายชุด แต่งโดย ชาร์ลี ฮิกสัน[61] โดยวางจำหน่ายระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2552 รวมทั้งหมด 5 เล่มและเรื่องสั้น 1 เรื่อง[62] โดยเล่มแรกมีชื่อว่า แผนลับพันธุ์พิฆาต (SilverFin) ซึ่งต่อมาได้ดัดแปลงเป็นนิยายภาพและวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยสำนักพิมพ์ พัฟฟิน บุ๊ค[63] สำหรับประเทศไทยลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ และแปลโดยเอื้อนทิพย์ พีระเสถียร
|
เดอะ มันนีเพนนี ไดอารีส์แก้ไข
เดอะ มันนีเพนนี ไดอารีส์ (The Moneypenny Diaries) เป็นนิยายไตรภาค เกี่ยวกับชีวิตของ มิสมันนีเพนนี, เลขานุการส่วนตัวของเอ็ม, เขียนโดย ซาแมนธา เวนเบิร์ก ภายใต้นามปากกา เคต เวสต์บรูค[71] เล่มแรกใช้ชื่อว่า Guardian Angel, วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่สหราชอาณาจักร[72] เล่มที่สองใช้ชื่อว่า Secret Servant วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยสำนักพิมพ์ จอห์น เมอร์เรย์[73] และเล่มที่สามใช้ชื่อว่า Final Fling วางจำหน่ายเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[74]
การดัดแปลงแก้ไข
เนื้อเรื่องจากวรรณกรรมชิ้นนี้ ได้มีผู้ที่นำไปสร้างและดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ และสื่อบันเทิงชนิดต่าง ๆ มากมาย
จนถึงตอนนี้ (พ.ศ. 2555) เจมส์ บอนด์ ได้ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ไปแล้ว 23 เรื่อง สร้างเป็นภาพยนตร์อิสระอีก 2 เรื่อง และนำมาดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ของอเมริกาอีก 1 เรื่อง
ในบรรดาผลงานเหล่านี้ทั้งหมด งานที่ผลิตโดยอีโอเอ็น โปรดักชัน ถือได้ว่ามีความเป็น “ทางการ” มากที่สุด โดยโปรดิวเซอร์ผู้ที่ฝากผลงานไว้มากที่สุดได้แก่ อัลเบิร์ต อาร์ “คับบี” บรอคโคลี และแฮรรี ซอลท์ซ์แมน ทั้งคู่ทำหน้าที่นี้จนถึงปีพ.ศ. 2518 พอมาถึงปีพ.ศ. 2538 (อีก 20 ปีต่อมา) บาร์บารา บรอคโคลี และไมเคิล จี วิลสัน บุตรสาวและบุตรชายบุญธรรมของอัลเบิร์ต อาร์ บรอคโคลี ได้มาร่วมกันสืบทอดหน้าที่นี้แทน
ช่วงแรก ลิขสิทธิ์ เป็นของบริษัทของบรอคโคลีกับซอลท์ซ์แมนที่ชื่อ Danjaq โดยถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของดังกล่าวผ่านทางอีโอเอ็น แต่ต่อมาเมื่อซอลท์ซ์แมนขายหุ้นในบริษัท Danjaq ของตนให้กับยูไนเต็ด อาร์ตติสทส์ ไปในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 สิทธิ์ความเป็นเจ้าของถูกแบ่งให้กับยูไนเต็ด อาร์ตติสทส์ ด้วยส่วนหนึ่ง
ปัจจุบันนี้ ลิขสิทธิ์จัดจำหน่ายภาพยนตร์ชุดนี้ได้เปลี่ยนมือมาเป็นของโคลัมเบีย พิคเจอร์ กับเมโทร-โกล์ดเวน-เมเยอร์ (บริษัทแม่ของยูไนเต็ด อาร์ตติสทส์) แล้ว
นักแสดงแก้ไข
ในส่วนของนักแสดงที่มารับบทบาทเป็นเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ชุดที่ผลิตโดยอีโอเอ็น เมื่อนับจากเรื่องแรกจนถึงปัจจุบัน ก็มีทั้งหมด 6 คนด้วยกัน ได้แก่
- ฌอน คอนเนอรี่ (พ.ศ. 2505 – พ.ศ. 2510; พ.ศ. 2515
- จอร์จ ลาเซนบี้ (พ.ศ. 2512)
- โรเจอร์ มัวร์ (พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2528)
- ทิโมธี ดาลตัน (พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2532)
- เพียร์ซ บรอสแนน (พ.ศ. 2538 – พ.ศ. 2545)
- แดเนียล เคร็ก (พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน)
นอกจากนี้ ก็ยังมีนักแสดงท่านอื่น ๆ อีกที่มารับบทบาทเป็นเจมส์ บอนด์ ในผลงานที่ไม่ได้ผลิตโดยอีโอเอ็น ซึ่งได้แก่
- แบร์รี เนลสัน ได้แสดงเป็นบอนด์ในภาพยนตร์ชุด ฉายทางโทรทัศน์ของอเมริกาช่องซีบีเอส เรื่อง ไคลแม็กซ์! ชื่อตอน คาสิโน โรแยล (พ.ศ. 2497)
- บ็อบ ฮอลเนสส์ รับบทบาทเป็นเจมส์ บอนด์ ในละครวิทยุของแอฟริกาใต้เรื่อง มูนเรเกอร์ (พ.ศ. 2499)
- เดวิด นิเวน, วูดดี อัลเลน, และปีเตอร์ เซลเลอร์ ทั้งสามคนได้แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ (คือเป็นสายลับสามคนที่ใช้ชื่อเจมส์ บอนด์ เหมือนกันหมด) ใน คาสิโน โรแยล เวอร์ชันภาพยนตร์ที่ไม่ได้ผลิตโดยอีโอเอ็น (พ.ศ. 2510) โดยลักษณะของเจมส์ บอนด์ ในเรื่องนี้จะเน้นไปที่ความตลกมากกว่ามาดเท่ ๆ และเสน่ห์ที่ดึงดูดเพศตรงข้าม ผลิตโดยโคลัมเบียพิคเจอร์ส
- และ คริสโตเฟอร์ คาเซโนเว แสดงเป็นบอนด์ในตอนหนึ่งของสารคดีช่องบีบีซีชื่อ ออมนิบัส: เดอะ บริทิช ฮีโร่ (พ.ศ. 2516)
- นอกจากนั้น โรเจอร์ มัวร์ และฌอน คอนเนอรี สองนักแสดงที่รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ในภาพยนตร์ชุดของอีโอเอ็น ก็ยังเคยแสดงบทบาทเดียวกันในรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ที่ไม่ได้ผลิตโดยอีโอเอ็นมาแล้ว โดยในช่วงฤดูร้อนปีพ.ศ. 2507 โรเจอร์ มัวร์ เคยแสดงเป็นเจมส์ บอนด์ ในตอนหนึ่งของรายการตลกทางโทรทัศน์ชื่อ เมนลี มิลลิเซ็นท์ (ดำเนินรายการโดย มิลลิเซ็นท์ มาร์ติน) ซึ่งต่อมาการแสดงในตอนนี้ของเขาได้ถูกนำมาบันทึกเอาไว้ในส่วนพิเศษของดีวีดีภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ เรื่อง Live And Let Die (พยัคฆ์มฤตยู 007) ที่นำมาผลิตใหม่ ส่วนในปีพ.ศ. 2526 คอนเนอรีก็กลับมารับบทเจมส์ บอนด์ อีกครั้งในภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ที่ไม่ได้ผลิตโดยอีโอเอ็นเรื่อง Never Say Never Again (พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์) ซึ่งเป็นการผลิตใหม่ (Remake) ของภาพยนตร์เรื่อง Thunderball (ธันเดอร์บอลล์ 007) ที่เคยออกฉายมาครั้งหนึ่งแล้วในปีพ.ศ. 2508
ส่วนภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ (ของอีโอเอ็น) เรื่องที่ 21 นั้น มีชื่อว่า Casino Royale หรือในชื่อไทย 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก ผู้ที่แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ ในเรื่องนี้คือ ดาเนียล เคร็ก ได้มีการจัดฉายรอบปฐมทัศน์ไปในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ซึ่งในทวีปเอเชียและตะวันออกกลางจะเริ่มฉายถัดจากวันนั้นไปหนึ่งวัน ส่วนในประเทศไทยนั้น ได้เริ่มฉายวันแรกในวันที่ 16 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน
นอกจากวรรณกรรมและภาพยนตร์ ยังเป็นวิดีโอเกม หนังสือการ์ตูน การ์ตูน ที่นำเสนอเป็นตอนในหนังสือพิมพ์ และถูกนำมาล้อเลียนในสื่อประเภทต่าง ๆ อีกด้วย
เจมส์ บอนด์กับประเทศไทยแก้ไข
ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ เคยเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย 2 ครั้ง ตอน 007 เพชฌฆาตปืนทอง (The Man with the Golden Gun) ที่ เกาะพีพี และ เกาะตาปูในจังหวัดพังงา (ซึ่งหลังจากที่ภาพยนตร์ชุดนี้ออกฉาย ทำให้สถานที่แห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดัง จนมักเรียกว่า "เกาะเจมส์ บอนด์" James Bond Island) คลองรังสิตและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วนครั้งต่อมา คือ ตอน 007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย (Tomorrow Never Dies) ถ่ายทำที่ตึกสินสาธร ย่านธนบุรี ฉากแอคชันที่บอนด์กับนางเอกต้องกระโดดลงมาจากยอดตึก นักแสดงแทนตัวเอกฝ่ายหญิงนั้น เป็นนักศึกษาสาวชาวไทยเอง
ในราวปี พ.ศ. 2534 "รายการท็อปเท็น" ทางช่อง 9 เคยนำเสนอซีรีส์สั้น ๆ เกี่ยวกับเจมส์ บอนด์ โดยนักแสดงชาวไทยที่รับบทเจมส์ บอนด์ คือ ธานินทร์ ทัพมงคล
ในปี พ.ศ. 2545 นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเอานวนิยายชุดเจมส์ บอนด์ มาดัดแปลงเป็นละคอนถาปัด ซึ่งเป็นกิจกรรมละครเวทีประจำปีของนิสิต และใช้ชื่อว่า "พยัคฆ์(ลอง)ร้าย 007" โดยเล่าเรื่องภารกิจครั้งแรกของ เจมส์ บอนด์ ครั้งยังเป็นสายลับหนุ่มฝึกหัดของหน่วยสืบราชการลับอังกฤษ โดยมีตัวละครจากซีรีส์ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ภาคต่างๆปรากฏในท้องเรื่องหลายตัวละคร เช่น เอ็ม, มันนีเพ็นนี, คิว, เฟลิกซ์ ไลเทอร์, ดร.โน, อูริค โกลด์ฟิงเกอร์ และ เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ แสดงที่ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 10 รอบ ระหว่างวันที่ 17-19 และ 24-26 พฤษภาคม 2545
อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2533 มีหนังโทรทัศน์เรื่องยาว (TV Movie) ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ชื่อ SPYMAKER:The Secret Life of Ian Fleming[78] ประวัติการผจญภัยของเฟลมมิ่งในช่วงหนุ่มน้อยสายลับฝึกหัดที่มีอิทธิพลต่อการเขียนนิยายชุดเจมส์ บอนด์ ในเวลาต่อมา นำแสดงโดย เจสัน คอนเนอรี่ (Jason Connery) บุตรของ ณอน คอนเนอรี่ (ทั้งคู่เคยแสดงร่วมกันใน Robin and Marian เมื่อ พ.ศ. 2519)
การดัดแปลงแก้ไข
ภาพยนตร์แก้ไข
ภาพยนตร์โดยอีโอเอ็น โปรดักชั่นแก้ไข
ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ ทั้ง 25 เรื่องนี้ เป็นผลงานการผลิตโดยอีโอเอ็น โปรดักชั่น และเป็นภาพยนตร์ชุดที่ประสบความสำเร็จเป็นอันดับที่ 6 ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
ภาพยนตร์ที่ไม่ใช่ของอีโอเอ็นแก้ไข
ในปีพ.ศ. 2510 ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ตลก ผู้แสดงเป็น เซอร์ เจมส์ บอนด์ คือ เดวิด นิเวน และเออร์ซูลา แอนเดรส รับบทเป็น เวสเปอร์ ลินด์ (เดวิด นิเวน เคยเป็นตัวเลือกแรกของเอียน เฟลมิ่ง เพื่อรับบทเจมส์ บอนด์ใน พยัคฆ์ร้าย 007 ของ อีโอเอ็น โปรดักชันส์ด้วย)[79] ในปีพ.ศ. 2506 จากการตัดสินในชั้นศาลในลอนดอน อนุญาตให้ เควิน แม็คคลอรี สร้างฉบับรีเมคของ ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) ในชื่อ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) ซึ่งออกฉายในปีพ.ศ. 2526[80] โดยมีฌอน คอนเนอรี รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ในปีพ.ศ. 2540 โซนีคอร์โปเรชันได้ซื้อลิขสิทธิ์จากแม็คคลอรี ซึ่งไม่เปิดเผยราคา[80] ซึ่งต่อมาก็ยกให้ MGM, โดยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 MGM ได้ประกาศว่าทางบริษัทได้สิทธิ์ในการจำหน่ายภาพยนตร์ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ จากบริษัท ทาเลียฟิล์ม ของ Schwartzman[81] ปัจจุบัน บริษัทอีโอเอ็น เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในการดัดแปลง นวนิยายบอนด์ของเอียน เฟลมิ่งทั้งหมด แต่เพียงผู้เดียว[80][82]
ชื่อเรื่องภาษาไทย (ภาษาอังกฤษ) | ปีที่ออกฉาย | ผู้แสดงเป็นเจมส์ บอนด์ | ผู้กำกับ |
---|---|---|---|
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) | พ.ศ. 2510 | เดวิด นิเวน | เค็น ฮิวจ์ส จอห์น ฮัสตัน โจเซฟ แม็คกราธ โรเบิร์ต พาร์ริช วาล เกสต์ ริชาร์ด ทาลแมดจ์ |
พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) | พ.ศ. 2526 | ฌอน คอนเนอรี | เออร์วิน เคอร์เชอร์ |
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ "William Boyd takes James Bond back to 1960s in new 007 novel". BBC News. London. BBC. 12 April 2012. สืบค้นเมื่อ 12 April 2012.
- ↑ สมเกียรติ อ่อนวิมล. "ความรู้เรื่อง เจมส์ บอนด์ กำเนิด 007," ชาวคู่ฯ ดูหนัง, คู่สร้างคู่สม (ปีที่ 27 ฉบับที่ 547 วันที่ 1 – 10 พ.ย. 2549).
- ↑ อุริสรา โกวิทย์ดำรง. "สายลับอังกฤษจะมีชีวิตแบบ เจมส์ บอนด์ จริงหรือ," เปิดโลกกว้าง, คม ชัด ลึก (ปีที่ 6 ฉบับที่ 1862 วันที่ 25 พ.ย. 2549)
- ↑ Macintyre 2008, p. 208.
- ↑ Lycett, Andrew (2004). "Fleming, Ian Lancaster (1908–1964) (subscription needed)". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/33168. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
- ↑ Macintyre, Ben (5 April 2008). "Bond - the real Bond". The Times. p. 36.
- ↑ Chancellor 2005, p. 4.
- ↑ 8.0 8.1 Chancellor 2005, p. 5.
- ↑ Bennett & Woollacott 2003, p. 1, ch 1.
- ↑ Black 2005, p. 75.
- ↑ "Casino Royale". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Live and Let Die". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Moonraker". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Diamonds are Forever". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "From Russia, with Love". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Dr. No". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Goldfinger". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "For Your Eyes Only". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Thunderball". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "The Spy Who Loved Me". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "On Her Majesty's Secret Service". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "You Only Live Twice". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "The Man with the Golden Gun". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Octopussy and The Living Daylights". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Colonel Sun". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ Benson 1988, p. 32.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 27.4 27.5 "Film Novelizations". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ Simpson 2002, p. 58.
- ↑ Benson 1988, p. 149.
- ↑ Ripley, Mike (2 November 2007). "Obituary: John Gardner: Prolific thriller writer behind the revival of James Bond and Professor Moriarty". The Guardian. p. 41.
|access-date=
requires|url=
(help) - ↑ "Licence Renewed". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "For Special Services". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Ice Breaker". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Role Of Honour". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Nobody Lives Forever". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "No Deals Mr Bond". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Scorpius". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Win, Lose Or Die". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Brokenclaw". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "The Man From Barbarossa". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Death is Forever". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Never Send Flowers". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Seafire". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Cold". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ Raymond Benson. "Books--At a Glance". RaymondBenson.com. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Raymond Benson". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ Simpson 2002, p. 62.
- ↑ "Zero Minus Ten". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "The Facts Of Death". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ Simpson 2002, p. 63.
- ↑ Simpson 2002, p. 64.
- ↑ "High Time To Kill". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Doubleshot". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Never Dream Of Dying". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "The Man With The Red Tattoo". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Faulks pens new James Bond novel". BBC News. 11 July 2007. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Sebastian Faulks". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "James Bond book called Carte Blanche". BBC News. 17 January 2011. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Jeffery Deaver". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Solo Published Today". Ian Fleming Publications. 26 September 2013. สืบค้นเมื่อ 1 October 2013.
- ↑ Smith, Neil (3 March 2005). "The name's Bond - Junior Bond". BBC News. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ "Charlie Higson". Puffin Books - Authors. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ "SilverFin: The Graphic Novel". Puffin Books. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ "Young Bond: SilverFin". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Young Bond: Blood Fever". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Young Bond: Double or Die". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Young Bond: Hurricane Gold". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Young Bond: By Royal Command". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "SilverFin: The (Graphic Novel)". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Danger Society: The Young Bond Dossier". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Miss Moneypenny". Evening Standard. 14 October 2005. p. 10.
- ↑ O'Connell, John (12 October 2005). "Books - Review - The Moneypenny Diaries - Kate Westbrook (ed) - John Murray GBP 12.99". Time Out. p. 47.
- ↑ Weinberg, Samantha (11 November 2006). "Licensed to thrill". The Times. p. 29.
- ↑ Saunders, Kate (10 May 2008). "The Moneypenny Diaries: Final Fling". The Times. p. 13.
- ↑ "Guardian Angel". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Secret Servant". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Final Fling". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ secret life of Ian Fleming ,www.imdb.com
- ↑ Macintyre 2008, p. 202.
- ↑ 80.0 80.1 80.2 Poliakoff, Keith (2000). "License to Copyright - The Ongoing Dispute Over the Ownership of James Bond" (PDF). Cardozo Arts & Entertainment Law Journal. Benjamin N. Cardozo School of Law. 18: 387–436. สืบค้นเมื่อ 3 September 2011.
- ↑ "Metro-Goldwyn-Mayer Inc. announces acquisition of Never Say Never Again James Bond assets" (Press release). Metro-Goldwyn-Mayer. 4 December 1997. Archived from the original on 5 May 2008. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
- ↑ Shprintz, Janet (29 March 1999). "Big Bond-holder". Variety. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
Judge Rafeedie ... found that McClory's rights in the "Thunderball" material had reverted to the estate of Fleming
บรรณานุกรมแก้ไข
- Bennett, Tony; Woollacott, Janet (2003). "The Moments of Bond". In Lindner, Christoph. The James Bond Phenomenon: a Critical Reader. Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-6541-5.
- Benson, Raymond (1988). The James Bond Bedside Companion. London: Boxtree Ltd. ISBN 978-1-85283-233-9.
- Black, Jeremy (2005). The Politics of James Bond: from Fleming's Novel to the Big Screen. University of Nebraska Press. ISBN 978-0-8032-6240-9.
- Caplen, Robert (2010). Shaken & Stirred: The Feminism of James Bond. Bloomington, Indiana: Xlibris. ISBN 978-1-4535-1282-1.
- Chancellor, Henry (2005). James Bond: The Man and His World. London: John Murray. ISBN 978-0-7195-6815-2.
- Chapman, James (2009). Licence to Thrill: A Cultural History of the James Bond Films. New York: I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-515-9.
- Conroy, Mike (2004). 500 Great Comicbook Action Heroes. London: Chrysalis Books Group. ISBN 978-1-84411-004-9.
- Cork, John; Scivally, Bruce (2002). James Bond: The Legacy. London: Boxtree. ISBN 978-0-7522-6498-1.
- Cork, John; Stutz, Collin (2007). James Bond Encyclopedia. London: Dorling Kindersley. ISBN 978-1-4053-3427-3.
- Feeney Callan, Michael (2002). Sean Connery. London: Virgin Books. ISBN 978-1-85227-992-9.
- Fleming, Ian; Gammidge, Henry; McLusky, John (1988). Octopussy. London: Titan Books. ISBN 1-85286-040-5.
- Griswold, John (2006). Ian Fleming's James Bond: Annotations And Chronologies for Ian Fleming's Bond Stories. AuthorHouse. ISBN 978-1-4259-3100-1.
- Jütting, Kerstin (2007). "Grow Up, 007!" - James Bond Over the Decades: Formula Vs. Innovation. GRIN Verlag. ISBN 978-3-638-85372-9.
- King, Geoff; Krzywinska, Tanya (2002). Screenplay: cinema/videogames/interfaces. Wallflower Press. ISBN 978-1-903364-23-9.
- Lindner, Christoph (2009). The James Bond Phenomenon: a Critical Reader. Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-6541-5.
- Lycett, Andrew (1996). Ian Fleming. London: Phoenix. ISBN 978-1-85799-783-5.
- Macintyre, Ben (2008). For Your Eyes Only. London: Bloomsbury Publishing. ISBN 978-0-7475-9527-4.
- Packer, Jeremy (2009). Secret agents: popular icons beyond James Bond. Peter Lang. ISBN 978-0-8204-8669-7.
- Pearson, John (2008). James Bond: The Authorized Biography. Random House. ISBN 978-0-09-950292-0.
- Pfeiffer, Lee; Worrall, Dave (1998). The Essential Bond. London: Boxtree Ltd. ISBN 978-0-7522-2477-0.
- Simpson, Paul (2002). The Rough Guide to James Bond. Rough Guides. ISBN 978-1-84353-142-5.
- Smith, Jim; Lavington, Stephen (2002). Bond Films. London: Virgin Books. ISBN 978-0-7535-0709-4.
- Thompson, Maggie; Frankenhoff, Brent; Bickford, Peter (2010). Comic Book Price Guide 2010. Krause Publications. ISBN 978-1-4402-1399-1.
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเจมส์ บอนด์
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ สำนักพิมพ์เอียน เฟลมิ่ง
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของนวนิยายเยาวชนชุดยัง บอนด์
- Pinewood Studios – home of Bond
- Pinewood Studios Albert R. Broccoli 007 Stage official website
- Ian Fleming's 'Red Indians' – 30AU – Literary James Bond's Wartime unit