ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง

ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง (จีน: 唐山大兄; อังกฤษ: The Big Boss) หรือในชื่อสำหรับเวอร์ชันอเมริกา ฟิสท์ออฟฟิวรี่ (อังกฤษ: Fists Of Fury) เป็นภาพยนตร์แอ็คชั่นของฮ่องกง จัดฉายขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1971 โดยเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เรื่องแรกของบรูซ ลี ซึ่งสถานที่ถ่ายทำอยู่ในประเทศไทยตลอดทั้งเรื่อง นับเป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ส่งผลให้บรูซลีมีชื่อเสียง และโด่งดังที่สุดในยุคนั้น[2][3]

ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง
กำกับหลอ เว่ย
เขียนบทบรูซ ลี
หลอ เว่ย
อำนวยการสร้างเรย์มอนด์ เชา
นักแสดงนำบรูซ ลี
มาเรีย ยี่
เจมส์ เทียน
หยินชี หาน
โทนี่ หลิว
ดนตรีประกอบหวัง ฟู่หลิง
(ต้นฉบับภาษาจีนกลาง)
ปีเตอร์ โธมัส
(เวอร์ชันภาษาอังกฤษ)
โจเซฟ คู
(เวอร์ชันภาษากวางตุ้งฉบับทำใหม่)
ผู้จัดจำหน่ายโกลเด้นฮาเวสท์
วันฉายฮ่องกง:
3 ตุลาคม ค.ศ. 1971
ความยาว110 นาที
ประเทศฮ่องกง
ภาษาจีนกลาง
กวางตุ้งมาตรฐาน
ทำเงิน3,197,417 ดอลลาร์ฮ่องกง
อเมริกาเหนือ:
2,800,000 ดอลลาร์ (ค่าเช่าในสหรัฐอเมริกา/แคนาดา)[1]

เนื้อเรื่องย่อ

แก้

เฉาอัน ชายหนุ่มชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ เขาพักอาศัยอยู่กับลุงและเหล่าคนงานในโรงงานผลิตน้ำแข็งของเถ้าแก่หาว และแล้วเมื่อได้มีเหตุการณ์น้ำแข็งแตก ก็ได้พบว่ามียาเสพติดซ่อนอยู่ข้างใน ที่ซึ่งแท้จริงแล้ว โรงงานแห่งนี้เป็นเพียงฉากบังหน้าของการลักลอบขนยาเสพติดที่นำโดยเถ้าแก่หาว พวกคนงานต่างปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือ พวกเขาจึงถูกสังหารและทำลายหลักฐาน

ครั้นเมื่อลูกพี่ลูกน้องสองคนได้รับการส่งไปยังบ้านของเถ้าแก่หาวก็ได้ถูกสังหาร และเหล่าชายฉกรรจ์ได้ก่อการจลาจลที่โรงงาน เพื่อบรรเทาความตรึงเครียด จึงได้มีการแต่งตั้งให้เฉาอันขึ้นเป็นหัวหน้า พร้อมกับจัดหาเครื่องดื่มและสาว ๆ ให้ ครั้นเมื่อผู้หญิงคนหนึ่งได้บอกความจริงแก่เฉาอัน เขาก็ได้เข้าไปในโรงงานในเวลากลางคืน และได้พบกับร่างที่ไร้วิญญาณของลูกพี่ลูกน้อง แล้วเขาก็ถูกพบตัวโดยเหล่าแก๊งอันธพาล

เฉาอันได้ทำการต่อสู้เพื่อหาทางออก และได้สังหารลูกชายของเถ้าแก่หาว เมื่อเขากลับถึงบ้าน เขาก็พบว่าทั้งครอบครัวของเขาได้ถูกฆ่าตาย และเขาได้ตั้งใจที่จะล้างแค้นด้วยการกำจัดเถ้าแก่หาวในการต่อสู้ครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นเขาก็ได้ยอมมอบตัวกับทางตำรวจไทย ที่ได้เดินทางมาถึงหลังจากที่เขาได้โค่นล้มเจ้านายใหญ่ลง

นักแสดงนำ

แก้

การถ่ายทำ

แก้

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 บรู๊ซลีบินจากลอสแอนเจลิสมาถึงกรุงเทพ โดยจะแวะที่ฮ่องกงก่อน แต่เรย์มอนด์ เชา -ผู้อำนวยการสร้าง เป็นกังวลว่าทางชอว์บราเดอร์ส อาจแอบไปยื่นข้อเสนอด้านผลประโยชน์ฉบับใหม่กับตัวบรู๊ซลี เชาจึงต้องการให้บรู๊ซลีบินตรงมาที่กรุงเทพเลย แต่บรู๊ซลีปฏิเสธโดยแวะที่ฮ่องกงก่อนช่วงสั้น ๆ เพื่อพบปะทักทายเพื่อนและใช้โทรศัพท์[4] บรู๊ซลีพักอยู่ที่กรุงเทพ 5 คืน พบปะกับนักแสดงท่านอื่นและทีมงานเกือบทั้งหมด รวมทั้งพบเรย์มอนด์ เชาเป็นครั้งแรก[5]

การถ่ายทำเริ่มต้นเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2514 ที่อำเภอปากช่อง และการที่บรู๊ซลีต้องพักอยู่ที่ปากช่องถึง 4 สัปดาห์ บรู๊ซลีแสดงความไม่ชอบใจในสถานที่ผ่านทางจดหมาย ที่ตัวเขาเองเขียนถึงลินดา(Linda Lee Cadwell - ภรรยาของบรู๊ซลี) โดยบอกว่าที่นี่เหมือนไม่มีกฎหมาย เป็นหมู่บ้านซอมซ่อ ไร้การพัฒนา และเนื่องด้วยไม่มีอาหารสดรับประทาน ทำให้น้ำหนักตัวของบรู๊ซลีลดลง บรู๊ซลีต้องรับประทานเนื้อกระป๋องและวิตามินเสริม ซึ่งในส่วนนี้ตัวเขาจัดเตรียมมาเอง มีบางครั้งที่บรู๊ซลีไม่สามารถเปล่งเสียงได้ ในเวลาที่ต้องตะโกนในกองถ่าย มียุงและแมลงสาบชุกชุม น้ำประปาที่โรงแรมก็มีสีเหลืองขุ่น[6][7][8] บรู๊ซลีขอให้พนักงานโรงแรมยกที่นอนลงมาวางไว้บนพื้นห้อง เพราะการนอนบนเตียงเป็นปัญหากับสุขภาพหลังของเขา[9] บรู๊ซลีต้องการนอนพักผ่อนให้มาก หลังจากที่ต้องเข้าฉากคิวบู๊[10]

ตอนที่บรู๊ซลีมาถึงปากช่อง เหล่าบรรดาตัวแทนจากบริษัทคู่แข่งของโกลเดนฮาร์เวสต์ รวมทั้งชอว์บราเดอร์สด้วย ต่างพยายามให้บรู๊ซลีตีตนออกห่างจากโกลเดนฮาร์เวสต์ ด้วยการยื่นข้อเสนอผลประโยชน์ใหม่ที่ดีกว่า มีแม้กระทั่งผู้อำนวยการสร้างจากจีนไทเป เสนอให้บรู๊ซลีฉีกสัญญากับโกลเดนฮาร์เวสต์ทิ้ง โดยจะเป็นคนดูแลเรื่องข้อกฎหมายให้เอง บรู๊ซลีซึ่งเป็นคนรักษาคำพูดจึงไม่สนใจในข้อเสนอใหม่เหล่านั้น ถึงแม้ตัวเขาเองจะต้องพบความตึงเครียดเนื่องจากสถานที่ถ่ายทำอยู่ ณ เวลานั้นก็ตาม [11][12]

การถ่ายทำเป็นไปอย่างกระท่อนกระแท่นในช่วงแรก ๆ เนื่องจากมีการเปลี่ยนตัวผู้กำกับจาก Wu Chia Hsiang ไปเป็นหลอ เว่ย (สามีของ Liu Liang Hua หนึ่งในสองผู้ช่วยผู้อำนวยการสร้าง)[13] ทำให้ในช่วงแรก ๆ บรู๊ซลีไม่แน่ใจในตัวหลอ เว่ย เห็นได้จากจดหมายที่เขาเขียนถึงลินดา ระบุว่านายคนนี้เป็นพวก "ชอบเอาหน้า" และยังเป็น "คนจำพวกเห็นใครเหนือกว่าไม่ได้" [14][15]

บรู๊ซลีถูกแก้วบาดมือขวาขณะล้าง บาดแผลมีขนาดเย็บ 10 เข็ม[16][17] ทำให้ต้องแปะพลาสเตอร์ขนาดใหญ่ในขณะถ่ายทำ ซึ่งปรากฏให้เห็นในภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะฉากที่ถ่ายทำที่โรงน้ำแข็งธรรมรงค์ไทย อันเป็นสถานที่ถ่ายทำลำดับแรกในปากช่อง โดย Fatty Ma มีผู้ช่วยประสานงานกับเจ้าของโรงน้ำแข็ง ได้รับอนุญาตให้ใช้สถานที่ถ่ายทำได้ 2-3 วัน[18]

คืนหนึ่ง การถ่ายคิวบู๊ที่โรงน้ำแข็งต้องหยุดไปเป็นชั่วโมง เนื่องจากคอนแทคเลนส์ของบรู๊ซลีหล่นหาย คนจำนวนหนึ่งโหลต้องคลานกับพื้นเพื่อช่วยกันหาท่ามกลางก้อนน้ำแข็งนับพันก้อน ท้ายที่สุดบรู๊ซลีก็หาพบเอง ในขณะที่หลอ เว่ยสงสัยว่าจริงแล้วมันอยู่ในกระเป๋าของบรู๊ซมาตลอดหรือไม่ และนั่นเป็นเหตุจงใจที่จะก่อกวนกองถ่าย[19]

นอกจากโรงน้ำแข็งแล้ว ยังมีการถ่ายทำในสถานที่อื่นอีกเช่นลำตะคอง (ลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล) และซ่องนางโลมในพื้นที่ (โรงแรมมิตรสัมพัน)ซึ่งต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้ แต่ฉากในห้องนอนไปถ่ายทำที่บังกะโลริมน้ำ เป็นของเจ้าของเดียวกันกับโรงแรมนิววันชัย (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ริมธารอินน์) และที่นี่ก็เป็นที่พักของกองถ่าย เนื่องจากห้องพักของซ่องนางโลมมีกลิ่นสกปรกและไม่สะอาด อัตราค่าซื้อบริการจากโสเภณีในเวลานั้นคือ 15 บาทต่อครั้ง แต่กองถ่ายจ่ายให้ 100 ถึง 200 บาทเพื่อมาร่วมเข้าฉาก[20]

หนึ่งในสถานที่โดดเด่นและถูกอุปโลกน์ว่าเป็นคฤหาสน์และสวนของหัวหน้าใหญ่ คือวัดศิริสัมพันธ์ (วัดสำเพาอุปถัมภ์)[21] สร้างในปี พ.ศ. 2506[22] ซึ่งยังคงรักษารูปลักษณ์ไม่เปลี่ยนไปจากเดิมมากนัก เพื่อคงความประทับใจให้กับเหล่านักท่องเที่ยว นักแสวงบุญ ได้พบเห็นสถานที่ถ่ายทำดั้งเดิม[23]

มีการคาดเดากันว่าบรู๊ซลีลงมือต่อสู้จริง ๆ ในฉากบู๊หัวหน้าใหญ่ จากภาพที่ปรากฏในภาพยนตร์ชีวประวัติเรื่อง Dragon: The Bruce Lee Story ออกฉายในปี 1993 ถึงแม้ว่าการต่อสู้นั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง บรู๊ซลีก็ได้ลองประมือกับสตั๊นแมนคนไทย (หนึ่งในนั้นคืออดีตแชมป์มวยไทยรุ่นแบนตั้มเวท) มีการแลกเปลี่ยนทักษะกันระหว่างการถ่ายทำ แต่กระนั้นบรู๊ซลีดูเหมือนไม่ประทับใจนัก อีกทั้งยังเรียกท่าเตะของสตั๊นแมนว่า "ส่งโทรเลข (telegraphed)" ส่วนทีมสตั๊นแมนจากฮ่องกง (หลิน เจิ้งอิง และพี่น้อง บิลลี่ ฉาน ปีเตอร์ ฉาน หลุง) เริ่มไม่ประทับใจในตัวบรู๊ซลี อีกทั้งยังสงสัยในทักษะของเขาอีกด้วย แต่ความคิดเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อลัมท้าประลองกับบรู๊ซลีในโรงแรม และก็ถูกบรู๊ซลีเตะออกนอกห้อง[24]

หลังจากความฉุกระหุกในช่วงแรกของการถ่ายทำที่ปากช่อง ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2514 การถ่ายทำก็ไหลรื่น บรู๊ซลีกับหลอ เว่ยร่วมมือทำงานกันด้วยดี แต่ยังมีความไม่ลงรอยกันบ้างในบางฉาก โดยเฉพาะการใช้แทมโพลีนและฟูกที่นอนในการช่วยส่งให้ตัวแสดงลอยตัวสูงในอากาศ และฉากที่บรู๊ซลีเล่นงานตัวแสดงเป็นสมุนหัวหน้าใหญ่ทะลุผนัง และมีการตบแต่งให้ผนังทะลุเป็นรูปร่างคน[25] บรู๊ซลียังไม่ยอมรับความคิดของหลอ เว่ย ในการถ่ายทำฉากเข้าพระเข้านาง กับนักแสดงที่รับบทโสเภณี แต่ท้ายที่สุดก็ยินยอมทำตามคำยืนกรานของหลอ เว่ย ที่ต้องการสร้างภาพตัวละครในมิติใหม่ เป็นนักสู้ที่ถูกผลักดันด้วยแรงแค้น

ฉากสุดท้ายที่เป็นการต่อสู้กับตัวหัวหน้าใหญ่ (แสดงโดยหาน หยินชี และยังเป็นผู้ออกแบบท่าต่อสู้ในภาพยนตร์ให้อีกด้วย) โดยถ่ายทำกันที่ปากช่อง ซึ่งต้องประสบกับปัญหา"นรกสองวัน" บรู๊ซลีกัดฟันสู้กับอาการบาดเจ็บข้อเท้า อันเนื่องมาจากต้องกระโดดลอยตัวขึ้นสูงและตกลงมาลื่นลงบนฟูกที่นอน และถูกนำตัวเข้าพบแพทย์ที่กรุงเทพทันที ตามมาด้วยการติดเชื้อไวรัสเนื่องจากอากาศร้อนและแออัด ต้องใช้วิธีถ่ายเจาะใกล้ (Close-ups) เพื่อให้ฉากต่อสู้นั้นจบโดยสมบูรณ์ ในขณะที่บรู๊ซลีต้องใช้สภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์เข้าถ่ายทำด้วยอาการเหนื่อยล้า [26][27][28]

12 วันสุดท้ายในเดือนสิงหาคม นักแสดงและทีมงานยกกองถ่ายมาที่กรุงเทพ บรู๊ซลีได้รับความสะดวกสบายในโรงแรม เป็นความหรูหราที่เขาไม่ได้รับจากปากช่อง [29][30] ฉากปาร์ตี้มื้อค่ำถ่ายทำที่ห้องด้านหลังของภัตราคารพูลสิน สาขาที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงแรมนั่นเอง[31][32] มีอีก 2-3 ฉากถ่ายทำกันริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่อำเภอพระประแดง รวมทั้งฉากเปิดที่บรู๊ซลีกับคุณลุงก้าวขึ้นจากเรือข้ามฟากและเดินออกมาจากท่าเทียบเรือ บ้านไม้สักโบราณที่ตั้งอยู่ที่พระประแดง ถูกอุปโลกน์เป็นบ้านของครอบครัว รวมไปถึงถ่ายทำฉากต่อสู้ครั้งแรกของลูกพี่ลูกน้องเฉาอัน โดยมีเหมียวเข่อซิ่วที่แสดงเป็นแม่ค้าขายน้ำแข็งไส ร่วมเข้าฉากด้วยในฐานะนักแสดงรับเชิญ โดยเลือกเอามุมด้านตะวันตกที่คล้ายคลึงกันกับปากช่อง[33] เนื่องจากกองถ่ายประสบปัญหาฝนตกหนัก[34]

ทีมงานกองถ่ายเดินทางกลับฮ่องกงวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2514 มีการถ่ายทำเพิ่มเติมที่สนามกอล์ฟรอยัลฮ่องกง เพื่อมาใช้เป็นฉากแทรก(insert shot) เช่นฉากหลบหลีกสุนัข และฉากต่อสู้กับหัวหน้าใหญ่ ต่อมามีการตัดฉากต่อสู้ที่มีรถเข็นในตรอกทิ้งไป โดยทำกันที่เวเดอร์สตูดิโอในฮ่องกง เนื่องจากในเวลานั้น โกลเดนฮาร์เวสต์ยังไม่ได้ก่อตั้งสตูดิโออันมีชื่อเสียงที่ถนนแฮมเมอร์ฮิลล์[35]

อ้างอิง

แก้
  1. "Big Rental Films of 1973", Variety, 9 January 1974 p 19
  2. ข้อมูลภาพยนตร์ (อังกฤษ)
  3. ไอ้หนุ่มซินตึ๊ง (จีน)
  4. Lee, Linda; Bleecker, Tom (1989). The Bruce Lee Story. Ohara Publications, Inc.(อังกฤษ)
  5. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  6. Lee, Linda; Bleecker, Tom (1989). The Bruce Lee Story. Ohara Publications, Inc.(อังกฤษ)
  7. Lee, Linda (1975). Bruce Lee: The Man Only I Knew. Warner Paperback Library.(อังกฤษ)
  8. Little, John (1998). Bruce Lee: Letters of the Dragon. Tuttle Publishing.(อังกฤษ)
  9. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  10. Lee, Linda (1975). Bruce Lee: The Man Only I Knew. Warner Paperback Library.(อังกฤษ)
  11. Lee, Linda; Bleecker, Tom (1989). The Bruce Lee Story. Ohara Publications, Inc.(อังกฤษ)
  12. Lee, Linda (1975). Bruce Lee: The Man Only I Knew. Warner Paperback Library.(อังกฤษ)
  13. Lee, Linda (1975). Bruce Lee: The Man Only I Knew. Warner Paperback Library.(อังกฤษ)
  14. Lee, Linda; Bleecker, Tom (1989). The Bruce Lee Story. Ohara Publications, Inc.(อังกฤษ)
  15. Lee, Linda (1975). Bruce Lee: The Man Only I Knew. Warner Paperback Library.(อังกฤษ)
  16. Lee, Linda (1975). Bruce Lee: The Man Only I Knew. Warner Paperback Library.(อังกฤษ)
  17. Little, John (1998). Bruce Lee: Letters of the Dragon. Tuttle Publishing.(อังกฤษ)
  18. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  19. Clouse, Robert (1988). Bruce Lee: The Biography. Unique Publications.(อังกฤษ)
  20. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  21. Geo coordinates
  22. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  23. In Pursuit of the Dragon (2012 documentary) by John Little.(อังกฤษ)
  24. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  25. Bruce Lee in The Big Boss published by Bruce Lee JKD Club (1980)(อังกฤษ)
  26. Lee, Linda; Bleecker, Tom (1989). The Bruce Lee Story. Ohara Publications, Inc.(อังกฤษ)
  27. Lee, Linda (1975). Bruce Lee: The Man Only I Knew. Warner Paperback Library.(อังกฤษ)
  28. Little, John (1998). Bruce Lee: Letters of the Dragon. Tuttle Publishing.(อังกฤษ)
  29. Lee, Linda; Bleecker, Tom (1989). The Bruce Lee Story. Ohara Publications, Inc.(อังกฤษ)
  30. Lee, Linda (1975). Bruce Lee: The Man Only I Knew. Warner Paperback Library.(อังกฤษ)
  31. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  32. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  33. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)
  34. Little, John (1998). Bruce Lee: Letters of the Dragon. Tuttle Publishing.(อังกฤษ)
  35. Kerridge, Steve; Chua, Darren (2018). Bruce Lee: Mandarin Superstar. On The Fly Productions Ltd.(อังกฤษ)

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้