ไห่รุ่ย (จีน: 海瑞, 23 มกราคม 1514 – 13 พฤศจิกายน 1587) เป็นขุนนางและนักปราชญ์ชาวจีนสมัยราชวงศ์หมิง เป็นที่จดจำในฐานะแบบอย่างของขุนนางผู้ซื่อสัตย์และสุจริตในราชสำนัก

ไห่รุ่ย
เกิด23 มกราคม ค.ศ. 1514(1514-01-23)
ไหโข่ว
ถึงแก่กรรม13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1587(1587-11-13) (73 ปี)
หนานจิง
สุสานไหโข่ว
สัญชาติจีน

ประวัติ

แก้
 
รูปปั้นของไห่รุ่ย

ไห่รุ่ยเกิดเมื่อวันที่ 23 มกราคม 1514 ที่เมืองไหโข่ว ในปลายรัชสมัยจักรพรรดิเจิ้งเต๋อ บิดาของเขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 3 ขวบ และเขาได้รับการเลี้ยงดูโดยมารดาที่นับถือศาสนาอิสลาม[1] พ่อของปู่ทวดของเขาเป็นชาวอาหรับชื่อ ไห่ ต้าเอ๋อร์ และมารดาของเขาเป็นมุสลิม (ชาวหุย) มีบรรพบุรุษมาจากอนุทวีปอินเดีย[2] อย่างไรก็ตาม ไห่รุ่ยเองก็บันทึกว่าตัวเองเป็นนักปราชญ์ลัทธิขงจื๊อใหม่ และไม่เคยกล่าวถึงศาสนาอิสลามในผลงานของเขา[1][3]

แม้ว่าไห่จะเข้าสอบขุนนาง แต่เขาก็สอบไม่ผ่าน และเริ่มต้นรับราชการในปี 1553 เมื่ออายุ 39 ปี กับตำแหน่งเสมียนประจำสำนักงานการศึกษาในมณฑลฝูเจี้ยน เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงาม ซื่อสัตย์สุจริต อดออม และยุติธรรม เขาได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจากประชาชน เห็นได้จากการที่เขาได้รับการยกย่องในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่เขาก็สร้างศัตรูไว้มากมายในระบบราชการ อย่างไรก็ตาม เขาถูกเรียกตัวเข้าสู่กรุงปักกิ่งและเลื่อนตำแหน่งเป็นเลขานุการกระทรวงครัวเรือน ในปี 1565 ขุนนางผู้นี้ได้ทำหนังสือวิพากษ์วิจารณ์จักรพรรดิเจียจิ้งอย่างรุนแรงว่าละเลยพระราชกิจ และนำพาความหายนะมาสู่พระราชอาณาจักร[4] เขาถูกจำคุกและตัดสินประหารชีวิตในปี 1566 เขาได้รับการปล่อยตัวหลังจากจักรพรรดิสวรรคตในต้นปี 1567[1]

ไห่รุ่ยได้รับแต่งตั้งอีกครั้งเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยที่จี๋หลี่ใต้ ในรัชสมัยจักรพรรดิหลงชิ่ง พระราชโอรสและรัชทายาทของจักรพรรดิเจียจิ้ง แต่เขาถูกบีบให้ลาออกในปี 1570 หลังจากมีการร้องเรียนเกี่ยวกับการจัดการปัญหาการถือครองที่ดินที่เข้มงวดเกินไปของเขา นายทุนเงินกู้รายใหญ่ในจังหวัดถูกกล่าวหาว่าปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยโหดให้กับเจ้าของที่ดินรายย่อยและผู้เช่า จากนั้นยึดที่ดินของพวกเขาเป็นหลักประกัน ไห่รุ่ยทุ่มเทเวลาในการสืบสวนคดีเหล่านี้ กดดันให้นายทุนเงินกู้คืนที่ดินให้กับเจ้าของเดิม แต่ถูกเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าละเมิดขั้นตอนและส่งเสริมการร้องเรียนไร้สาระ ก่อนถูกยื่นเรื่องถอดถอน[5]

ไห่รุ่ยได้เลื่อนเป็น censor-in-chief of Nanjing ในปี 1586 แต่ถึงแก่กรรมในตำแหน่งหลังจากดำรงตำแหน่งได้เพียงปีเดียว[1] เขาได้รับนามหลังมรณกรรมว่า จงเจี๋ย (忠介)

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Goodrich, L. Carrington; Chaoying Fang, บ.ก. (1976). Dictionary of Ming Biography, 1368–1644. Vol. 1. Columbia University Press. pp. 474–479. ISBN 978-0231038331.
  2. Wagner, Rudolf G. (1997). Jonathan Unger (บ.ก.). Using the Past to Serve the Present: Historiography and Politics in Contemporary China. M.E. Sharpe. p. 99. ISBN 9780873327480.
  3. Tan Ta Sen (2009). Cheng Ho and Islam in Southeast Asia. Institute of Southeast Asian Studies. p. 114. ISBN 978-9812308375.
  4. Frederick W. Mote (2003). Imperial China 900–1800. Harvard University Press. ISBN 978-0674012127.
  5. Ray Huang (1981). 1587: A Year of No Significance. Yale University. pp. 138–140. ISBN 0-300-02884-9.