ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

ระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์
(เปลี่ยนทางจาก ไมโครซอฟต์ วินโดวส์)

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ (อังกฤษ: Microsoft Windows) เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ของระบบปฏิบัติการ ถูกพัฒนาและจัดจำหน่ายโดยบริษัทไมโครซอฟท์ โดยแบ่งออกเป็นรุ่นต่างๆเพื่อรองรับต่อความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งาน วินโดวส์ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือกลุ่มองค์กร, วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ สำหรับกลุ่มผู้ใช้งานเครื่องแม่ข่ายส่วนบุคคล หรือศูนย์ข้อมูล, วินโดวส์ ไอโอที สำหรับใช้กับอุปกรณ์แบบฝังตัว ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ถูกยกเลิกไปแล้วได้แก่ วินโดวส์ 9x, วินโดวส์โมบาย, วินโดวส์โฟน และวินโดวส์ เอ็มเบ็ดเด็ด คอมแพ็ค (วินโดวส์ ซีอี)

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์
สัญลักษณ์ของวินโดวส์
ผู้พัฒนาไมโครซอฟท์
เขียนด้วยภาษาซี, ภาษาซีพลัสพลัส, ภาษาแอสเซมบลี Edit this on Wikidata
สถานะปัจจุบัน/เสถียร
รูปแบบ
รหัสต้นฉบับ
ไม่เปิดเผยต้นฉบับ
วันที่เปิดตัว20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
รุ่นเสถียร
  • วินโดวส์ 11 23H2
  • 10.0.22631.3296
/ 12 มีนาคม 2567
ภาษาสื่อสาร
  • 106 ภาษา (วินโดวส์ 10)
  • 84 ภาษา (วินโดวส์ 11)
[1]
วิธีการอัปเดต
ตัวจัดการ
แพกเกจ
แพลตฟอร์ม
ที่รองรับ
ARM, ไอเอ-32, ไอเทเนียม, เอกซ์86-64
ชนิดเคอร์เนล
  • วินโดวส์เอ็นที
    แบบไฮบริด
  • วินโดวส์ เอ็มเบ็ดเด็ด คอมแพ็ค (วินโดวส์ ซีอี)
    แบบไฮบริด
  • กลุ่มวินโดวส์ 9x และรุ่นก่อนหน้า
    เอ็มเอสดอส
ส่วนติดต่อผู้ใช้ปริยายวินโดวส์เชลล์
สัญญาอนุญาตซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์แบบจำกัดสิทธิ์
เว็บไซต์windows.microsoft.com

ผลิตภัณฑ์แรกในกลุ่มคือ วินโดวส์ 1.0 ถูกเปิดตัวเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2528 โดยเป็นฐานระบบปฏิบัติการแบบกราฟิกสำหรับเอ็มเอสดอส (MS-DOS) เพื่อตอบสนองต่อความสนใจที่เพิ่มขึ้นในส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI)

วินโดวส์ เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาด 70% ณ เดือนมีนาคม 2566 ตามข้อมูลของ StatCounter[7]อย่างไรก็ตาม Windows ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่ใช้มากที่สุดเมื่อรวมทั้งระบบปฏิบัติการมือถือและเดสก์ท็อป เนื่องจาก แอนดรอยด์ มีการเติบโตเป็นอย่างมาก[8]

ระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์นี้คือ วินโดวส์ 11 สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและแท็บเล็ต, วินโดวส์ 11 เอ็นเตอร์ไพรส์ สำหรับผู้ใช้กลุ่มองค์กร และวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2022 สำหรับผู้ใช้เครื่องแม่ข่ายส่วนบุคคล หรือศูนย์ข้อมูล โดยยังมีการสนับสนุนผลิตภัณฑ์บางรุ่นย่อยของ วินโดวส์ 10 และ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2016 อยู่ (รวมถึงการสนับสนุนแบบเสียเงินสำหรับวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2012 และ วินโดวส์ เอ็มเบ็ดเด็ด พีโอเอ็สเร็ดดี้ 7)

สายผลิตภัณฑ์

แก้

ไมโครซอฟท์ ได้เครื่องหมายการค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของกลุ่มผลิตภัณฑ์วินโดวส์

ในปี 2567 ผลิตภัณฑ์ระดับบนสุดที่ใช้งาน มีเพียงกลุ่มเดียวคือ วินโดวส์เอ็นที โดยรุ่นแรกคือ วินโดวส์เอ็นที 3.1 มีไว้สำหรับการประมวลผลเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์กลุ่มองค์กร ประกอบด้วยสี่ผลิตภัณฑ์ย่อย ได้แก่

  • วินโดวส์ : เป็นผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล, คอมพิวเตอร์สำหรับกลุ่มองค์กร หรือแท็บเล็ต รุ่นปัจจุบันคือ วินโดวส์ 11 โดยมีคู่แข่งหลักคือ แมคโอเอส ของบริษัทแอปเปิล ในผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ และ ไอแพดโอเอส กับ แอนดรอยด์ สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทแท็บเล็ต
  • วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ : เป็นผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้งานเครื่องแม่ข่ายส่วนบุคคล หรือศูนย์ข้อมูล รุ่นปัจจุบันคือ วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2022 ซึ่งมีคู่แข่งหลักคือ ลินุกซ์
  • วินโดวส์พีอี (Windows PE) : เป็นผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการขนาดเล็ก ที่มีการตัดคุณสมบัติออกไปหลายอย่าง แต่ยังสามารถใช้งานเสมือนใช้งานวินโดวส์ได้จริง โดยมากมักจะถูกติดตั้งในคอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องแม่ข่ายให้บริการกับเครื่องลูกข่าย หรือการแก้ไขปัญหาในคอมพิวเตอร์ที่ลงวินโดวส์ไว้อยู่แล้ว รุ่นปัจจุบันคือ วินโดวส์พีอี 10
  • วินโดวส์ ไอโอที : ชื่อเดิมคือ วินโดวส์ เอ็มเบ็ดเด็ด เป็นผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการสำหรับใช้กับอุปกรณ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว รุ่นปัจจุบันคือ วินโดวส์ 11 ไอโอที เอ็นเตอร์ไพรส์[9]ซึ่งมีคู่แข่งเหมือนกับวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ คือ ลินุกซ์

ผลิตภัณฑ์ระดับบนสุดที่เลิกให้บริการไปแล้วมีดังนี้

  • วินโดวส์ 9x : เป็นผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (นิตยสาร PC World เคยกล่าวถึง วินโดวส์ มี (Windows ME) หนึ่งในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มนี้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่แย่ที่สุดตลอดกาล[10]) ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์วินโดวส์เอ็นที
  • วินโดวส์โมบาย : เป็นผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการรุ่นก่อนหน้าของ วินโดวส์โฟน สำหรับใช้ในโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก (PDA) รุ่นแรกของผลิตภัณฑ์คือ พ็อกเก็ตพีซี 2000 ก่อนที่รุ่นที่สาม วินโดวส์โมบาย 2003 เป็นรุ่นแรกที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อเดียวกับผลิตภัณฑ์ รุ่นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์นี้คือ วินโดวส์โมบาย 6.5
  • วินโดวส์โฟน : เป็นผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ทโฟน รุ่นแรกของผลิตภัณฑ์คือ วินโดวส์โฟน 7 ซึ่งรุ่นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์นี้คือ วินโดวส์ 10 โมบาย ก่อนที่จะยกเลิกผลิตภัณฑ์นี้ทิ้ง
  • วินโดวส์ เอ็มเบ็ดเด็ด คอมแพ็ค (วินโดวส์ ซีอี) : เป็นผลิตภัณฑ์ระบบปฏิบัติการขนาดเล็ก ที่มีการปรับแต่งสำหรับอุปกรณ์ที่มีสมรรถนะหรือมีหน่วยความจำน้อย ให้กับผูลิตโออีเอ็ม สามารถปรับเปลี่ยนส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ให้เหมาะกับความต้องการของตนได้ รุ่นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์นี้คือ วินโดวส์ เอ็มเบ็ดเด็ด คอมแพ็ค 2013 ก่อนจะถูกสืบทอดโดยวินโดวส์ ไอโอที

ประวัติวินโดวส์

แก้

รุ่นแรก

แก้

วินโดวส์ 1.0 เป็นสภาวะการทำงานรุ่นแรกของวินโดวส์ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 20 พฤศจิกายน 2528 มีสภาวะการทำงานแบบ 16 บิต ที่เรียกว่า สภาวะการทำงาน (Operating Environments) เพราะ วินโดวส์ 1.0 ยังไม่มีความสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการเฉพาะแยกต่างหาก (ระบบปฏิบัติการดังกล่าวคือ ดอส) ซึ่งวินโดวส์จะทำหน้าที่เพียงการติดต่อกับผู้ใช้ เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งใดๆ วินโดวส์จะไปเรียกใช้ฟังก์ชันต่างๆ จากดอส เมื่อได้ผลการทำงานออกมา วินโดวส์จะแสดงผลออกมายังผู้ใช้อีกทีหนึ่ง วินโดวส์สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ แต่เป็นตัวแสดงผลส่วนหน้าของดอส ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายกว่าการติดต่อกับดอสโดยตรง และตั้งแต่รุ่นแรก วินโดวส์เป็นคู่แข่งกับ แมคอินทอช ผลิตภัณฑ์ลักษณะคล้ายกันจากบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ แต่ในช่วงแรก ภาพการแข่งขันยังไม่ชัดเจนนัก

วินโดวส์ 2.0 เปิดตัวเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2530 2.0 ยังต้องอาศัยดอส แต่มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับ 1.0 เช่น สามารถเปิดหลายโปรแกรมซ้อนกันได้ และมีโปรแกรม ไมโครซอฟท์ เวิร์ด (Word) และ เอกซ์เซล (Excel) และได้มีปุ่ม Minimize, Maximize และปุ่มลัดอื่นๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกวินโดวส์ 2.0 ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แต่ก็ถือว่ามีกระแสตอบรับ และการสนับสนุนจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้นกว่ารุ่น 1.0 และอยู่ในการสนับสนุนของไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม 2544

วินโดวส์ 3.x

แก้
 
ภาพหน้าจอ วินโดวส์ 3.0

วินโดวส์ 3.0 เปิดตัวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2533 ยังต้องอาศัยดอส และโปรเซสเซอร์ตัวเดียวกับ 2.1 แต่วินโดวส์ 3.0 ได้มีการออกแบบกราฟิกในการใช้งานคอมพิวเตอร์ใหม่, มีระบบการบริหารจัดการหน่วยความจำรอมและแรมที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อน และเปลี่ยนโปรแกรมบริหารจัดการไฟล์และโปรแกรมในดอสใหม่ทั้งหมด การเรียกใช้โปรแกรมต่างๆ ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งยังมีโปรแกรมใหม่ที่ติดตั้งมาพร้อมวินโดวส์ คือ โน้ตแพด, เกม Solitaire ฯลฯ ทำให้วินโดวส์ 3.0 ประสบความสำเร็จอย่างสูง และเป็นคู่แข่งอย่างชัดเจนกับแมคอินทอชจากแอปเปิล วินโดวส์ 3.1 เปิดตัวเมื่อ 6 เมษายน 2535 ยังต้องอาศัยดอส ในวินโดวส์รุ่นนี้ได้ออกแบบโดยมีแพลตฟอร์มเพื่อการพิมพ์มากขึ้น โดยได้มีฟอนต์ประเภททรูไทป์ และได้มีการลงเกม ไมน์สวีปเปอร์ มาพร้อมกับวินโดวส์เป็นครั้งแรก และได้มีรุ่นปรับปรุง (อัปเดต) คือรุ่น 3.11 ออกมาในวันที่ 31 ธันวาคม 2536 ซึ่งถือได้ว่าวินโดวส์ในช่วงนี้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในรุ่น 3.1 ได้มีการจำหน่าย Windows for Workgroups ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความสามารถสูงกว่าวินโดวส์ 3.1 ทั่วไป เช่น รองรับระบบเน็ตเวิร์ค และโพรโทคอล, เกม Hearts และได้มีการทำวินโดวส์ 3.2 สำหรับวางขายเฉพาะประเทศจีน โดยจะใช้อักษรจีนแสดงตัวย่อ วินโดวส์ 3.1 ได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์จนถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2544

 
เวอร์ชันก่อนวินโดวส์ 95 ต้องติดตั้งจากแผ่นดิสก์แบบอ่อนก่อนใช้พีซีทุกครั้ง


วินโดวส์ 9.x

แก้

วินโดวส์ 95 เปิดตัว 24 สิงหาคม 2538 เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 3.1 เป็นวินโดวส์รุ่นแรกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป ที่ได้รวมเอาดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ (ยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ แต่ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการแยก) สามารถทำงานได้ทั้งสถานะ 16 และ 32 บิต มีการใช้สตาร์ทเมนู (ปุ่มสตาร์ทที่มุมซ้ายล่าง) และทาสก์บาร์ (แท่งด้านล่างหน้าจอ แสดงโปรแกรมที่ใช้ และเบ็ดเตล็ดอื่นๆ) เป็นครั้งแรก ซึ่งทั้งสอง จนถึงวินโดวส์รุ่นล่าสุด ก็ยังใช้คอนเซปต์เดียวกับวินโดวส์ 95 เพียงแต่ปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ทันสมัยขึ้นเท่านั้น ด้วยความสามารถต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดสำหรับผู้ใช้ทั่วไป วินโดวส์ 95 ประสบความสำเร็จอย่างสูง ยอดการใช้วินโดวส์ 95 สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ของวินโดวส์ วินโดวส์ 95 ตามมาด้วย วินโดวส์ 98 หรือ วินโดวส์ 4.1 (ไม่เอ็นที) เปิดตัวเมื่อ 25 มิถุนายน 2541 และ วินโดวส์ 98 Second Edition รุ่นปรับปรุง เริ่มจำหน่ายเมื่อ 10 มิถุนายน 2542 วินโดวส์ มี (อังกฤษ: Windows Me) หรือวินโดวส์ 4.9 (ไม่เอ็นที) เป็นวินโดวส์รุ่นต่อจาก 98 และเป็นรุ่นสุดท้ายที่ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที รุ่นสุดท้ายที่ทำงานได้ทั้งระบบ 16 และ 32 บิต (เวลาผ่านไป โปรแกรมรุ่นใหม่ ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานสำหรับผู้ใช้ตามบ้าน เริ่มเปลี่ยนจาก 16 เป็น 32 บิต และโปรแกรมชั้นสูง เริ่มเปลี่ยนจาก 32 เป็น 64 บิต) เปิดตัว 14 กันยายน พ.ศ. 2543 วินโดวส์มี ไม่ใช่วินโดวส์เอ็นที จึงยังมีดอสอยู่ในวินโดวส์ ซึ่งวินโดวส์ 95 และ 98 แม้จะรวมดอสเป็นส่วนหนึ่งของวินโดวส์ แต่ยังเปิดให้เข้าถึงดอสได้ แต่วินโดวส์ มี ได้ปิดการเข้าถึงดอสในวินโดวส์ เพื่อให้การบูตเครื่องทำได้เร็ว แต่ทำให้โปรแกรมเฉพาะบางโปรแกรมที่ต้องอาศัยการเข้าถึงดอส ไม่สามารถทำงานได้ในวินโดวส์มี โดยเฉพาะโปรแกรมบริหารจัดการดิสก์วินโดวส์ มี ได้รับคำวิจารณ์อย่างมากในเรื่องความไม่เสถียรและปัญหามากมายภายในระบบ นิตยสารพีซีเวิลด์จึงจัดว่า Windows ME เป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการที่แย่ที่สุดที่ Microsoft เคยออกมาและเป็นผลิตภัณฑ์ที่เลวร้ายที่สุดอันดับ 4 ของผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี ณ เวลานั้น

วินโดวส์เอ็นที

แก้
 
โลโก้วินโดวส์ในปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2544

ทีมนักพัฒนาภายในไมโครซอฟท์ เริ่มทำงานกับเวอร์ชันปรับปรุงใหม่ของ ไอบีเอ็ม และระบบปฏิบัติการ โอเอส/2 ของ ไมโครซอฟท์ ที่รู้จักกันในชื่อ "เอ็นที โอเอส/2" ถูกออกแบบให้เป็นระบบปฏิบัติการแบบผู้ใช้หลายรายที่มีความปลอดภัย โดยมีความเข้ากันได้กับพอซิกส์ และเคอร์เนลแบบพกพาหรือแบบโมดูลาร์ ที่สามารถรับการทำงานหลายอย่างพร้อมกันล่วงหน้าและรองรับสถาปัตยกรรมระบบมัลติโปรเซสเซอร์ (Multiprocessor System) อย่างไรก็ตาม หลังจากการประสบความสำเร็จหลังการเปิดตัว Windows 3.0 ทีมพัฒนาได้ตัดสินใจปรับปรุงโครงการใหม่ เพื่อใช้เพิ่มความสามารถกับโปรแกรม 32 บิต ให้ Windows API เรียกว่า Win32 แทนระบบของ โอเอส/2 Win32 รักษาโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับ Windows APIs เดิม (อนุญาตให้แอปพลิเคชันที่มีอยู่สามารถพอร์ตไปยังระบบปฏิบัติการได้อย่างง่ายดาย) แต่ยังรองรับความสามารถของเคอร์เนลเอ็นทีอยู่ด้วย การพัฒนายังคงดำเนินต่อไปบนวินโดวส์เอ็นที ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการรุ่น 32 บิตรุ่นแรก อย่างไรก็ตาม ไอบีเอ็มคัดค้านการเปลี่ยนแปลงนี้ ก่อนจะนำโอเอส/2 กลับไปพัฒนาต่อเองในที่สุด[11]

วินโดวส์เอ็นที เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวแรก ที่ใช้เคอร์เนลแบบไฮบริด ซึ่งได้รับการออกแบบให้เป็นไมโครเคอร์เนลดัดแปลง โดยได้รับอิทธิพลจากไมโครเคอร์เนล Mach ที่พัฒนาโดย ริชาร์ด ราชิด จาก มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน แต่ก็ยังไม่ตรงตามเกณฑ์ทั้งหมดของไมโครเคอร์เนล

ระบบปฏิบัติการรุ่นแรกที่ออกมาคือ วินโดวส์เอ็นที 3.1 (ตั้งชื่อให้เชื่อมโยงกับ วินโดวส์ 3.1) โดย เอ็นที ย่อมาจาก (New Technology) เปิดตัวเมื่อ 27 กรกฎาคม 2536 โดยมีรุ่นย่อยสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับสูงและกลุ่มนักธุรกิจ รวมถึงคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ วินโดวส์เอ็นที 3.5 เปิดตัวในเดือนกันยายน 2537 มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพและการสนับสนุนเน็ตแวร์ ตามมาด้วย วินโดวส์เอ็นที 3.51 ในเดือนพฤษภาคม 2538 ซึ่งปรับปรุงเพิ่มเติมและการสนับสนุนหน่วยประมวลผลเพาเวอร์พีซี วินโดวส์เอ็นที 4.0 เปิดตัวในเดือนมิถุนายน 2539 โดยแนะนำอินเทอร์เฟซที่ออกแบบใหม่ของวินโดวส์ 95 ให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์เอ็นที และเปิดตัว วินโดวส์ 2000 ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2543 ชื่อ เอ็นที ถูกนำออกเพื่อที่จะให้ความสำคัญกับแบรนด์ วินโดวส์ มากขึ้น[12]

วินโดวส์ เอกซ์พี เปิดตัว 25 ตุลาคม พ.ศ. 2544 เป็นวินโดวส์เอ็นทีรุ่นแรก ที่พัฒนาขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ทั่วไป พัฒนาขึ้นจากโปรเจ็ค วินโดวส์ เนปจูน และ โอดิสซีย์ ถูกยุบรวมกันเป็นวินโดวส์ Whistler ส่วนวินโดวส์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้ขั้นสูงและธุรกิจ จะมีแยกต่างหากอีก 2 ตัว ที่ใช้เลข เอ็นที 5.1 และ 5.2 คือ วินโดวส์ ฟันเดเมนทัลส์ ฟอร์ เลกาซี พีซีส์ และ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2003 ตามลำดับ โดยคำว่า เอกซ์พี มาจากคำว่า Experience แปลว่า ประสบการณ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง จากข้อมูลในเดือนกันยายน 2553 พบว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ยังใช้วินโดวส์เอกซ์พีมากถึงร้อยละ 60 ของผู้ใช้ทั้งหมด ในขณะที่วินโดวส์รุ่นอื่นๆ ทั้งหมดรวมกัน มีส่วนแบ่งร้อยละ 31 และระบบปฏิบัติการอื่นที่ไม่ใช่วินโดวส์ ประมาณร้อยละ 9 วินโดวส์เอกซ์พี มีการออกรุ่นปรับปรุงตามหลังมาอีกพอสมควร ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบรุ่นของซอฟต์แวร์ได้เอง โดยกด Start แล้วเลือก Run แล้วพิมพ์ sysdm.cpl หรือ winmsd.exe แล้วกด Run จะขึ้นหน้าต่างข้อมูลให้ผู้ใช้รับทราบ รุ่นปรับปรุงที่ออกมา จะปรากฏคำว่า Service Pack วินโดวส์เอกซ์พี หยุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557

วินโดวส์วิสตา เปิดตัววันที่ 30 พฤศจิกายน 2549 แต่เริ่มขายผู้ใช้จริง 30 มกราคม 2550 ในช่วงของวิสตา วินโดวส์สำหรับผู้ใช้ขั้นสูงและองค์กรธุรกิจ คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008, วินโดวส์วิสตา มีความสามารถสูงกว่าเอกซ์พีหลายประการ เช่น การตัดต่อ การพัฒนาแอปพลิเคชัน, การแสดงผลกราฟิก ที่สามารถแสดงผลแบบโปร่งแสง สามารถมองฉากหลังของหน้าต่างที่กำลังเปิดอยู่ได้ ในมุมมองแบบโปร่งแสง ในพื้นที่ที่เหมาะสม เช่น บาร์ด้านบนสุดของโปรแกรม, ความสามารถในการค้นหา, การพิมพ์ ฯลฯ แต่ทว่า วิสตา ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร สาเหตุหลักๆ ที่เป็นที่วิจารณ์ คือ ความต้องการขึ้นต่ำของระบบ ที่สูงกว่าวินโดวส์เอกซ์พีหลายเท่าตัว คอมพิวเตอร์ทั่วไปในช่วงนั้น มีความสามารถไม่ถึง หรือ ถึง แต่เกินความต้องการมาเพียงเล็กน้อย ทำให้วิสตาเป็นระบบที่มีขนาดใหญ่มาก ทำให้เครื่องทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือช้า อีกทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าซอร์ซโค้ดไม่มีคุณภาพ ผู้ใช้ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ไม่ได้ใช้คุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มมาของวิสตา จึงยังคงใช้เอกซ์พี วิสตาจึงไม่ประสบความสำเร็จมากนัก หยุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 เมษายน 2560

วินโดวส์ 7

แก้

วินโดวส์ 7 หรือ วินโดวส์ เอ็นที 6.1 เปิดตัวเมื่อ 22 ตุลาคม 2552 ส่วนอีกรุ่นหนึ่ง ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้ระดับสูง คือ วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2008 อาร์2 ซึ่งเปิดตัวในวันเดียวกับ วินโดวส์ 7 ได้มีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ทำให้วิสตาไม่ประสบความสำเร็จ และมีความต้องการขั้นต่ำไม่ต่างจากวิสตามากนัก นอกจากแรมและการ์ดจอ ที่ต้องการเพิ่ม แต่ที่ผ่านมา จากการเปิดตัววิสตา ได้กรุยทางส่วนหนึ่งไว้ให้ วินโดวส์ 7 เพราะช่องว่างระหว่างการเปิดตัวนั้น ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายได้เพิ่มความสามารถในหลายด้าน คอมพิวเตอร์ในช่วงหลังวิสตา พร้อมจะรองรับวินโดวส์ที่ใหญ่กว่าเอกซ์พีได้ อีกทั้งวินโดวส์ 7 ได้มีการบริหารจัดการดี ทำงานมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิสตา ต่อมา มีผู้ใช้วินโดวส์ 7 มากกว่าวิสตาเสียอีก วินโดวส์ 7 หยุดการสนับสนุนอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 มกราคม 2563

วินโดวส์ 8 และ 8.1

แก้
 
โลโก้ของวินโดวส์ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2564

วินโดวส์ 8 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อไปในตระกูลวินโดวส์ เปิดตัวเมื่อ 22 ตุลาคม 2553 ผ่านทางบล็อกภาษาดัชต์ของไมโครซอฟท์เอง[13] วินโดวส์ 8 มีคุณสมบัติเพิ่มเติมมากมายหลายอย่าง เช่น ไลฟ์ ไทลส์ ช่วยให้เข้าข้อมูลพื้นฐานได้ง่ายขึ้น[14][15], วินโดวส์ เอกซ์พลอเรอร์ ที่ใช้การจัดข้อมูลแบบริบบอนแทนแบบเดิม [16] เป็นต้น และออกชุดอัปเดตระบบปฏิบัติการที่ชื่อ วินโดวส์ 8.1 สนับสนุนการใช้ สไกป์ การนำปุ่ม Start กลับมาอีกครั้งหลังตัดไปในวินโดวส์ 8 โดยหยุดสนับสนุนอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 มกราคม 2559 และ วินโดวส์ 8.1 ยุติการสนับสนุนวันที่ 10 มกราคม 2566

วินโดวส์ 10

แก้

ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 วินโดวส์ 10 มีแนวทางการออกแบบที่สืบทอดจาก วินโดวส์ 8 โดยมีหน้าต่างแบบจอสัมผัส และแบบดั้งเดิมที่ใช้เมาส์และคีย์บอร์ด สถาปัตยกรรมของระบบเอื้อให้สามารถใช้ได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือ โดยเพิ่มแอปจากร้านค้าวินโดวส์ เพื่อการรองรับโปรแกรมเพิ่มเติม อัปเดตระบบให้ผู้ใช้ วินโดวส์ 8.1 และวินโดวส์ 7 โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 และ ซึ่งจะยุติการสนับสนุนในวันที่ 14 ตุลาคม 2568[17][18]

วินโดวส์ 11

แก้

วินโดวส์ 11 เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นปัจจุบัน สืบทอดจาก วินโดวส์ 10 เปิดตัวเมื่อ 24 มิถุนายน 2564 มีกำหนดอัปเดตระบบให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์วินโดวส์ 10 ที่รองรับการใช้งานโดยไม่คิดมูลค่าอย่างเป็นทางการในปลายปี 2564 ผ่านวินโดวส์อัปเดต โดยวินโดวส์ 11 ชูจุดขายหลักว่าเป็น "วินโดวส์ที่ถูกคิดใหม่ทำใหม่ทั้งหมด" พร้อมกับการเปิดเผยรายละเอียดฟังก์ชันใหม่ในส่วนของนักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ เช่น ไมโครซอฟท์ สโตร์, ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ วินโดวส์ เอสดีเค "โปรเจกต์ รียูเนียน", แนวทางการออกแบบส่วนต่อประสาน ฟลูเอนท์ ดีไซน์ ซิสเท็ม, และหัวข้ออื่น ๆ อีกมากมาย

ส่วนแบ่งทางการตลาด

แก้

ข้อมูลผู้ใช้งานเฉพาะผู้ใช้คอมพิวเตอร์และแล็ปท็อป จาก StatCounter เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567[19][20]


ตารางในแต่ละรุ่น

แก้
สัญลักษณ์:
รุ่นเก่า ไม่ได้รับการสนับสนุนอีกต่อไป
รุ่นเก่า ยังได้รับการสนับสนุน
รุ่นล่าสุด
รุ่นพรีวิวล่าสุด
การเปิดตัวในอนาคต

[21]

ชื่อรุ่น เวอร์ชันล่าสุด วันที่เปิดตัว โค๊ดเนม ระยะเวลาซัพพอร์ท เวอร์ชันล่าสุดของ
หลัก ขยาย IE DirectX Edge
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 1.0 1.01 20 พฤศจิกายน 1985 Interface Manager 31 ธันวาคม 2001 N/A N/A N/A
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 2.0 2.03 9 ธันวาคม 1987 ไม่มี
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 2.1 2.11 27 พฤษภาคม 1988 ไม่มี
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 3.0 3.0 22 พฤษภาคม 1990 ไม่มี
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 3.1 3.1 6 เมษายน 1992 Janus 5
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows For Workgroups 3.1 3.1 ตุลาคม 1992 Sparta, Winball
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows NT 3.1 NT 3.1.528 27 กรกฎาคม 1993 ไม่มี
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows For Workgroups 3.11 3.11 11 สิงหาคม 1993 Sparta, Winball
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 3.2 3.2 22 พฤศจิกายน 1993 ไม่มี
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows NT 3.5 NT 3.5.807 21 กันยายน 1994 Daytona
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows NT 3.51 NT 3.51.1057 30 พฤษภาคม 1995 ไม่มี
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 95 4.0.950 24 สิงหาคม 1995 Chicago, 4.0 31 ธันวาคม 2000 31 ธันวาคม 2001 5.5 6.1
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows NT 4.0 NT 4.0.1381 31 กรกฎาคม 1996 Cairo 5 N/A
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 98 4.10.1998 25 มิถุนายน 1998 Memphis, 97, 4.1 30 มิถุนายน 2002 11 กรกฎาคม 2006 6 6.1
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 98 SE 4.10.2222 5 พฤษภาคม 1999 ไม่มี
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 2000 NT 5.0.2195 15 ธันวาคม 1999 ไม่มี 30 มิถุนายน 2005 13 กรกฎาคม 2010 5 N/A
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows ME 4.90.3000 14 กันยายน 2000 Millenium, 4.9 31 ธันวาคม 2003 11 กรกฎาคม 2006 6 9.0c
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows XP NT 5.1.2600 25 ตุลาคม 2001 Whistler 14 เมษายน 2009 8 เมษายน 2014 8
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows XP 64-bit Edition NT 5.2.3790 28 มีนาคม 2003 ไม่มี 6
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows Server 2003 NT 5.2.3790 24 เมษายน 2003 ไม่มี 13 กรกฎาคม 2010 14 กรกฎาคม 2015 8
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows XP Professional x64 Edition NT 5.2.3790 25 เมษายน 2005 ไม่มี 14 เมษายน 2009 8 เมษายน 2014
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows Fundamentals for Legacy PCs NT 5.1.2600 8 กรกฎาคม 2006 Eiger, Mönch
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows Vista NT 6.0.6002 30 มกราคม 2007 Longhorn 10 เมษายน 2012 11 เมษายน 2017 9 11
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows Home Server NT 5.2.4500 4 พฤศจิกายน 2007 ไม่มี 8 มกราคม 2013 8 9.0c
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows Server 2008 NT 6.0.6002 27 กุมภาพันธ์ 2008 Longhorn Server 13 มกราคม 2015 14 มกราคม 2020 9 11
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 7 NT 6.1.7601 22 ตุลาคม 2009 Blackcomb, Vienna 11 109
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows Server 2008 R2 NT 6.1.7601 22 ตุลาคม 2009 ไม่มี
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows Home Server 2011 NT 6.1.8400 6 เมษายน 2011 Vail 12 เมษายน 2016 9
เวอร์ชันเก่า ยังคงสนับสนุนอยู่: Windows Server 2012 NT 6.2.9200 4 กันยายน 2012 ไม่มี 9 มกราคม 2018 10 มกราคม 2023 10 11.1
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 8 NT 6.2.9200 26 ตุลาคม 2012 ไม่มี 12 มกราคม 2016
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows 8.1 NT 6.3.9600 17 ตุลาคม 2013 Blue 9 มกราคม 2018 10 มกราคม 2023 11 11.2
เวอร์ชันเก่า ไม่สนับสนุนอีกต่อไป: Windows Server 2012 R2 NT 6.3.9600 18 ตุลาคม 2013 Server Blue
เวอร์ชันเก่า ยังคงสนับสนุนอยู่: Windows 10 NT 10.0.19042 29 กรกฎาคม 2015 แตกต่างกันไป 14 ตุลาคม 2025[17][18] 12 121
เวอร์ชันเก่า ยังคงสนับสนุนอยู่: Windows Server 2016 NT 10.0.14393 12 ตุลาคม 2016 ไม่มี 11 มกราคม 2022 11 มกราคม 2027
เวอร์ชันเก่า ยังคงสนับสนุนอยู่: Windows Server 2019 NT 10.0.17763 2 ตุลาคม 2018 ไม่มี 9 มกราคม 2024 9 มกราคม 2029
เวอร์ชันเสถียรปัจจุบัน: Windows Server 2022 NT 10.0.20348 18 สิงหาคม 2021 ไม่มี 13 ตุลาคม 2026 14 ตุลาคม 2031
เวอร์ชันเสถียรปัจจุบัน: Windows 11 NT 10.0.22000 5 ตุลาคม 2021 Sun Valley 10 พฤศจิกายน 2026[22]
การเปิดตัวในอนาคต: Windows Server 2025 NT 10.0.26XXX 2024

เส้นทางสายวินโดวส์

แก้
 

ระยะเวลาวินโดวส์

แก้
 

วินโดวส์ที่วางจำหน่ายในปัจจุบัน

แก้
  • วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ 2012 สำหรับเซิร์ฟเวอร์
    • Windows Server 2012 Foundation (รุ่นพื้นฐาน มีเฉพาะแบบ OEMs เท่านั้น เหมาะสำหรับใช้งานในบ้านและองค์กรขนาดเล็ก)
    • Windows Server 2012 Essentials (พัฒนาต่อยอดจาก Windows Home Server มีทุกอย่างใน Foundation เพิ่มฟีเจอร์ Hyper-V,ตัวประมวลผลสูงสุด 2 ตัว, รองรับผู้ใช้งานได้ 25 Users เหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก)
    • Windows Server 2012 Standard (มีทุกอย่างใน Essentials เพิ่ม Active Directory Domain Server, ตัวประมวลผลสูงสุด 64 ตัว, หน่วยความจำสูงสุด 4 TB, จำนวนผู้ใช้งานไม่จำกัด เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง)
    • Windows Server 2012 Datacenter (มีทุกอย่างใน Standard ไม่จำกัด Visualization Rights เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่)
  • วินโดวส์ 8.1 (Codename Blue) เป็นรุ่นปรับปรุงต่อจาก Windows 8 ไม่นับว่าเป็น ServicePack ของ Windows 8
  • วินโดวส์ 10 (Windows 10) หรือ วินโดวส์ เท็น (Windows Ten) (เลขรุ่น: NT 10.0.10240, NT 10.0.10586, (Insider Preview) NT 10.0.14279) และ วินโดวส์ 11 (Windows 11) หรือ วินโดวส์ อีเลฟเว่น (Windows Eleven) (เลขรุ่น: NT 10.0.22000, (Insider Preview) NT 10.0.22454)
    • Windows 10/11 Home เป็นรุ่นมาตรฐาน สำหรับการใช้ภายในบ้าน
    • Windows 10/11 Pro เทียบได้กับรุ่น Pro ของ Windows 8 คือเพิ่มฟีเจอร์มาจากรุ่นมาตรฐานอีกบางส่วน อาทิ BitLocker , Hyper-V , Remote Desktop ที่สามารถทำได้ทั้ง Client และ host
    • Windows 10/11 Enterprise เทียบได้กับรุ่น Pro ของ Windows 10 แต่เพิ่มฟิวเจอร์มาอีก เช่น AppLocker และ Windows ToGo
    • Windows 10 Enterprise LTSB (Long Term Servicing Branch) เหมือนกับ Windows 10 Enterprise ทุกประการ แต่จะต่างที่จะไม่มีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ผ่าน Windows Update
    • Windows 10/11 Education เหมือนกับ Windows 10/11 Enterprise ทุกประการ แต่จะให้ใช้กับนักศึกษาและสถานศึกษา
    • Windows 11 Insider Preview เป็นรุ่นที่ปล่อยให้กลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมโครงการ Windows Insider Program ร่วมกันทดสอบฟีเจอร์ใหม่และการปรับปรุงแก้ไขปัญหาใน Windows 11 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา Windows 11 รุ่นการพัฒนาต่อไป
    • Windows 10 IoT Core/11 IoT Enterprise เป็น Windows สำหรับอุปกรณ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Embedded System ต่อยอดจาก Windows Embedded มีจำหน่ายเฉพาะอุปกรณ์ (OEMs)
    • Windows 10 S/11 Home S เป็น Windows สำหรับนักเรียนและนักศึกษา โดยที่ไม่สามารถรันไฟล์ .exe ได้ แต่จะให้ติดตั้งและใช้แอพที่รันบน Windows Store เท่านั้น โดยมีค่าไลเซนส์น้อยมาก โดยมีราคาเริ่มต้นพร้อมคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คที่ 189 ดอลลาร์สหรัฐ และฟรี Minecraft: Education Edition. ในระยะเวลา 1 ปี

วินโดวส์รุ่นก่อน ๆ

แก้

วินโดวส์ที่ถูกยกเลิก

แก้
 
ภาพหน้าจอวินโดวส์แนชวิลล์
 
ภาพหน้าจอวินโดวส์เนปจูน
  • พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) - วินโดวส์แนชวิลล์ (เลขรุ่น: 4.10.999) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ 95
  • พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) - วินโดวส์เนปจูน (เลขรุ่น: NT 5.5.5111) ออกรุ่นสำหรับทดสอบ แต่ไม่ได้วางจำหน่ายจริง ควรจะเป็นรุ่นถัดจากวินโดวส์ xp

อ้างอิง​

แก้
  1. "Language packs for Windows". support.microsoft.com/. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
  2. Su, Christy; Xu, Simonx (2021-11-25). "FAQ about the Windows Installer .msp files - Dynamics GP". Microsoft Learn (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.
  3. "App packages and deployment (Windows Store apps) (Windows)". Microsoft Learn. October 19, 2021 [October 6, 2015]. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 30, 2014. สืบค้นเมื่อ April 5, 2014.
  4. dianmsft; Jenks, Alma; Coulter, David; Schofield, McLean; Vintzel, John; Satran, Michael; Donthini, Chaitanya; Kinsman, Mike (December 30, 2021). "What is MSIX?". Microsoft Learn (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.
  5. Jahiu, Dhurata; Jenks, Alma; v-chmccl; Power, Cory; Coulter, David; Schofield, McLean; Donthini, Chaitanya; Satran, Michael (April 13, 2022). "How to bundle MSIX packages". Microsoft Learn (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.
  6. Vera (June 26, 2023) [April 14, 2023]. "How to Install MSIXBundle on Windows 10/11? 2 Ways to Try!". MiniTool (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-09-13.
  7. "Desktop Operating System Market Share Worldwide". StatCounter Global Stats (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 27, 2020. สืบค้นเมื่อ 2023-07-16.
  8. Keizer, Gregg (July 14, 2014). "Microsoft gets real, admits its device share is just 14%". Computerworld. IDG. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 21, 2016. [Microsoft's chief operating officer] Turner's 14% came from a new forecast released last week by Gartner, which estimated Windows' share of the shipped device market last year was 14%, and would decrease slightly to 13.7% in 2014. Android will dominate, Gartner said, with a 48% share this year
  9. "RTOS: Embedded Real Time Operating Systems". microsoft.com. Microsoft. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ธันวาคม 15, 2014. สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 7, 2014.
  10. "The 25 Worst Tech Products of All Time". PCWorld (ภาษาอังกฤษ).
  11. Custer, Helen (1993). Inside Windows NT. Redmond: Microsoft Press. ISBN 1-55615-481-X.
  12. Thurrott, Paul (January 24, 2003). "Windows Server 2003: The Road To Gold – Part One: The Early Years". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2005. สืบค้นเมื่อ May 28, 2012.
  13. Windows 8: Due in Two Years?
  14. http://www.blognone.com/node/22798
  15. http://www.blognone.com/node/26068
  16. http://www.blognone.com/node/22836
  17. 17.0 17.1 "Window 10 Home and Pro Lifecycle". Microsoft. สืบค้นเมื่อ July 2, 2021.
  18. 18.0 18.1 "Window 10 Enterprise and Education Lifecycle". Microsoft. สืบค้นเมื่อ July 2, 2021.
  19. "Desktop Windows Version Market Share Worldwide". StatCounter Global Stats (ภาษาอังกฤษ).
  20. "Desktop Operating System Market Share Worldwide". StatCounter Global Stats (ภาษาอังกฤษ).
  21. https://support.microsoft.com/th-th/help/13853/windows-lifecycle-fact-sheet
  22. GitHub-Name. "Windows 11 Enterprise and Education - Microsoft Lifecycle". learn.microsoft.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).