ไนตริกออกไซด์ (Nitric oxide; NO หรือ ไนโตรเจนออกไซด์ หรือ ไนโตรเจนมอนอกไซด์[1]) เป็นโมเลกุลที่มีสูตรทางเคมีคือ NO เป็นอนุมูลอิสระ[6] ที่อยู่ในรูปของก๊าซ สามารถเคลื่อนที่ได้ดีในเซลล์ ทั้งบริเวณที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ และมีความสำคัญในทางอุตสาหกรรม ไนตริกออกไซด์เป็นผลพลอยได้ของการเผาไหม้สารอินทรีย์ในบริเวณที่มีอากาศ เช่นเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล และเกิดขึ้นตามธรรมชาติระหว่างการเกิดฟ้าผ่า พืชสามารถสังเคราะห์ NO ขึ้นได้โดยวิถีกระบวนการสร้างและสลายที่ใช้อาร์จินีน หรือไนไตรต์ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญในพืช ได้แก่ nitrate reductase (NR) ซึ่งเปลี่ยนไนไตรต์เป็น NO โดยมีโมลิบดินัมเป็นโคแฟกเตอร์ เอนไซม์อีกตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ xanthine oxidoreductase ซึ่งมีโมลิบดินัมและโคบอลต์เป็นองค์ประกอบด้วย [7]

ไนตริกออกไซด์
Skeletal formula of nitric oxide with bond length
Skeletal formula showing two lone pairs and one three-electron bond
Skeletal formula showing two lone pairs and one three-electron bond
Space-filling model of nitric oxide
Space-filling model of nitric oxide
ชื่อ
IUPAC name
ไนโตรเจนมอนอกไซด์[1]
Systematic IUPAC name
Oxidonitrogen(•)[2] (additive)
ชื่ออื่น
Nitrogen oxide
Nitrogen(II) oxide
Oxonitrogen
Nitrogen monoxide
เลขทะเบียน
3D model (JSmol)
3DMet
ChEBI
ChEMBL
เคมสไปเดอร์
ดรักแบงก์
ECHA InfoCard 100.030.233 แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
EC Number
  • 233-271-0
451
KEGG
RTECS number
  • QX0525000
UNII
UN number 1660
  • InChI=1S/NO/c1-2 checkY
    Key: MWUXSHHQAYIFBG-UHFFFAOYSA-N checkY
  • InChI=1/NO/c1-2
    Key: MWUXSHHQAYIFBG-UHFFFAOYAI
  • [N]=O
คุณสมบัติ
NO
มวลโมเลกุล 30.006 g·mol−1
ลักษณะทางกายภาพ แก๊สไม่มีสี
ความหนาแน่น 1.3402 g/L
จุดหลอมเหลว −164 องศาเซลเซียส (−263 องศาฟาเรนไฮต์; 109 เคลวิน)
จุดเดือด −152 องศาเซลเซียส (−242 องศาฟาเรนไฮต์; 121 เคลวิน)
0.0098 g / 100 ml (0 °C)
0.0056 g / 100 ml (20 °C)
1.0002697
โครงสร้าง
linear (point group Cv)
อุณหเคมี
Std molar
entropy
(S298)
210.76 J/(K·mol)
90.29 kJ/mol
เภสัชวิทยา
R07AX01 (WHO)
ข้อมูลใบอนุญาต
การสูดดม
เภสัชจลนศาสตร์:
good
ผ่านทางหลอดเลือดฝอยในปอด
2–6 วินาที
ความอันตราย
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS/OSH):
อันตรายหลัก
  • Fatal if inhaled
  • Causes severe burns
  • Causes eye damage
  • Corrosive to the respiratory tract
[4]
GHS labelling:
GHS04: แก๊สอัดGHS03: OxidizingThe corrosion pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)The skull-and-crossbones pictogram in the Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals (GHS)[3][4]
อันตราย
H270, H280, H314, H330[3][4]
P220, P244, P260, P280, P303+P361+P353+P315, P304+P340+P315, P305+P351+P338+P315, P370+P376, P403, P405[3][4]
NFPA 704 (fire diamond)
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC):
315 ppm (rabbit, 15 min)
854 ppm (rat, 4 h)
2500 ppm (mouse, 12 min)[5]
320 ppm (mouse)[5]
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) External SDS
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน
ไนโตรเจนออกไซด์ที่เกี่ยวข้อง
ไดไนโตรเจนเพนทอกไซด์

ไดไนโตรเจน เทโตรไซด์
ไดไนโตรเจนไตรออกไซด์
ไนโตรเจนไดออกไซด์
ไนตรัสออกไซด์
Nitroxyl (reduced form)
Hydroxylamine (hydrogenated form)

หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

ผลต่อพืช

แก้
 
การผลิตและการแพร่กระจายของไนตริกออกไซด์ (NO) (สีขาว) ในไซโตพลาสซึม (สีเขียว) ของกลุ่มเซลล์ต้นสนโคนิเฟอร์

NO เป็นพิษต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงและระดับของคลอโรฟิลล์ในพืช ต่อมาจึงพบว่า NO มีผลต่อการส่งสัญญาณในพืช ซึ่ง NO จะกระตุ้นผ่านตัวส่งสัญญาณตัวที่สอง เช่น cAMP และ CADPR ดังเช่นการกระตุ้นให้มีการเพิ่มระดับของแคลเซียมในเซลล์ยาสูบในสภาวะที่มีแรงดันออสโมติกสูง [7] เมื่อพืชได้รับแรงกดดันทั้งจากสิ่งที่มีและไม่มีชีวิต จะกระตุ้นการสร้าง NO ขึ้นผ่านทางวิถีไนไตรต์หรือวิถีอาร์จินีน NO ที่เกิดขึ้นจะทำงานได้สองทาง ทางหนึ่งไปกระตุ้นตัวส่งสัญญาณตัวที่สอง cGMP/cADPR ซึ่งจะไปกระตุ้นช่องผ่านเข้าออกของแคลเซียมเพื่อเพิ่มปริมาณแคลเซียมอิสระภายในเซลล์ หรือผ่านกระบวนการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ cGMP เช่นการกระตุ้นด้วยไนโตรเจนปฏิกิริยา (Reactive nitrogen species; RNS) ผลจากการกระตุ้นดังกล่าวนี้จะไปมีผลต่อการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้อง และสุดท้ายจะส่งผลต่อการทำงานของกรดแอบไซซิก กรดซาลิไซลิก กรดจัสโมนิก และเอทิลีน [7]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Nomenclature of Inorganic Chemistry, IUPAC Recommendations (PDF). International Union of Pure and Applied Chemistry. 2005. p. 69.
  2. "Nitric Oxide (CHEBI:16480)". Chemical Entities of Biological Interest (ChEBI). UK: European Bioinformatics Institute.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Nitrogen monoxide - Registration Dossier - ECHA". สืบค้นเมื่อ 2020-11-02.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "Safety Data Sheet - Nitric Oxide, compressed - Registration Dossier" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2020-11-02.
  5. 5.0 5.1 "Nitric oxide". Immediately Dangerous to Life and Health Concentrations (IDLH). National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  6. Principles and Applications of ESR Spectroscopy, Anders Lund,Masaru Shiotani,Shigetaka Shimada 2010
  7. 7.0 7.1 7.2 Arasimowicz, M., and Floryszak-Wieczorek, J. 2007. Nitric acid as a bioactive signailing molecule in plant stress responses. Plant Science. 172, 876 – 887

อ่านเพิ่มเติม

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้