โอเล เชียเรน

สถาปนิกชาวเยอรมัน

โอเล เชียเรน (เกิดวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1971) เป็นสถาปนิกและนักผังเมืองชาวเยอรมัน และเป็นผู้อำนวยการสำนักงานBüro Ole Scheeren[1] โดยมีสำนักงานอยู่ใน ปักกิ่ง, ฮ่องกง, ลอนดอน, เบอร์ลิน และ กรุงเทพมหานคร[2][3]และเคยเป็นศาสตราจารย์รับเชิญที่ มหาวิทยาลัยฮ่องกง ตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2010[4]

โอเล เชียเรน
โอเล เชียเรน ใน นิวยอร์ก เดือน กันยายน ค.ศ. 2016
เกิด (1971-01-06) 6 มกราคม ค.ศ. 1971 (53 ปี)
คาลส์รูเออ, ประเทศเยอรมนี
สัญชาติชาวเยอรมัน
ศิษย์เก่าสมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม
บิดามารดาดีเทอร์ เชียเรน (พ่อ)
เว็บไซต์buro-os.com

ประวัติ

แก้

ชีวิตในวัยเด็กและอาชีพ

แก้

โอเล เชียเรน เป็นบุตรชายของสถาปนิกชาวเยอรมัน ดีเทอร์ เชียเรน ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมโยธาที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ในเมืองวีสบาเดิน, รัฐเฮ็สเซิน[5]

เมื่อได้อายุ 14 ปี เขาได้ทำงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในสำนักงานของพ่อ และเสร็จสิ้นโครงการสถาปัตยกรรมชิ้นแรกเมื่ออายุได้ 21 ปี[6] เมื่ออายุได้ 20 ปี เขาได้เดินทางพร้อมกับเป้สะพายหลังไปทั่วชนบทของจีน และอาศัยอยู่ที่นั่น[7] กับคนในท้องถิ่นใช้เวลาสามเดือนก่อนจะเริ่มเรียน[8] โอเล ชีเรนศึกษาอยู่ที่ สถาบันเทคโนโลยีคาลส์รูเออ ในเมือง คาลส์รูเออ ที่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิส โลซาน ในเมือง โลซาน และทำวิทยานิพนธ์ที่ สมาคมสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม ในเมือง ลอนดอน โดยได้รับรางวัล RIBA Silver Medal ในปี ค.ศ. 2000 จากงานที่ชื่อ "MexT Project" ซึ่งวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคม ดินแดน และเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่และสถาปัตยกรรม[9]

หลังจากทำงานในเยอรมนี นิวยอร์ก และลอนดอน โอเล ชีเรนเริ่มทำงานที่ Office for Metropolitan Architecture (OMA) ในเมือง รอตเทอร์ดาม ในปี ค.ศ. 1995 ในปี ค.ศ. 2002 เขาได้เป็นหุ้นส่วนและผู้อำนวยการสำนักงานใน ปักกิ่ง และ ฮ่องกง โดยรับผิดชอบธุรกิจทั้งหมดในเอเชียเป็นเวลากว่า 10 ปี[10]

 
ดิอินเทอร์เลซ ใน ประเทศสิงคโปร์

ในฐานะหุ้นส่วนที่รับผิดชอบโครงการที่ใหญ่ที่สุดของ OMA จนถึงปัจจุบัน เขาประสบความสำเร็จในดำเนินการสร้าง China Central Television Station (CCTV) และ Television Cultural Centre (TVCC) ใน ปักกิ่ง ได้สำเร็จ[11] โครงการอื่น ๆ ของเขารวมถึง คิง เพาเวอร์ มหานคร ซึ่งเป็นอาคารแบบผสมผสานสูง 314 เมตรในกรุงเทพฯ ที่เป็นของ Pace Development จนถึงปี ค.ศ. 2017[ต้องการอ้างอิง] The Scotts Tower ซึ่งมีอพาร์ตเมนต์ระดับไฮเอนด์ใน สิงคโปร์[12] ดิอินเทอร์เลซ ซึ่งเป็นโครงการที่พักอาศัย 1,040 ยูนิตใน สิงคโปร์[13] โครงการศูนย์กลางเมืองใหม่ของเซินเจิ้น[14] รวมถึง Taipei Performing Arts Center[15] เขายังเป็นผู้อำนวยการงานของ OMA ให้กับ Prada และทำการสร้าง Prada Epicenters ใน นิวยอร์ก (2001) และ ลอสแอนเจลิส (2004) [16] เขายังเป็นผู้นำโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย รวมถึงอาคาร Beijing Books, Los Angeles County Museum of Art, Leeum, Samsung Museum of Art ใน โซล และแผนแม่บทสำหรับ เกาะปีนัง ใน มาเลเซีย[17]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2010 โอเล ชีเรนออกจาก OMA และเริ่มบริษัทสถาปนิกของตนเองชื่อ Büro Ole Scheeren[18]

 
Guardian Art Center ในปักกิ่ง

ในฐานะหัวหน้าของ Büro Ole Scheeren Group, Scheeren ได้เสร็จสิ้นโครงการหลายแห่งในเอเชีย, รวมถึง Guardian Art Center ซึ่งเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการและสำนักงานใหญ่แห่งใหม่สำหรับบริษัทประมูลศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ซึ่งสร้างขึ้นใกล้กับ พระราชวังต้องห้าม ใน กรุงปักกิ่ง[19] DUO ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาอาคารแบบผสมผสานร่วมสมัยซึ่งประกอบด้วยที่อยู่อาศัย, สำนักงาน, โรงแรม Andaz Singapore และแกลเลอรีร้านค้าใน สิงคโปร์[20] และ คิง เพาเวอร์ มหานคร อาคารสูง 314 เมตรที่เคยเป็นอาคารที่สูงที่สุดในประเทศไทยและเป็นที่ตั้งของ เดอะ ริทซ์-คาร์ลตัน เรสซิเดนเซส บางกอก[21]

 
โครงการ คิง เพาเวอร์ มหานคร ในกรุงเทพฯ

โอเล ชีเรนในปัจจุบันมีหลายโครงการที่กำลังพัฒนาอยู่ทั่วโลก รวมถึงหนึ่งในอเมริกาเหนือ Fifteen Fifteen โดย โอเล ชีเรน จะเป็นอาคารสูงข้าง ๆ คราวน์ ไลฟ์ พลาซ่า ใน แวนคูเวอร์[22][23] Empire City ใน นครโฮจิมินห์ คอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ที่มีอาคารสามตึกสูงสุดที่ 333 เมตรกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง[24]โครงการอื่น ๆ ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่ สำนักงานใหญ่ในชื่อ "Shenzhen Wave" ในเมืองเซินเจิ้นสำหรับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน ZTE, [25] โรงแรมรีสอร์ท "Sanya Horizons" บนเกาะไหหลำในประเทศจีน, [26] และและโรงแรมบูติกสุดหรู "ABACA Resort" ในฟิลิปปินส์[27]

นอกจากนี้เชียเรน ยังส่งมอบแผนการพัฒนาอาคารสำนักงาน "Riverpark Tower" ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์ใหม่ของอาคารสำนักงานเดิมให้เป็นอาคารที่อยู่อาศัยสูง[28] ในแฟรงก์เฟิร์ต, เยอรมนี]] Empire City y ในเมืองโฮจิมินห์ซึ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่ 3 อาคารที่มีความสูง 333 เมตร[24]

เชียเรน ได้มีส่วนสนับสนุนโครงการศิลปะและวัฒนธรรมและนิทรรศการต่าง ๆ ตลอดอาชีพการงานของเขารวมถึงรางวัล International Highrise, [29] Milan Triennale, China Design Now in London, Cities on the Move ในลอนดอน และกรุงเทพฯ, [30] Media City Seoul และเทศกาลภาพยนตร์รอตเทอร์ดาม[31] ในปี ค.ศ. 2006 เขาได้ออกแบบนิทรรศการสองรายการสำหรับพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในนิวยอร์กและปักกิ่ง ซึ่งนำเสนอโปรเจกต์สำนักงานใหญ่ CCTV[32] เขาบรรยายเป็นประจำในสถาบันและการประชุมระดับนานาชาติหลายแห่งและทำหน้าที่เป็นกรรมการตัดสินรางวัลและการแข่งขัน.[33] ในเดือนธันวาคม 2022 ZKM | Center for Art and Media Karlsruhe ได้จัดนิทรรศการเดี่ยว "ole scheeren : spaces of life"[34] ให้กับผลงานของ Ole Scheeren. Peter Weibel อดีตผู้อำนวยการด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ของ ZKM เป็นผู้จัดนิทรรศการโดยมีการปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดกับสถาปนิก[35]

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 เชียเรน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในงานเท็ด ในลอนดอน ในหัวข้อ "ทำไมสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่จึงควรเล่าเรื่องราวได้"[36]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

โอเล ชีเรนได้อาศัยอยู่ในเมือง ปักกิ่ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 และเคยคบหากับนักแสดงหญิงชาวฮ่องกง จาง ม่านอวี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ถึง ค.ศ. 2011[37]

รางวัล

แก้
  • 2023: รางวัล CTBUH 10 Years Award – The Interlace, สิงคโปร์[38]
  • 2021: รางวัล CTBUH Urban Habitat Award 2021 – DUO, สิงคโปร์[39]
  • 2019: รางวัล CTBUH Award of Excellence – DUO, สิงคโปร์ และ MahaNakhon, กรุงเทพ[40]
  • 2015: World Building of the Year 2015 – ดิอินเทอร์เลซ, สิงคโปร์
  • 2015: Best Mixed-Use Development 2015 – คิง เพาเวอร์ มหานคร, กรุงเทพ – Asia Pacific Property Awards
  • 2014: Global Urban Habitat Award – ดิอินเทอร์เลซ, สิงคโปร์ – The Inaugural CTBUH Urban Habitat Award
  • 2013: Best Tall Building Worldwide – CCTV Headquarters, ปักกิ่ง – 12th Annual CTBUH Awards
  • 2012: Best Futura Project – DUO, สิงคโปร์ – MIPIM Asia Awards
  • 2010: Green Mark Gold Plus – ดิอินเทอร์เลซ, สิงคโปร์ – Building and Construction Authority
  • 2010: Best Architecture – ดิอินเทอร์เลซ, สิงคโปร์ – Asia Pacific Property Awards
  • 2008: Architecture's Ten Best – CCTV Headquarters, ปักกิ่ง – The New Yorker
  • 2008: Best Building Site – CCTV Headquarters, ปักกิ่ง – นิตยสาร Wallpaper*
  • 2008: Best New Global Design – CCTV Headquarters, ปักกิ่ง – International Architecture Awards
  • 2008: International Highrise Award, แฟรงก์เฟิร์ต (ผู้เข้ารอบสุดท้าย) – TVCC, ปักกิ่ง
  • 2007: The World's Most Ambitious Projects – CCTV Headquarters, ปักกิ่ง – The Times
  • 2000: RIBA Silver Medal (สถาบันสถาปนิกแห่งสหราชอาณาจักร)
  • 1997: Studienstiftung มูลนิธิการศึกษาของชาวเยอรมัน
  • 1990: Scheffel Medal (รางวัลนักเรียนใน Baden-Württemberg)

ผลงานภาพยนตร์

แก้
  • "Deutsche Architekten in China“, เยอรมนี, 2016, ผู้กำกับ: Rainer Traube, ผลิตโดย: DW-TV (Deutsche Welle), ออกอากาศ: 31 กันยายน 2016 โดย DW-TV (Deutsche Welle)
  • "Megacitys – Bauen für Millionen“, เยอรมนี, 2013, 44 นาที, ผู้ดำเนินรายการ: Ranga Yogeshwar, ผลิตโดย: WDR, ฉายที่: Quarks und Co, ออกอากาศ: 25 มิถุนายน 2013 โดย WDR, Table of contents from WDR, online-Video from WDR
  • "Biennale Venezia 2012“, เยอรมนี, 2012, ผู้กำกับ: Werner Herzog, ผลิตโดย: DW-TV (Deutsche Welle)
  • "Faszination Wolkenkratzer - CCTV in Peking“, เยอรมนี, 2009, 30 นาที, ผู้กำกับ: Horst Brandenburg, ผลิตโดย: ARTE Television, ออกอากาศ: 5 กรกฎาคม 2009 โดย ARTE Television

อ้างอิง

แก้
  1. Scheeren, Büro Ole. "Büro Ole Scheeren". Büro Ole Scheeren (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  2. Rosenfield, Karissa (4 November 2015). "Büro Ole Scheeren Expands with New Offices in Berlin and Bangkok". ArchDaily. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  3. Scheeren, Büro Ole. "Büro Ole Scheeren". Büro Ole Scheeren (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  4. Pearson, Clifford (January 2011). "Newsmaker: Ole Scheeren". Architectural Record. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2011. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  5. "Prof. Dipl.-Ing. Dieter Scheeren". Webarchive (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2015. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  6. Sefrin, Oliver (17 September 2007). "Ole Scheeren baut ein Wahrzeichen für Peking". Webarchive (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2008. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  7. Moll, Sebastian (15 November 2009). "Herr der Türme". Spiegel Online (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  8. Fend, Ruth (November 2012). "Der Beau Vom Bau". Webarchive (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (JPEG)เมื่อ 2 April 2015. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  9. "RIBA President's Medal". 9 February 2000. สืบค้นเมื่อ 1 November 2017.
  10. Yaneva, Albena (2009). Made by the Office for Metropolitan Architecture: An Ethnography of Design. 010 Publishers. p. 37. ISBN 9789064507144. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  11. Ryder, Bethan (20 December 2016). "My Foundations: Ole Scheeren". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  12. Butler, Andy (26 March 2007). "OMA: residential tower in singapore". Designboom. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  13. Hobson, Ben (12 November 2015). "The Interlace by Ole Scheeren was designed to "build a sense of community"". Dezeen. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  14. "Shenzhen Creative Center". Arcspace. 31 July 2012. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  15. "TAIPEI PERFORMING ARTS CENTRE". Divisare. 27 January 2009. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  16. Kaltenbach, Frank (1 March 2004). "What Comes After Prada? - An Interview with Ole Scheeren of OMA". Detail. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2017. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017. Alt URL
  17. Davidson, Cynthia (June 2006). "Tropical Green: Penang Tropical City". Tina DiCarlo. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  18. Bostwick, William (1 March 2010). "Rem Koolhaas Loses His Star Designer". Fast Company. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  19. Frearson, Amy (9 March 2015). "Ole Scheeren combines an auction house and museum beside Beijing's Forbidden City". Dezeen. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  20. Rosenfield, Karissa (20 November 2012). "Büro Ole Scheeren unveils 'DUO' towers in Singapore". Archdaily. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  21. Griffiths, Alyn (24 May 2017). "Ole Scheeren's pixellated MahaNakhon tower photographed by Hufton + Crow". Dezeen. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  22. Meiszner, Peter (24 April 2018). "Spectacular "jenga" tower Fifteen Fifteen by Büro Ole Scheeren coming to 1515 Alberni". urbanyvr.com/. Urban Yvr. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  23. Gibson, Eleanor (3 July 2018). "Ole Scheeren designs twin Vancouver skyscrapers to be vertical villages". dezeen.com. Dezeen. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  24. 24.0 24.1 Lynch, Patrick (15 November 2017). "Buro Ole Scheeren Unveils Skyscraper Complex in Ho Chi Minh City Featuring Public "Sky Forest"". archdaily.com/. Arch Daily. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  25. designboom, philip stevens I. (2020-09-02). "büro ole scheeren reveals the 'shenzhen wave', a flexible archetype for the future workplace". designboom | architecture & design magazine (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  26. "Büro Ole Scheeren to Develop Resort Complex in Sanya". Hospitality Design (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  27. "Ole Scheeren Reveals Hotel Design in the Philippines". ArchDaily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-07-28. สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  28. Frearson, Amy (24 September 2017). "Ole Scheeren plans to radically transform Frankfurt office block into Jenga-like apartment tower". dezeen.com. Dezeen. สืบค้นเมื่อ 16 March 2020.
  29. "INTERNATIONAL HIGHRISE AWARD". DAM Deutsches Architekturmuseum. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  30. "Cities on the Move". Design Week. 24 September 1999. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  31. "International Film Festival Rotterdam". IFFR. 2000. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  32. "MOMA Museum of Modern Art". MOMA. 15 November 2006 – 26 March 2017. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.{{cite web}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  33. "Jury members 2013". ICONIC WORLD. 27 June 2013. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  34. "ole scheeren : spaces of life | 10.12.2022 - 00:00 to 04.06.2023 - 00:00 | ZKM". zkm.de (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  35. "ole scheeren: spaces of life - Announcements - e-flux". www.e-flux.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  36. "Why great architecture should tell a story". TED. September 2015. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  37. Ann Zachariah, Natasha (18 June 2016). "German architect Ole Scheeren moved to Asia to design for Asia". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  38. "The Interlace By Ole Scheeren Wins Prestigious 10 Year Award At Ctbuh 2023 In Singapore". www.gooood.cn (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  39. "Büro Ole Scheeren wins the CTBUH Urban Habitat Award 2021 with DUO Twin Towers". ArchDaily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.
  40. Scheeren, Büro Ole. "Büro Ole Scheeren". Büro Ole Scheeren (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-11-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้