พลเอก โอลางฮู (มองโกเลีย: Улаанхүү, ᠤᠯᠠᠭᠠᠨᠬᠦᠦ) หรือ อูหลานฟู (จีนตัวย่อ: 乌兰夫; จีนตัวเต็ม: 烏蘭夫; พินอิน: Wūlánfū; 23 ธันวาคม พ.ศ. 2450 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2531) มีชื่อในตอนเกิดว่า ยฺหวิน เจ๋อ (จีนตัวย่อ: 云泽; จีนตัวเต็ม: 雲澤; พินอิน: Yùn Zé)[1] เป็นประธานผู้ก่อตั้งเขตปกครองตนเองมองโกเลียในของจีน ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2490 ถึง 2509

โอลางฮู / อูหลานฟู
ᠤᠯᠠᠭᠠᠨᠬᠦᠦ
乌兰夫
พลเอกโอลางฮูในปี พ.ศ. 2498
รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน คนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม พ.ศ. 2526 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2531
ประธานาธิบดีหลี่ เซียนเนี่ยน
ผู้นำเติ้ง เสี่ยวผิง
ก่อนหน้าซ่ง ชิ่งหลิง และ ต่ง ปี้หวู่ (จนถึงปี 2515)
ตำแหน่งว่าง
ถัดไปหวัง เจิ้น
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 ธันวาคม พ.ศ. 2450
เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน, จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต8 ธันวาคม พ.ศ. 2531
(80 ปี)
ปักกิ่ง, จีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คู่สมรสยฺหวิน หลี่เหริน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมอสโกซุนยัตเซ็น
โอลางฮู
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ความหมายตามตัวอักษรโอรสแดง (ในภาษามองโกเลีย)
Chinese name
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ชื่อภาษามองโกเลีย
อักษรซิริลลิกมองโกเลียУлаанхүү
อักษรมองโกเลีย ᠤᠯᠠᠭᠠᠨᠬᠦᠦ

ในชนเผ่าทูเม็ด มองโกล เขาใช้แฝงว่า โอลางฮู (แปลว่า โอรสแดง)[2] และได้รับสมญานามว่า "เจ้าชายมองโกล" (蒙古王) ตลอดอาชีพทางการเมือง เขาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีระหว่างปี พ.ศ. 2499 ถึง 2509 และถูกกวาดล้างในช่วงการปฏิวัติทางวัฒนธรรม แต่กลับคืนสถานะในภายหลัง ระหว่างปี พ.ศ. 2526 ถึง 2531 เขาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

โอลางฮูเป็นเจ้าหน้าที่จากชนกลุ่มน้อยที่มีตำแหน่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน และกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความภักดีทั้งต่อชาวมองโกเลียและต่อประเทศจีน [3] ยกเว้นในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม ครอบครัวของเขามีอำนาจเหนือการเมืองของมองโกเลียใน[4] ปู้เฮ่อ ลูกชายของเขาดำรงตำแหน่งประธานของมองโกเลียในเป็นเวลา 10 ปี และ ปู้ เสี่ยวหลิน หลานสาวของเขาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเดียวกันในปี 2559

อ้างอิง แก้

  1. Pirie, Fernanda; Huber, Toni (2008-07-31). Conflict and Social Order in Tibet and Inner Asia (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-474-4259-2.
  2. Pirie, Fernanda; Huber, Toni (2008-07-31). Conflict and Social Order in Tibet and Inner Asia (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-474-4259-2.
  3. Gries, Peter Hays; Rosen, Stanley (2004). State and Society in 21st Century China: Crisis, Contention, and Legitimation. Psychology Press. p. 228. ISBN 978-0-415-33204-0.
  4. Bulag, Uradyn Erden (2002). The Mongols at China's Edge: History and the Politics of National Unity. Rowman & Littlefield. pp. 213–4. ISBN 978-0-7425-1144-6.