โรฮีนจา
โรฮีนจา[23] (พม่า: ရိုဟင်ဂျာ /ɹòhɪ̀ɴd͡ʑà/ โหร่หิ่งจ่า; โรฮีนจา: Ruáingga /ɾuájŋɡa/ รูไอง์กา; เบงกอล: রোহিঙ্গা, Rohingga) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐยะไข่ (อาระกัน) ทางตะวันตกของประเทศพม่า และพูดภาษาโรฮีนจา[24][25] ชาวโรฮีนจาและนักวิชาการบางส่วนกล่าวว่า โรฮีนจาเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่รัฐยะไข่ ในขณะที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนอ้างว่า พวกเขาอพยพเข้าพม่าจากเบงกอลในสมัยการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นหลัก[26][27][28] และนักประวัติศาสตร์ส่วนน้อยกล่าวว่า พวกเขาอพยพมาหลังจากพม่าได้รับเอกราชในปี 2491 และหลังจากบังกลาเทศทำสงครามประกาศเอกราชในปี 2514 ชาวโรฮิงญาเป็นลูกหลานของอาชญากรที่ถูกเนรเทศในสังคมโบราณ[29][30][31][32][33]
𐴌𐴗𐴥𐴝𐴙𐴚𐴒𐴙𐴝 | |
---|---|
ประชากรทั้งหมด | |
1,547,778[1]–มากกว่า 2,000,000 คน[2] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
บังกลาเทศ | มากกว่า 1,300,000 คน (มีนาคม ค.ศ. 2018)[3] |
พม่า (รัฐยะไข่) | 600,000 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2019)[4] |
ปากีสถาน | 500,000 (กันยายน ค.ศ. 2017)[5] |
ซาอุดีอาระเบีย | 190,000 (มกราคม ค.ศ. 2017)[6] |
มาเลเซีย | 150,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2017)[5] |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 50,000 (ธันวาคม ค.ศ. 2017)[5] |
อินเดีย | 40,000 (กันยายน ค.ศ. 2017)[7][8] |
สหรัฐ | มากกว่า 12,000 คน (กันยายน ค.ศ. 2017)[9] |
ไทย | 5,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2017)[10] |
ออสเตรเลีย | 3,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2018)[11] |
จีน | 3,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2014)[12] |
อินโดนีเซีย | 1,000 (ตุลาคม ค.ศ. 2017)[10] |
ญี่ปุ่น | 300 (พฤษภาคม ค.ศ. 2018)[13] |
เนปาล | 200 (กันยายน ค.ศ. 2017)[14] |
แคนาดา | 200 (กันยายน ค.ศ. 2017)[15] |
ไอร์แลนด์ | 107 (ธันวาคม ค.ศ. 2017)[16] |
ศรีลังกา | 36 (มิถุนายน ค.ศ. 2017)[17] |
ฟินแลนด์ | 11 (ตุลาคม ค.ศ. 2019)[18] |
ภาษา | |
โรฮีนจา | |
ศาสนา | |
ส่วนใหญ่: อิสลาม[19] ส่วนน้อย: ฮินดู[20][21][22] |
ชาวมุสลิมตั้งถิ่นฐานในรัฐยะไข่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ไม่สามารถประมาณจำนวนผู้ตั้งถิ่นฐานชาวมุสลิมก่อนการปกครองของสหราชอาณาจักรได้อย่างแม่นยำ[34] หลังสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่งในปี 2369 สหราชอาณาจักรผนวกรัฐยะไข่และสนับสนุนให้มีการย้ายถิ่นจากเบงกอลเพื่อทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นา ประชากรมุสลิมอาจมีจำนวนถึงร้อยละ 5 ของประชากรรัฐยะไข่แล้วเมื่อถึงปี 2412 แต่จากการประเมินของปีก่อนหน้าก็พบว่ามีจำนวนสูงกว่านี้ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ความรุนแรงระหว่างชุมชนก็ปะทุขึ้นระหว่างชาวยะไข่ซึ่งนับถือศาสนาพุทธกับหน่วยกำลังวี (V-Force) ชาวโรฮีนจาที่สหราชอาณาจักรติดอาวุธให้ และการแบ่งขั้วก็รุนแรงมากขึ้นในพื้นที่[35] ในปี 2525 รัฐบาลพลเอกเนวีนตรากฎหมายความเป็นพลเมืองซึ่งปฏิเสธความเป็นพลเมืองของชาวโรฮีนจา[33][27]
ในปี 2556 มีชาวโรฮีนจาประมาณ 735,000 คนอาศัยอยู่ในประเทศพม่า[32] ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองทางเหนือของรัฐยะไข่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 80–98 ของประชากร[33] สื่อระหว่างประเทศและองค์การสิทธิมนุษยชนกล่าวว่าชาวโรฮีนจาเป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกข่มเหงที่สุดกลุ่มหนึ่งในโลก[36][37][38] ชาวโรฮีนจาจำนวนมากหนีไปอยู่ในย่านชนกลุ่มน้อยและค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังกลาเทศ รวมทั้งพื้นที่ตามชายแดนไทย–พม่า ชาวโรฮีนจากว่า 100,000 คนยังอาศัยอยู่ในค่ายสำหรับผู้พลัดถิ่นในประเทศซึ่งทางการไม่อนุญาตให้ออกมา[39][40] ชาวโรฮีนจาได้รับความสนใจจากนานาชาติในห้วงเหตุจลาจลในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2555
ผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจา
แก้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาจำนวน 1,000 คนอพยพมาจากประเทศพม่า ได้ถูกทหารพม่าจับกุมพร้อมทั้งถูกทารุณกรรม จากนั้นถูกจับโยนลงทะเลโดยไม่มีเรือมารับ และขาดแคลนทั้งน้ำและอาหาร เรื่องนี้รัฐบาลทหารพม่าออกมาตอบโต้ในเบื้องต้นว่า ซีเอ็นเอ็นรายงานข่าวเกินความจริง และที่ว่าผู้ลี้ภัยเหล่านี้ใช้เรือใบโดยไม่มีเครื่องยนต์และห้องน้ำบนเรือ จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขาขึ้นมายังชายฝั่ง ทางด้าน โฆษกกระทรวงกลาโหมพม่า ออกมาปฏิเสธว่าสื่อรายงานไม่ถูกต้อง[41]
นอกจากนี้สื่อยังได้รายงานผลการสอบสวนว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้หายตัวไปจากการกักขังที่ส่วนกลางและยังไม่พบว่าอยู่ที่ไหน รัฐบาลทหารพม่าให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า "พวกเราอาจหยุดเดินเรือหรือพวกเขาจะกลับมา ทิศทางลมจะพาพวกเขาไปยังอินเดียหรือไม่ก็ที่อื่น"[42] จากนั้นรัฐบาลทหารพม่าให้สัญญาว่าจะดำเนินการสอบสวนผู้นำทางทหารอย่างเต็มที่ แต่ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่หาว่าปกปิดการใช้อำนาจกองทัพไปในทางที่ผิด
แอนเจลีนา โจลี ทูตสันถวไมตรีแห่งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่าว่าไม่สนใจไยดีต่อสภาพความเป็นอยู่ที่เลวร้ายของชาวโรฮีนจา และเสนอแนะว่ารัฐบาลทหารพม่าควรดูแลคนกลุ่มนี้ให้ดีกว่าตอนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพม่า กระทรวงการต่างประเทศออกมาตำหนิยูเอ็นเอชซีอาร์ มีการบันทึกว่ายูเอ็นเอชซีอาร์ไม่มีอำนาจหน้าที่และการกล่าวว่าเรื่องนี้ไม่ควรจะอ้างถึงกระทรวงการต่างประเทศ และอาคันตุกะของกระทรวงการต่างประเทศ[43][44]
อ้างอิง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Mahmood; Wroe; Fuller; Leaning (2016). "The Rohingya people of Myanmar: health, human rights, and identity". Lancet. 389 (10081): 1–10. doi:10.1016/S0140-6736(16)00646-2. PMID 27916235. S2CID 205981024.
- ↑ Mathieson, David (2009). Perilous Plight: Burma's Rohingya take to the seas. Human Rights Watch. p. 3. ISBN 978-1-56432-485-6.
- ↑ "WHO appeals for international community support; warns of grave health risks to Rohingya refugees in rainy season". ReliefWeb. 29 March 2018.
- ↑ "600,000 Rohingya still in Myanmar". SPH Digital News. สืบค้นเมื่อ 16 September 2019.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Far From Myanmar Violence, Rohingya in Pakistan Are Seething". The New York Times. 12 September 2017.
- ↑ "190,000 Myanmar nationals' get residency relief in Saudi Arabia". Al Arabiya English. 25 January 2017.
- ↑ "India in talks with Myanmar, Bangladesh to deport 40,000 Rohingya". Reuters. 2017. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017.
- ↑ "India plans to deport thousands of Rohingya refugees". Al Jazeera. 14 August 2017. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017.
- ↑ Mclaughlin, Timothy (20 September 2016). "Myanmar refugees, including Muslim Rohingya, outpace Syrian arrivals in U.S." Reuters. สืบค้นเมื่อ 3 September 2017.
- ↑ 10.0 10.1 "Myanmar Rohingya: What you need to know about the crisis". BBC News. 19 October 2017.
- ↑ "Australia has an obligation to the Rohingya people: So why is the federal government prevaricating?". ABC News. 3 October 2018.
- ↑ Chen, Chun-yan (2016). "旅居瑞丽的缅甸罗兴伽人生存策略探析" [Research on Survival Strategy of Myanmar's Rohingya in Ruili]. Journal of Guangxi University for Nationalities (Philosophy and Social Science Edition) (ภาษาจีน). 38 (2): 98–104. ISSN 1673-8179.
- ↑ "Report on International religious freedom". United States Department of State. 20 November 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2018. สืบค้นเมื่อ 1 May 2018.
- ↑ "200 Rohingya Refugees are not being accepted as Refugees and the Nepali Government considers them illegal migrants". Republica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 June 2016.
An estimated 36,000 Rohingya Refugess living in India
- ↑ "200 'We have the right to exist': Rohingya refugees call for intervention in Myanmar". Canadian Broadcasting Corporation.
- ↑ Pollak, Sorcha (15 February 2015). "I'm really excited to see my girls growing up in Ireland". The Stateless Rohinga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-02. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
- ↑ "Sri Lanka Navy detains Rohingya – majority children". The Stateless Rohinga. 12 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-20. สืบค้นเมื่อ 29 January 2018.
- ↑ "Finland helps Myanmar's Rohingya refugees through the Red Cross". Valtioneuvosto.
- ↑ "Who are Rohingya". nationalgeographic.
- ↑ "Bangladesh to restrict Rohingya movement". BBC News. 16 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
- ↑ "Rohingya Hindu women share horror tales". Dhaka Tribune. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
- ↑ "Rohingya Hindus now face uncertainty in Myanmar". Al Jazeera. 21 September 2017. สืบค้นเมื่อ 16 January 2018.
- ↑ "สำนักงานราชบัณฑิตยสภาชี้แจงคำ "โรฮีนจา" และ "เมียนมา"" (PDF). สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. พฤษภาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Andrew Simpson (2007). Language and National Identity in Asia. United Kingdom: Oxford University Press. p. 267. ISBN 978-0199226481.
- ↑ "Rohingya reference at Ethnologue".
- ↑ Leider 2013, p. 7.
- ↑ 27.0 27.1 Derek Tonkin. "The 'Rohingya' Identity - British experience in Arakan 1826-1948". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-19. สืบค้นเมื่อ 19 January 2015.
- ↑ Selth, Andrew (2003). Burma’s Muslims: Terrorists or Terrorised?. Australia: Strategic and Defence Studies Centre, Australian National University. p. 7. ISBN 073155437X.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKaiser
- ↑ Adloff, Richard; Thompson, Virginia (1955). Minority Problems in Southeast Asia. United States: Stanford University Press. p. 154.
- ↑ Crisis Group 2014, pp. 4–5.
- ↑ 32.0 32.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:5
- ↑ 33.0 33.1 33.2 Leider, Jacques P. ""Rohingya": Rakhaing and Recent Outbreak of Violence: A Note" (PDF). Network Myanmar. สืบค้นเมื่อ 11 February 2015.
- ↑ Leider 2013, p. 14.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:2
- ↑ Crisis Group 2014, p. i.
- ↑ MclaughLin, Tim (8 July 2013). "Origin of 'most persecuted minority' statement unclear". สืบค้นเมื่อ 17 February 2015.
- ↑ "Myanmar, Bangladesh leaders 'to discuss Rohingya'". Agence France-Presse. 29 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-18. สืบค้นเมื่อ 2015-05-16.
- ↑ "Trapped inside Burma's refugee camps, the Rohingya people call for recognition". The Guardian. 20 December 2012. สืบค้นเมื่อ 10 February 2015.
- ↑ "US Holocaust Museum highlights plight of Myanmar's downtrodden Rohingya Muslims". Fox News. Associated Press. 6 November 2013.
- ↑ Bangkok Post, [1], 20 January 2009
- ↑ Al Jazeera, Thais admit boat people set adrift, 27 January 2009
- ↑ The Nation, UNHCR warned over Angelina Jolie's criticism on Rohingya เก็บถาวร 2009-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ The Nation, Thai govt warns Jolie and UNHCR over comments on Rohingyas, 11 February 2009
ข้อมูลทั่วไป
แก้(ตามลำดับอักษรอังกฤษ)
- Aye Chan (Autumn 2005). "The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State of Burma (Myanmar)" (PDF). SOAS Bulletin of Burma Research. 3 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 11 September 2017.
- "Burma's Western Border as Reported by the Diplomatic Correspondence (1947–1975)" by Aye Chan
- "Burma's Western Border as Reported by the Diplomatic Correspondence (1947–1975)" by Aye Chan
- Charney, Michael W. (8 April 2018). "A Comparative Vocabulary of Some of the Languages Spoken in the Burma Empire written by Francis Buchanan". SOAS Bulletin of Burma Research. สืบค้นเมื่อ 8 April 2018.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- International Center for Transitional Justice, Myanmar
- Khin Maung Saw (1994). "The 'Rohingyas', Who Are They? The Origin of the Name 'Rohingya'" (PDF). ใน Uta Gärtner; Jens Lorenz (บ.ก.). Tradition and Modernity in Myanmar: Proceedings of an International Conference held in Berlin from 7 to 9 May 1993. Münster: LIT. pp. 89–101. ISBN 978-3-89473-992-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-08-28.
- Leider, Jacques (2018). "Rohingya: The History of a Muslim Identity in Myanmar". ใน Ludden, David (บ.ก.). Oxford Research Encyclopedia of Asian History. Oxford University Press. doi:10.1093/acrefore/9780190277727.013.115. ISBN 9780190277727.
- Leider, Jacques (2013). "Rohingya: The name, the movement and the quest for identity" (PDF). Network Myanmar.
- "Myanmar, The Rohingya Minority: Fundamental Rights Denied". Amnesty International. สืบค้นเมื่อ 13 August 2005.
- "Myanmar:The Politics of Rakhine State" (PDF). International Crisis Group. 22 October 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 November 2014. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.
- Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
- Yegar, Moshe (2002). Between integration and secession: The Muslim communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma / Myanmar. Lanham, MD: Lexington Books. ISBN 978-0-7391-0356-2.
- Yegar, Moshe (1972). Muslims of Burma (PDF). Wiesbaden: Verlag Otto Harrassowitz.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โรฮีนจา