โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี (อักษรย่อ: พ.น.) เป็นโรงเรียนประจำอำเภอแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งที่สองของจังหวัดราชบุรี ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแบบสหศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 80 หมู่ 8 ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี รหัสไปรษณีย์ 70120 ปัจจุบันมีเนื้อที่ 55 ไร่ 1 งาน 70 ตารางวา

โรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี
Photha Watthana Senee School
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 80 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.น. / PN
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญนตฺติ ปญฺญา สมา อาภา
(แสงว่าใดเสมอด้วยปัญญา ไม่มี)
สถาปนา1 สิงหาคม พ.ศ. 2444 (123 ปี 123 วัน)
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
รหัส1070480375
ผู้อำนวยการนายจรัญ สุขเสรี
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 6
เพศสหศึกษา
สี    น้ำเงิน - เหลือง
เพลงมาร์ชโพธาวัฒนาเสนี
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
เว็บไซต์www.photha.ac.th

ประวัติ

แก้

โรงเรียนโพธาวัฒนเสนี จัดตั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่พระองค์ได้ครองราชย์แล้ว ก็ได้ทรงประกาศตั้งกรมธรรมการขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการ มีการประกาศตั้งโรงเรียนมูลศึกษาขึ้นในวัดทั่วไปทั้งในกรุงและหัวเมือง กำหนดชั้นเรียนเป็น 2 ชั้น คือ โรงเรียนมูลศึกษาสามัญชั้นต่ำ และโรงเรียนมูลศึกษาชั้นสูง

พ.ศ. 2444 นายฮะ ปลัดอำเภอโพธาราม ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณพื่นที่ของวัดโพธาราม ตามความปรากฏว่า

"ด้วยพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการ ได้ทรงรับรายงาน จากกระทรวงมหาดไทยว่า นายฮะ ปลัดอำเภอโพธาราม เมืองราชบุรี ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้น ที่วัดโพธาราม 1 โรง โต๊ะเก้าอี้พร้อม แบบเรียนได้จากพระอมรโมฬี ผู้อำนวยการศึกษา 180 เล่ม ครูเรียกไปจากกรุงเทพฯ ได้เปิดโรงเรียนสอน แต่เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ร.ศ.120 แล้ว โรงเรียนที่นายฮะ จัดสร้างขึ้นนี้ พระอมรโมฬี ผู้อำนวยการศึกษาได้เกื้อกูลเงินเดือนละ 10 บาท แลช่วยหนังสือแบบเรียนหลวงด้วย ส่วนนามโรงเรียนพระอมรโมฬีให้นามว่า โรงเรียนโพธาราม อาไศรยเหตุที่ตั้งอยู่ในวัดโพธาราม จึงพร้อมกันขอถวายพระราชกุศุล กรมศึกษาธิการ มีความยินดีแลขอบใจท่านผู้บริจาคทรัพย์สร้างโรงเรียน แลช่วยอุปการะอุดหนุน ซึ่งได้ออกนามมาแล้วข้างบนนั้น ขออำนวยพรให้เจริญศุขสิ้นกาลนาน แลโรงเรียนนี้จงเปนถาวรสถานตลอดไปตามคราวสมัยอันเจริญเทอญ"

— ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18 หน้า 694 ลงวันที่ 8 ธันวาคม ร.ศ. 120[1]

พ.ศ. 2451 พระแดงเจ้าอธิการกับพระชื่นรองเจ้าอาวาสวัดโพธาราม พร้อมด้วยหลวงราษฎร์โยธาภิบาลนายอำเภอโพธาราม ด้บอกบุญเรี่ยไรเงินแก่ข้าราชการ และราษฎรได้เงินรวม 1,532 บาท จัดสร้างโรงเรียนขึ้นที่วัดโพธารามโรงหนึ่ง กว้าง 4 วา 2 ศอก ยาว 6 วา 2 ศอก สูง 1 วา 3 ศอกคืบ เสาไม้เต็งรัง พื้นไม้สิงคโปร์ เครื่องบนไม้สัก หลังคามุงสังกะสี ฝาไม้กระยาเลย ทาสีขาว กับทำม้านั่งสำหรับนักเรียนนั่งได้ 2 คน ใช้ไม้กระยาเลยไม้สักรวม 37 ม้านั่งได้คนเดียว 20 ม้า และได้ทำโต๊ะสำหรับวางหนังสือเรียน 22 โต๊ะ ใช้ไม้กระยาเลย และไม้สัก

พ.ศ. 2458 ได้จัดสร้างอาคารเรียนขึ้นใหม่โดยรื้ออาคารหลังเก่าเนื่องจากอาคารหลังแรกชำรุดและคับแคบลง ซึ่งมีพระครูโพธาภิรมย์ (ชื่น) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม เป็นผู้ดำเนินการโดยใช้เงินบริจาค

พ.ศ. 2479 ได้ก่อสร้างอาคารเรียนขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 3 เนื่องจากอาคารเรียนเดิมชำรุด และคับแคบเกินกว่าที่จะรองรับปริมาณนักเรียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วได้ การก่อสร้างครั้งนี้มีพระครูโพธาภิวัฒน์ (เต็ก) เจ้าอาวาสวัดโพธาราม เป็นผู้ดำเนินการโดยก่อสร้างอาคารเรียน 2 ชั้น ใช้เงินบริจาค 9,442.43 บาท และกระทรวงศึกษาธิการจัดสรรงบประมาณสมทบเป็นเงิน 6,000 บาท รวมราคาค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 15,442.43 บาท

พ.ศ. 2483 โรงเรียนยังคงจัดสอนระดับประถมศึกษาอยู่ด้วย ภายหลังได้ทยอยตัดออกไปจนเหลือแต่เพียงระดับมัธยม ซึ่งเปิดสอนชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมปีที่ 4 และได้เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นปีแรก นับเป็นโรงเรียนมัธยมระดับอำเภอแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

พ.ศ. 2513 พื้นที่โรงเรียนในบริเวณวัดโพธารามมีความคับแคบ จึงได้ย้ายเข้ามาอยู่ ณ ตำบลคลองตาคต (ซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบัน) จำนวน 16 ไร่ 1 งาน 20 ตารางวา

รายนามครูใหญ่ / อาจารย์ใหญ่ / ผู้อำนวยการโรงเรียนโพธาวัฒนาเสนี

แก้
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 นายจันทร์ พ.ศ. -
2 นายแปลก คชสุต พ.ศ. -
3 นายใหญ่ สุทธโรจน์ พ.ศ. -
4 ขุนประกาศวุฒิสาร พ.ศ. -
5 ขุนเสตะรัตศึกษาการ พ.ศ. 2460 - 2465
6 ขุนโสตะระศึกษาการ พ.ศ. 2465 - 2470
7 นายไจ๊ อนุมาน พ.ศ. 2470 - 2474
8 นายช้อย ทินเกิด พ.ศ. 2475 - 2482
9 ขุนสุวรรณกูลศึกษากร พ.ศ. 2482 - 2483
10 นายพิพัฒน์ บุญสร้างสม พ.ศ. 2483 - 2491
11 นายไพโรจน์ ผาสุก พ.ศ. 2491 - 2502
12 นายเลื่อน วุฑฒยากร พ.ศ. 2502 - 2509
13 นายมาบ ภูมาศ พ.ศ. 2509 - 2513
14 นายสำเนียง อารีกิจ พ.ศ. 2513 - 2520
15 นายทองอินทร์ เพียภูเขียว พ.ศ. 2520 - 2526
16 นายสุชาติ อำมฤคขจร พ.ศ. 2526 - 2535
17 นายสัมพันธ์ บุญวานิช พ.ศ. 2535 - 2539
18 นายประกิจ ธาราพันธ์ พ.ศ. 2539 - 2540
19 นายวีระ เก็งทอง พ.ศ. 2540 - 2543
20 นายณรงค์ โพธิ์มี พ.ศ. 2543 - 2544
21 นายประพัฒน์ คหินทรพงศ์ พ.ศ. 2544 - 2551
22 นายสมศักดิ์ ฉันทานุรักษ์ พ.ศ. 2551 - 2555
23 นายปรีชา สุคนธมาน พ.ศ. 2555 - 2557
24 นายประทีป จำปาศรี พ.ศ. 2558 - 2558
00 นางสาวจุฑามาศ เกิดแก้วฟ้า พ.ศ. 2558 - 2559 (ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง)
25 นายประทีป จำปาศรี พ.ศ. 2558 - 2561
26 นายวรากุล หงษ์เทียบ พ.ศ. 2561 - 2563
27 นายจรัญ สุขเสรี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้