โรงเรียนสารสาสน์พิทยา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความเรื่อง โรงเรียนสารสาสน์พิทยา ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้เขียนเรื่องนี้หรือต้องการร่วมแก้ไข สามารถทำได้โดยกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน ดูรายละเอียดและวิธีการเขียนได้ที่ โครงการวิกิสถานศึกษา โดยเมื่อแก้ไขแล้วให้นำป้ายนี้ออกได้ |
โรงเรียนสารสาสน์พิทยา (อังกฤษ: Sarasas Pittaya School) เป็นโรงเรียนแห่งแรกของกลุ่มโรงเรียนในเครือสารสาสน์ที่เปิด ทำการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการสอน (Bilingual Program โรงเรียนสองภาษา) ก่อตั้งขึ้นโดยท่านอาจารย์พิบูลย์ ยงค์กมล และท่านอาจารย์ เพ็ญศรี ยงค์กมล เมื่อปี พ.ศ. 2507 และเป็นโรงเรียนแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้ทำการทดลองสอนหลักสูตรสองภาษา (Bilingual Programme) [3] [4] โดยในภายหลังหลักสูตรนี้ได้ถูกนำไปเริ่มใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกที่ โรงเรียนสารสาสน์เอกตรา [3]
โรงเรียนสารสาสน์พิทยา Sarasas Pittaya School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
พิกัด | 13°41′51″N 100°31′49″E / 13.697448°N 100.530242°E |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | สสพ, SSP |
ประเภท | โรงเรียนเอกชน โรงเรียนสามัญศึกษา |
คำขวัญ | AGE QUOD AGIS ทำอะไร ทำจริง |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2507 |
ผู้ก่อตั้ง | พิบูลย์ ยงค์กมล เพ็ญศรี ยงค์กมล [3] [4] |
เขตการศึกษา | 4 [1] |
รหัส | 1110100173 |
ผู้อำนวยการ | จันทร์แก้ว โมคคิริ (ปีการศึกษา 2565 - ปัจจุบัน) [5] |
ระดับชั้น | เตรียมอนุบาล - ม.6 [2] |
จำนวนนักเรียน | 2,904 คน [2] |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน |
สี | ฟ้า ขาว |
สังกัด | สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O.B.E.C.) |
เว็บไซต์ | www.ssp.ac.th |
บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง
แก้โรงเรียนสารสาสน์พิทยามีครูต่างชาติทั้งสิ้น 37 คน และครูไทย 181 คน
ทำเนียบผู้อำนวยการ
แก้อันดับ | รายนาม | วาระดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.) |
---|---|---|
1 | นายมรกต ดุษฏีธรรม | 2507-2508 |
2 | นายพิบูลย์ ยงค์กมล | 2508-2511 |
3 | นางเพ็ญศรี ยงค์กมล | 2512-2522 และ 2527-2535 |
4 | นางเรืองไร หน่ายคอน | 2523-2526 |
5 | ด.ร.สุทธิพงศ์ ยงค์กมล | 2536-2543 |
6 | ด.ร.นันทิภา ยงค์กมล | 2544-2548 |
7 | นางปณิฎฐา กลั่นการบุณ | 2549-2550 |
8 | นางยุวดี พารุ่ง | 2550-2558 |
9 | นางสาวศุภวรรณ หลำผาสุข | 2558-2565 |
10 | นางสาวจันทร์แก้ว โมคคิริ | 2565-ปัจจุบัน |
ข้อมูลปีการศึกษา พ.ศ. 2565
แผนการเรียน - หลักสูตร
แก้แผนกสามัญ
แก้แผนกสามัญของโรงเรียนสารสาสน์พิทยา ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความแตกต่างเหนือกว่าโรงเรียนสามัญอื่น ได้แก่ หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และการเรียน 5 รายวิชาเป็นภาษาอังกฤษ โดยครูไทยและครูต่างชาติ ได้แก่ Mathematics, Health Education, Social Studies, Science และ Art (คณิตศาสตร์, สุขศึกษา, สังคมศึกษา, วิทยาศาสตร์ และศิลปะ)
ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีแบ่งเป็น 3 แผนการเรียน คือ[2]
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (วิทย์คณิต) - เน้นวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาทางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, ชีววิทยา และ เคมี) และยังมีการสอนวิชา วิทยาศาสตร์ทั่วไป
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - อังกฤษ (ศิลป์คำนวณ) - เน้นวิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ โดยจะมีการเรียนกับครูต่างชาติในวิชาภาษาอังกฤษ
- แผนการเรียนคณิตศาสตร์ - จีนกลาง (ศิลป์ภาษา) - เน้นวิชาภาษาจีนกลางเป็นหลัก และมีการเรียนกับครูต่างชาติในวิชาภาษาอังกฤษ
แผนกสองภาษา
แก้แผนก 2 ภาษา (Asean Bilingual Programme) ตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ และเรียนภาษาอังกฤษจากครูชาวต่างชาติ ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, สังคมศึกษา, E.S.L., พลศึกษา, Drama and Club, สุขศึกษา และจริยธรรม โดยจะเน้นให้ผู้เรียนได้สื่อสารและใช้ภาษาอังกฤษกับเจ้าของภาษาโดยตรง อีกทั้งจัดให้มีการสอนภาษาจีน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน เป็นภาษาที่ 3 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 ของทั้งสองแผนก
ในแผนกมัธยมศึกษาตอนปลายมี 1 แผนการเรียนคือ
- แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ (วิทย์คณิต) - โดยจะเน้นวิชาคณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในหลักสูตรภาษาอังกฤษ โดยจะมีการเรียนกับครูต่างชาติในวิชา Science, Mathematics โดยได้มีการสอนวิชา Science, Mathematics เป็นแห่งแรกในโรงเรียนในเครือสารสาสน์ โดยจะทำการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ตำราเรียนจะใช้หลักสูตรของไทย และยังมีการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปเหมือนแผนกสามัญ
อ้างอิง
แก้- ↑ สารธรรม, สนธิ (16 ตุลาคม พ.ศ. 2553). "สู่ฟ้าใหม่ แผ่นดินใหม่: จาก'ไทยโพสต์'ถึง'สารสาสน์'". อาร์วายทีไนน์. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "Fact sheet". หาโรงเรียนให้ลูก. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 3.0 3.1 3.2 "ประวัติ โรงเรียน". เว็บไซต์โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเอกตรา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-20. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 แซ่ตั้ง, สุพร (มกราคม พ.ศ. 2555). "สารสาสน์ ยุคทอง สองภาษา". ผู้จัดการ. นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-23. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "สุวรรณสมโภช รร.สารสาสน์พิทยา". อาร์วายทีไนน์. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. 28 มีนาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help)