โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์

โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนสตรีในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในปี พ.ศ. 2551 ได้ฉายานามว่าเป็น "โรงเรียนหมายเลขสอง" โดยผู้ที่เข้าเรียนจะเรียกว่า "พลเมืองหมายเลขสอง" โดยฉายานี้มีที่มาจากโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่บุตรี เผือดผ่องศึกษาอยู่

โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์
Satree Wat Mahapruttaram Girls' School under the Royal Patronage of her Majesty the Queen
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.พ.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญธมฺเมน กิตฺติ ปปฺโปติ
บุคคลย่อมได้เกียรติ เพราะประพฤติธรรม
สถาปนา3 ธันวาคม พ.ศ. 2461
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
ผู้อำนวยการนางสาวระวีวรรณ เลขนาวิน
ระดับปีที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
จำนวนนักเรียน2,142 คน
สี   กรมท่า-ฟ้า
เพลงเพลงมาร์ชมหาพฤฒาราม โดย วงดนตรีสุนทราภรณ์
เว็บไซต์www.mps.ac.th

ประวัติโรงเรียน

แก้
  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2461 เปิดสอนครั้งแรก โดยทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียน 109 คน อาจารย์ 3 คน และมี นางสุภาพ ตีระนันทน์ เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้เพิ่มชั้นเรียนตามลำดับ จากชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงมัธยมปีที่ 8 แต่ต่อมาได้ทำการยุบชั้นมัธยมปีที่ 7 – 8 ตามแผนการศึกษาของชาติสมัยนั้น

พ.ศ. 2514 เปลื่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม

พ.ศ. 2518 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับสมาคมสตรีมหาพฤฒาราม และโรงเรียนสตรีมหาพฤฒารามเข้าอยู่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยโรงเรียนได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าฯ จากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโรงเรียนถึง 3 ครั้ง

    • ครั้งแรก 10 กันยายน พ.ศ. 2499 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเป็นการส่วนพระองค์
    • ครั้งที่สอง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานพิธีเปิดหอประชุมและอาคารเรียน
    • ครั้งที่สาม 1 มีนาคม พ.ศ. 2511 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานฉลองครบ 50 ปี ของโรงเรียน

พ.ศ. 2539 เปลื่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตามความประสงค์ของกรมสามัญศึกษาเพื่อความเหมาะสม

พ.ศ. 2544 ได้เร่งพัฒนาทางด้านวิชาการ พร้อมกับการพัฒนาของโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมเต็มที่ในการปฏิรูปการศึกษา โดยเร่งส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนสนับสนุนให้มีครูแกนนำ ครูต้นแบบ ครูแห่งชาติ ฯลฯ ตลอดจนการระดมสรรพกำลังจากชุมชนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนมีการเน้นการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน และพัฒนาครูอาจารย์ด้านทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ฝึกให้นักเรียนคิดและปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา

ผู้อำนวยการโรงเรียน

แก้
  1. นางสุภาพ ตีระนันท์ (พ.ศ. 2461-2486)
  2. นางเสนาะจิต สุวรรณโพธิ์ศรี (พ.ศ. 2486-2496)
  3. นางระเบียบ ลิมอักษร (พ.ศ. 2496-2497)
  4. คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฎ (พ.ศ. 2497-2511)
  5. คุณหญิงสนองนาฏ จารุดิลก (พ.ศ. 2511-2525)
  6. นางวิเชียร สามารถ (พ.ศ. 2525-2533)
  7. นางสุมาลี รัตนปราการ (พ.ศ. 2533-2537)
  8. นางผ่องศรี เกษมสันต์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2537-2539)
  9. นางสมใจ ไกรยูรวงศ์ (พ.ศ. 2539-2541)
  10. นายประวิทย์ พฤทธิกุล (พ.ศ. 2541-2543)
  11. นางสาวเฟื่องฟ้า ประดิษฐพจน์ (พ.ศ. 2543 - 2544)
  12. นางรัตนา เชาว์ปรีชา (พ.ศ. 2544 - 2551)
  13. นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ (พ.ศ. 2551 - 2554)
  14. นายธีระพงศ์ นิยมทอง (พ.ศ. 2554 - 2557)
  15. นางอาลัย พรหมชนะ (พ.ศ. 2557 - 2562)
  16. นางสาวระวีวรรณ เลขนาวิน (พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

แก้
 
ดอกบัวหลวง สัญลักษณ์ของโรงเรียน

"พึงถือดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ประจำ ยึดมั่นในอุดมคติที่จะนำเหล่าหนึ่งในดอกบัวหลวง ให้ผุดพ้นสายธาร บานรับแสงรวีได้ในการต่อไป"

ความหมายของสีประจำโรงเรียน

แก้
  • กรมท่า   หมายถึง ความมั่นคง และความสงบสุข
  • ฟ้า   หมายถึง ความรุ่งโรจน์ และความสดใส

รายละเอียดภายในโรงเรียน

แก้

ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) และช่วงชั้นที่ 4 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6) จัดการศึกษาเฉพาะนักเรียนหญิง มีเนื้อที่ 5 ไร่ 65.86 ตารางวา มีอาคารเรียนถาวรเป็นตึก 5 หลัง

  • อาคาร 1 (ตึกโสณบัณฑิต) อาคาร 4 ชั้น
  • อาคาร 2 (ตึกพิทยลาภ) อาคาร 4 ชั้น
  • อาคาร 3 (ตึกศรีพฤฒา) อาคาร 5 ชั้น
  • อาคาร 4 (ตึกสมจิตต์) อาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นหอประชุม ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร
  • อาคาร 5 (ตึกคหกรรม) อาคาร 4 ชั้น
  • อาคาร 6 (อาคารรวมน้ำใจ) อาคาร 4 ชั้น อาคารสร้างใหม่ปี พ.ศ. 2540

โรงเรียนมัธยมศึกษาใกล้เคียง

แก้

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°43′55″N 100°30′59″E / 13.7319855°N 100.5164534°E / 13.7319855; 100.5164534