โรงเรียนยางวิทยาคม

โรงเรียนยางวิทยาคม เป็นโรงเรียนประจำตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ภายใต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ สหวิทยาเขต บรบือ

โรงเรียนยางวิทยาคม
Yangwitthayakhom School

Yangwitthayakhom School
ตราประจำโรงเรียน
ที่ตั้ง
25 หมู่ 6 ถนนไทย - นิวซีแลนด์ ตำบลยาง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม 44130
ข้อมูล
ชื่ออื่นย.ว. Y.W.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล - โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก
คำขวัญความรู้ คู่คุณธรรม
สถาปนาพ.ศ. 2536
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1044410609
ผู้อำนวยการนางพิศมัย จำนงพิศ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
เพลงมาร์ชยางวิทยาคม
เว็บไซต์sites.google.com/a/ses26.go.th/ayang/

ประวัติโรงเรียน

แก้

โรงเรียนยางวิทยาคม ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ. 2536 เป็นสาขาของโรงเรียนดงใหญ่วิทยาคม รัชมังคลาภิเษก แรกเริ่มมีจำนวนนักเรียน 90 คนโดยมี นายสังคม โคตรสีเขียว เป็นผู้ประสานงาน

ปี พ.ศ. 2540 วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา มีชื่อว่า โรงเรียนยางวิทยาคม โดยมี นายสังคม โคตรสีเขียว เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก

ปัจจุบันมีโรงเรียนได้เปิดทำการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ [1]

สัญลักษณ์

แก้
  • อัฒลักษณ์ ความรู้ คู่คุณธรรม
 
ป้ายหน้าโรงเรียน

ทำเนียบผู้บริหาร

แก้
ลำดับที่ รายนาม วาระการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 นายสังคม โครตสีเขียว 2536 - 2540 ผู้ประสานงาน
2 นายสังคม โครตสีเขียว 2540 - 2545 อาจารย์ใหญ่, ผู้อำนวยการ
3 นายมนูญ เพชรมีแก้ว 2546 - 2550 ผู้อำนวยการ
4 นายนิพนธ์ ยศดา 2550 - 2556 ผู้อำนวยการ
5 นางพิศมัย จำนงพิศ 2556 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

อาคาร สถานที่

แก้

ประกอบด้วยอาคารเรียนถาวร 3 หลัง อาคารอเนกประสงค์ โรงอาหาร สนามฟุตบอล[2]

การจัดการศึกษา

แก้

หลักสูตร

แก้

โรงเรียนยางวิทยาคมเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 (ช่วงชั้นที่ 3-4) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวมแปดกลุ่ม คือ

  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

แผนการเรียน

แก้
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติโรงเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-15. สืบค้นเมื่อ 2018-02-26.
  2. ข้อมูลสิ่งก่อสร้างโดย obec[ลิงก์เสีย]

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้