โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา

โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่ โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ต้นแบบในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา
Buddhakosaiwidthaya School
ที่ตั้ง
พิกัด18°08′39″N 100°08′24″E / 18.144121°N 100.1399295°E / 18.144121; 100.1399295
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ว.
ประเภทปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
คำขวัญเราเรียนเพื่อเป็นคนดี
วายเม เถว ปุริโส
(บุรุษพึงมีความพยายาม)
ก่อตั้งปี 2500
ผู้ก่อตั้งพระมหาโพธิวงศาจารย์
(สุจี กตสาโร)
รหัส7054010601
ผู้อำนวยการพระครูวิจิตรสรคุณ
ผู้บริหารพระราชเขมากร
สี   สีขาว-สีเหลือง
เพลงมาร์ชพุทธโกศัย
สังกัดมหาเถรสมาคม
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เว็บไซต์https://www.kosaischool.ac.th

สังกัดมหาเถรสมาคม กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ 37

ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2500 ตั้งอยู่เลขที่ 16 ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (สุจี กตสาโร) หรือหลวงปู่จี๋ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่

ข้อมูลทั่วไป

แก้

ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร จังหวัดแพร่ (โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ต้นแบบในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) ตั้งอยู่เลขที่ 16 ถนนเจริญเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ รหัสไปรษณีย์ 54000 สังกัดมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

  • เปิดสอนตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 6
  • เขตพื้นที่ติดต่อ
    • ทิศเหนือ ติดกับ ถนนเจริญเมืองโดยมีที่ทำการไปรษณีย์อำเภอเมืองแพร่ สำนักงานที่ดินอยู่ฝั่งตรงข้าม
    • ทิศใต้ ติดกับ โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่
    • ทิศตะวันตก ติดกับ ถนนคุ้มเดิม และมีสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ ร.9
    • ทิศตะวันออก ติดกับ ตึกแถวร้านค้าพาณิชย์

ประวัติสถานศึกษา

แก้

โรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ “โรงเรียนธรรมราชวิทยา” เริ่มก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2500 โดยมี พระภัทรสารมุนี (สุจี กตสารมหาเถระ) (: พระมหาโพธิวงศาจารย์) เป็นผู้ก่อตั้ง พระครูวิชิตวินัยการ เป็นผู้จัดการ พระอินจันทร์ สีเหลือง เป็นครูใหญ่ จัดการเรียนการสอนทั้งแผนกธรรม และแผนกบาลี

  • ปีพุทธศักราช 2507 ทางมหาเถรสมาคมมีมติให้ยุบโรงเรียนบาลีมัธยมศึกษาที่มีอยู่ทั้งหมดทั่วประเทศ โรงเรียนธรรมราชวิทยาก็ถูกสั่งยุบไปด้วย
  • ปีพุทธศักราช 2508 ได้จัดตั้งเป็นโรงเรียนสาธิต สาขามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แต่ต่อมากรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มิให้นักเรียนที่จบชั้นสูงสุด สอบสมทบชั้นสุดประโยค (ป.๗ และ ม.ศ.3)
  • ปีพุทธศักราช 2513 – 2517 ทางกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุญาตจัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ในช่วงปีพุทธศักราช 2517 ถึงปีพุทธศักราช 2519 ได้มีการจัดการศึกษาทั้งแบบศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพระปริยัติธรรมควบคู่กันไป
    • มีอาคารทำการซึ่งได้รับการอนุเคราะห์สร้างถวายโดย นายห้างกมล สุโกศล ตั้งชื่อว่า “อาคารกมลสุโกศล” เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 16 ห้องเรียน มีพระภิกษุและสามเณรเข้าศึกษาประมาณ 500 - 700 รูป และมีอาคารยาขอบเป็นที่ทำการ
    • ได้มีการเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น ป.5 ถึง ม.ศ.3 ควบคู่ไปกับการศึกษาผู้ใหญ่ระดับ 4
  • ปีพุทธศักราช 2519 จัดการศึกษาแบบพระปริยัติธรรมอย่างเดียว โดยยุบโรงเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ออก คงเหลือแต่การเปิดการเรียนการสอนแบบพระปริยัติธรรมระดับ ม.ศ.1 ถึง ม.ศ.3 (ปัจจุบัน : มัธยมศึกษาตอนต้น)
  • ปีพุทธศักราช 2520 - 2525 เปิดทำการเรียนการสอนเฉพาะพระปริยัติธรรมระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ปีพุทธศักราช 2526 เปิดทำการเรียนการสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงพัฒนาโรงเรียนจนกระทั่งมีการบริหารจัดการที่เป็นแบบสากลทั่วไป คือ กระจายอำนาจการบริหารจัดการออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายงบประมาณและบุคคล และฝ่ายบริหารงานทั่วไป

หลักสูตรที่เปิดสอน

แก้

อาคารเรียน

แก้
 
ภาพอาคารเรียนตึกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

มีอาคารเรียนจำนวน ๒ หลังได้แก่

  • 1.ตึกสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

เป็นอาคาร ๕ ชั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ปัจจุบันใช้เป็นอาคารหลักในการจัดการเรียนการสอนเป็นหลัก

  • 2.ตึกเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ๓๐ ปี

เป็นอาคาร ๔ ชั้น

    • ชั้นที่ ๑ เป็นสถานที่ประกอบภัตตาหารพระราชทาน และ ฉันภัตตาหารของพระภิกษุสามเณรนักเรียน
    • ชั้นที่ ๒ เป็นห้องประชุม สำหรับใช้ในการประชุม สัมมนา และอบรมต่าง ๆ
    • ชั้นที่ ๓ เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
    • ชั้นที่ ๔ เป็นห้องพระบาลี เน้นกิจกรรมด้านการเรียนการสอนบาลีนักธรรม ปฏิบัติธรรม และจัดอบรมทางพระพุทธศาสนา

รายนามผู้บริหารโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา

แก้
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 พระอินจันทร์ สีเหลือง พ.ศ. 2500 – 2507
2 พระราชปริยัตยาภรณ์ พ.ศ. 2513 - 2540
3 พระครูวิมลกิตติสุนทร พ.ศ. 2541 - 2544
4 พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ พ.ศ. 2544 - 2546
5 พระมหาวรพงษ์ ยสชาโต พ.ศ. 2546 - 2550
6 พระวิมลกิจจาภรณ์ พ.ศ. 2550 - 2558
7 พระครูวิจิตรปริยัตยาทร พ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน

ผู้บริหารปัจจุบัน

แก้
รูป รายนาม ตำแหน่ง
 
ท่านเจ้าคุณพระราชเขมากร ดร. [note 1] ผู้จัดการสถานศึกษา
 
ท่านเจ้าคุณพระโกศัยเจติยารักษ์ ดร. [note 2] ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา
 
พระครูวิจิตรปริยัตยาทร[note 3][note 4] ผู้อำนวยการสถานศึกษา

ความภาคภูมิใจของสถานศึกษา

แก้
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจาก สมศ.ทั้งในปี พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2549
  • ได้รับรางวัล “โรงเรียนพระปริยัติธรรมดีเด่น” ในปี พ.ศ. 2547
  • ได้เข้าเป็นโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในปี พ.ศ. 2550
  • ได้รับทุนสนับสนุนโรงเรียนส่งเสริมคุณธรรมดีเด่นจากสำนักงานป้องกันและปราบปราบทุจริตแห่งชาติ ประจำปี 2551 – 2555
  • ได้รับรางวัลชนะเลิศ “โรงเรียนแห่งการเรียนรู้”ของ สพป.แพร่ เขต 1 ในปี พ.ศ. 2553
  • โรงเรียนคุณธรรมดีเด่นระดับประเทศ ในปี พ.ศ. 2554 – 2555
  • ได้รับรางวัลเหรียญทองระดับประเทศ ในการแข่งขันเขียนกระทู้ธรรม และ บรรยายธรรมะ ในปี พ.ศ. 2553 และ 2554
  • เป็นตัวแทนโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง ระดับจังหวัดแพร่ เข้าแข่งขันโรงเรียนพระราชทานระดับกลุ่มจังหวัด
  • ได้รับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาส ทรงทอดพระเนตรผลงานการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนพุทธโกศัยวิทยา จังหวัดแพร่ ในปี พ.ศ. 2553 และในปีการศึกษา 2555 ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาในโครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ศิษย์เก่า

แก้
  • พระครูโสภณพัฒนานุยุต ผศ.,ดร. อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • พระมหาสิทธิชัย ชะยะสิทฺธิ ดร. เปรียญธรรม ๙ ประโยค สูงสุดของการศึกษาบาลี
  • พระครูโสภณปัญญาธร ประธานกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ ๖
  • นายมาโนชย์ คำสี วัฒนธรรมจังหวัดแพร่
  • รองศาสตราจารย์รวีโรจน์ ศรีคำภา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่
  • นายกุญชร สารดี อนุศาสนาจารย์ประจำเรือนจำกลางจังหวัดแพร่
  • นายสุทธิพันธ์ ทองไหล นายกเทศบาลตำบลป่าแมต ข้าราชการบำนาญกระทรวงสาธารณสุข
  • นายสันติ กำยาน ผู้อำนวยการระดับ 9 ข้าราชการบำนาญ
  • ร.ต.อ.นพดล วัชรกิจโสภณ รองสารวัตรป้องกันปราบปราม สภ.เมืองแพร่
  • พ.ต.ต.ประกิต ผัดขัน พนักงานสืบสวนผู้ชำนาญการ สภ.เมืองแพร่

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. ชื่อ/สมณศักดิ์ เดิม พระเมธีธรรมาลังการ ดร. (ประยุทธ ภูริทตฺโต)
  2. ชื่อ/สมณศักดิ์ เดิม พระครูวิมลกิตติสุนทร ดร. (วิชาญ กิตฺติปญฺโญ)
  3. ชื่อ/สมณศักดิ์ เดิม พระครูวิจิตรสรคุณ (ถาวร ธัมมถาวโร)
  4. พระราชทานตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระอารามหลวงชั้นเอก ในวันพฤหัสบดี ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 >> http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/563156