โรงเรียนบรบือวิทยาคาร

โรงเรียนบรบือวิทยาคาร เป็นโรงเรียนประจำอำเภอแห่งแรกในอำเภอบรบือ (อังกฤษ: Borabu Wittayakhan school,อักษรย่อ บ.ค. BWK) อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา รูปแบบสหศึกษา ปัจจุบันจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จัดการเรียนการสอนในสายสามัญ ตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 3 - 4 (ม.1 - 6) ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ และเป็นทำการเรียนการสอนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Gifted Program) ของ สสวท โรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนรวมทุกระดับชั้นประมาณ 2,522 คน บุคลากรทางการศึกษาอีกประมาณ 120 คน

โรงเรียนบรบือวิทยาคาร
Borabu Wittayakhan school
ตราประจำโรงเรียนบรบือวิทยาคาร
ตราสัญลักษณ์โรงเรียนบรบือวิทยาคาร
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ค./B.W.K.
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญนตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา(แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี)
สถาปนา7 เมษายน พ.ศ. 2514
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส10440602
ผู้อำนวยการนางสาวธิติสุดา แก้วหาญ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษา
สี███ สีเขียว
███ สีขาว
เพลงมาร์ชบรบือวิทยาคาร
เว็บไซต์http://www.bwk.ac.th
เยี่ยมชมเว็บไซต์โรงเรียนบรบือวิทยาคารได้ที่ [1]

อาณาเขต แก้

  • ทิศเหนือติดกับถนนแจ้งสนิท
  • ทิศใต้ ติดกับชุมชนและที่ดินส่วนบุคคล
  • ทิศตะวันตก ติดกับที่ดินส่วนบุคคล
  • ทิศตะวันออก ติดกับที่ดินส่วนบุคคล

ประวัติโรงเรียน แก้

โรงเรียนบรบือวิทยาคาร เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2514 ตั้งอยู่เลขที่ 59 ถนนแจ้งสนิท หมู่ที่ 3 คุ้มศรีพิลา ตำบลหนองสิม อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม เนื้อที่ทั้งหมด 50 ไร่ ปีแรกได้รับอนุมัติให้เปิด 2 ห้องเรียน โดยอาศัยอาคารเรียนชั่วคราว ของโรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราฏร์ผดุง) เป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ปีงบประมาณ 2515 โรงเรียนได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารและอาคารประกอบรวม 1 ชุด จึงทำให้ย้ายนักเรียนจาก โรงเรียนบ้านบรบือ (บรบือราษฎร์ผดุง) มาตั้งอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน

ปีการศึกษา 2538 โรงเรียนได้ทำการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 พร้อมทั้งเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน โดยในปีการศึกษา 2538 นี้ โรงเรียนบรบือวิทยาคาร ได้เปิดสอนจำนวน 50 ห้องเรียน ปวช. 2 ห้องเรียน รวม 52 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,229 คน และคณะครู - อาจารย์ จำนวน 83 คน ขณะนั้นได้มีท่านผู้อำนวยการ พงษ์สวัสดิ์ ลาภบุญเรือง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 8

ปีการศึกษา 2542 กิจการของโรงเรียนพัฒนาเป็นอย่างมาก อาทิ ด้านอาคารสถานที่ ด้านสื่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน ด้านบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น โดยได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียน ตลอดจนองค์กรของภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างมาก ทำให้เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง และมีนักเรียนจากที่ต่างๆ ประสงค์ที่จะเข้าเรียนที่โรงเรียนบรบือวิทยาคารเป็นจำนวนมากโดยในปีการศึกษา 2542 นี้ โรงเรียนบรบือวิทยาคารได้ทำการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 มีจำนวน 54 ห้องเรียน และ ปวช. จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 59 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 2,808 คน คณะครู - อาจารย์ 83 คน ขณะนั้นมีท่านผู้อำนวยการ ทองม้วน สิงห์สู่ถ้ำ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 9

ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนได้เปิดสอนจำนวน 57 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,237 คน และ คณะครู - อาจารย์ จำนวน 87 คน โดยมีท่านผู้อำนวยการ ไพบูลย์ อนุแสน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 8

ปีการศึกษา 2546 เมื่อมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 โรงเรียนบรบือวิทยาคาร ได้ยุบรวมเข้ามาอยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 3 - 4 จำนวน 53 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,340 คน และ คณะครู - อาจารย์ จำนวน 88 คน โดยมีท่านผู้อำนวยการ พิศิษฐ์ วรรณศรี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนระดับ 8 ตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เป็นคนยที่ 11 ของโรงเรียนบรบือวิทยาคาร จนกระทั่งปัจจุบัน

ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบรบือวิทยาคารได้ปรับโครงสร้างการบริหาร เป็น 4 กลุ่มงานได้แก่ กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารบุคคลและทั่วไป และกลุ่มบริหารกิจการนักเรียน โดยใช้กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารที่ ชัดเจน และโรงเรียนยังได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้ได้รับรางวัลชมเชย โรงเรียนรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษา ขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2550 ในปีการศึกษา 2552 นี้โรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 และยังเปิดสอนโปรแกรมภาษาอังกฤษ MEP(Mini English Program) โดยได้จัดแผนชั้นเรียนเป็น 10 - 10 - 12 / 9 - 8 - 7 รวม 56 ห้องเรียน มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,330 คน ครู-อาจารย์ 101 คน ครูอัตราจ้าง 3 คน บุคลากรทางการศึกษา 6 คน และ พนักงานราชการ 2 คน นักการภารโรง 3 คน ยาม 1 คน พนักงานขับรถ 1 คนคน ลูกจ้างชั่วคราว 4 คน เจ้าหน้าที่งานต่างๆ 2 คน โดยได้รับการพัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ โดยท่านผู้อำนวยการ พิศิษฐ์ วรรณศรี ผู้อำนวยการวิทยะฐานะเชี่ยวชาญ

ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเปิดช่วงชั้นที่ 3-4 โดยเปิดสอนหลักสูตรห้องเรียน วิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์, หลักสูตรห้องเรียนคณิตศาสตร์ - ภาษา, หลักสูตรตามโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, หลักสูตรตามโครงการห้องเรียนพันธมิตรโดยความร่วมมือของสถาบันปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จำนวน 2 หลักสูตร คือ 1.หลักสูตรศิลป์การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ และ 2.หลักสูตรวิทย์-คณิต (เตรียมวิศวกรรม) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. โดยมี ดร.ปรีชา การสอาด ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โดยย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบรบือวิทยาคาร เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2566

การจัดการศึกษา แก้

  • โรงเรียนบรบือวิทยาคารเปิดให้การศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 (ช่วงชั้นที่ 3 - 4) และ ปวช. ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แผนการศึกษาแห่งชาติ
  • ปัจจุบัน องค์กรหลักของสถานศึกษาที่มีหน้าที่จัดการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ รวม 9 กลุ่ม คือ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้พลศึกษาและสุขศึกษา
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  • กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
  • กลุ่มงานพาณิชยกรรม

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน แก้

ลำดับ รายนามผู้บริหารโรงเรียน ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 นายประภาส ทองภูธร พ.ศ. 2514 ครูใหญ่
2 นายบุญมา พุดเขียว พ.ศ. 2515 - 2524 อาจาย์ใหญ๋
3 นางสาวชื่นจิตร สุวรรณปักษ์ พ.ศ. 2525 ผู้อำนวยการ
4 นายพินิจ พระศรี มิถุนายน - สิงหาคม พ.ศ. 2525 รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ
5 นายสุจินต์ จงจิตต์ พ.ศ. 2525 - 2526 ผู้อำนวยการ
6 นายพงษ์สวิสดิ์ ลาภบุญเรือง พ.ศ. 2526 - 2538 ผู้อำนวยการ
7 นายท้องม้วน สิงห์สู่ถ้ำ พ.ศ. 2538 - 2543 ผู้อำนวยการ
8 นายไพบูลย์ อนุแสน พ.ศ. 2543 - 2544 ผู้อำนวยการ
9 นายประกาย บัตรศิริมงคล พ.ศ. 2544 - 2547 ผู้อำนวยการ
10 นางสุมาลย์ สุรมณี พ.ศ. 2547 - 2549 ผู้อำนวยการ
11 นายพิศิษฐ์ วรรณศรี พ.ศ. 2549 - 2555 ผู้อำนวยการ
12 ดร.มนูญ เพรชมีแก้ว พ.ศ. 2555 - 2556 ผู้อำนวยการ
13 นายมนูญชัย ทัพเจริญ พ.ศ. 2556 - 2558 ผู้อำนวยการ
14 นายประเทือง พลเสนา พ.ศ. 2558 - 2561 ผู้อำนวยการ
15 ดร.สมทรัพย์ ภูโสดา พ.ศ. 2561 - 2566 ผู้อำนวยการ
16 ดร.ปรีชา การสอาด พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้