ศาลเจ้าโชเซ็ง

ศาลเจ้าในกรุงโซล เกาหลีใน ค.ศ. 1925–1945 ในสมัยการปกครองของญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก โชเซ็งจิงงู)

ศาลเจ้าโชเซ็ง (ญี่ปุ่น: 朝鮮神宮โรมาจิChōsen Jingū; เกาหลี조선신궁; ฮันจา朝鮮神宮) เป็นศาลเจ้าชินโตที่สำคัญที่สุดในประเทศเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1925 ถึง 1945 ในสมัยการปกครองของญี่ปุ่น

ศาลเจ้าโชเซ็ง
บันไดทางเข้าศาลเจ้าจากโปสการ์ด (ป. คริสต์ทศวรรษ 1930)
ศาสนา
ศาสนาชินโต
เทพคูนิตามะโอกามิ
อามาเตราซุโอกามิ
ที่ตั้ง
พิกัดภูมิศาสตร์37°33′13″N 126°58′58″E / 37.55361°N 126.98278°E / 37.55361; 126.98278
แผนที่ ที่ตั้งในอดีตเทียบกับโซลสมัยใหม่
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
조선신궁
ฮันจา
อาร์อาร์Joseon Singung
เอ็มอาร์Chosŏn Singung
อภิธานศัพท์ชินโต

อิโจ ชูตะ สถาปนิกและนักประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมชื่อดังที่มีส่วนในการสร้างศาลเจ้าเมจิ ก็มีส่วนในการวางแผนสร้างศาลเจ้านี้ด้วย

ที่ตั้งของอดีตศาลเจ้าปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของสวนนัมซาน

เบื้องหลัง

แก้
 
พื้นที่ศาลเจ้ามองจากท้องฟ้า ป. คริสต์ทศวรรษ 1920

หลังญี่ปุ่นผนวกเกาหลีใน ค.ศ. 1910 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการตามนโยบายกระบวนการกลายเป็นญี่ปุ่น (Japanization) ซึ่งรวมไปถึงการสักการะที่ศาลเจ้าชินโต เช่นเดียวกันกับการแสดงออกทางการเมืองต่อความรักประเทศชาติเป็นข้อปฏิบัติทางศาสนา[1][2] ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 นักเรียนในโรงเรียนจะต้องเข้าไปในศาลเจ้าชินโต และใน ค.ศ. 1935 มีการบังคับให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยและข้าราชการจะต้องเข้าร่วมพิธีศาสนาชินโต[3][4] จนถึง ค.ศ. 1945 มีศาลเจ้าในเกาหลีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐชินโต (State Shinto) รวม 1,140 แห่ง[3]

โองาซาวาระ โชโซะ [ja] เป็นผู้สนับสนุนให้พยายามใช้แนวคิดโอกูนิตามะ [simple; ja] เพื่อผสานความเชื่อศาสนาญี่ปุ่นและเกาหลี บางคนระบุพระเจ้าทันกุนเข้ากับซูซาโนโอะ-โนะ-มิโกโตะ รัฐบาลไม่ต้องการแสดงจุดยืนในเรื่องการบรรจุโอกูนิตามะทั่วไปไว้ที่โชเซ็งจิงงู เพื่อให้ผู้ศรัทธาสามารถตีความในแบบของตนเอง[5] โองาซาวาระ โชโซะ [ja] เป็นผู้สนับสนุนจุดยืนนี้อย่างหนักแน่น และการสนับสนุนของเขาเกี่ยวข้องกับการสถาปนาโอกูนิตามะทั้งที่โชเซ็นจิงงุและศาลเจ้าเคโจ [simple; ko; ja][5]

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐที่โชเซ็งจิงงูไม่อนุญาตให้โอกูนิตามะตรงนั้นมีชื่อเรียกว่า "โชเซ็นโอกูนิตามะ" และความเชื่อท้องถิ่นพระเจ้าทันกุนถูกปราบปรามลงเพื่อหันไปบูชาอามาเตราซุในศาลเจ้าแทน[5]

ประวัติ

แก้

โชเซ็งจิงงูถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1925 ที่ยอดเขานัมซานในเมืองเคโจ และทำพิธีบูชาในเดือนตุลาคม[6] โดยอุทิศแด่เทพีอามาเตราซุกับจักรพรรดิเมจิ[6] ตัวอาคารมีรูปแบบสถาปัตยกรรมชินเม-ซูกูริตามศาลเจ้าอิเซะ[7][8]

การบูชาที่ศาลเจ้าเพิ่มมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 หลังรัฐบาลเริ่มบังคับให้ผู้คนเข้าชมที่นี่[5][6] ทำให้ศาลเจ้าและที่อื่น ๆ กลายเป็นเป้าหมายความขุ่นเคือง หลังการปลดปล่อยเกาหลีใน ค.ศ. 1945 ภายในไม่กี่วัน มีศาลเจ้าหลายแห่งที่ถูกเผาทำลาย[6]

กลุ่มชาติพันธุ์เกาหลีเสนอให้เข้ามารับช่วงการบูชาโอกูนิตามะต่อหลังสงครามและเปลี่ยนศาลเจ้าไปเป็นศาลที่บูชาพระเจ้าทันกุน แต่รัฐบาลใหม่ปฏิเสธ[5] โองาซาวาระ [ja]ก็เสนอระบบที่ชาวญี่ปุ่นในอาณานิคมถูกมองเป็นอามัตสึกามิและชนพื้นเมืองมองเป็นคูนิตสึกามิ[5]

หลังคำประกาศยอมจำนนของญี่ปุ่นในวันที่ 15 สิงหาคม ในช่วงบ่ายวันนั้นได้มีพิธีเคลื่อนย้ายองค์เทพที่ประดิษฐานอยู่[6] รัฐบาลทหารของกองทัพสหรัฐในเกาหลีพิจารณาให้ศาลเจ้านี้เป็น "ทรัพย์สินศัตรู"[6]

โชเซ็งจิงงูจึงถูกทำลายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945[2][9] พื้นที่อดีตศาลเจ้าปัจจุบันกลายเป็นส่วนหนึ่งของสวนนัมซาน[10] และใน ค.ศ. 1970 ได้มีการสร้าง "อนุสรณ์สถานรักชาติ อัน จุง-กึน" ในบริเวณที่เคยเป็นศาลเจ้า เพื่อยกย่องอัน จุง-กึน ผู้ลอบสังหารอิโต ฮิโรบูมิ ผู้ตรวจราชการชาวญี่ปุ่นคนแรก[2][9][6] และมีการติดตั้งอนุสรณ์คิม กู นักเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพอีกคนหนึ่งด้วย[6]

รายละเอียด

แก้

ศาลเจ้านี้มีความยาวเป็นแกนตรงประมาณ 500 เมตร (1,600 ฟุต)* ศาลเจ้าหลักอยู่ที่ปลายสุดจากทางเข้า[6]

ภาพ

แก้
 
ทางขึ้นบันไดอีกมุมหนึ่ง
ทางขึ้นบันไดอีกมุมหนึ่ง 
 
ข้างหน้าศาลเจ้า (โปสการ์ดญี่ปุ่นร่วมสมัย)
ข้างหน้าศาลเจ้า (โปสการ์ดญี่ปุ่นร่วมสมัย) 
 
ภาพมุมสูง (โปสการ์ดญี่ปุ่นร่วมสมัย)
ภาพมุมสูง (โปสการ์ดญี่ปุ่นร่วมสมัย) 
 
การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มฝ่ายซ้ายในบริเวณที่ตั้งอดีตศาลเจ้าเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 ประตูศาลเจ้ายังคงตั้งตระหง่านอยู่ในภาพ
การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มฝ่ายซ้ายในบริเวณที่ตั้งอดีตศาลเจ้าเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 ประตูศาลเจ้ายังคงตั้งตระหง่านอยู่ในภาพ 

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Sung-Gun Kim (1997). "The Shinto Shrine Issue in Korean Christianity under Japanese Colonialism". Journal of Church and State. 39 (3): 503–521. doi:10.1093/jcs/39.3.503.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 2.2 Wakabayashi, Ippei. "Ahn Jung-geun and the Cultural Public Sphere" (PDF). Bunkyo University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 June 2011. สืบค้นเมื่อ 31 March 2011.
  3. 3.0 3.1 Grayson, James H. (1993). "Christianity and State Shinto in Colonial Korea: A Clash of Nationalisms and Religious Beliefs". Diskus. British Association for the Study of Religions. 1 (2): 13–30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-27.
  4. Wagner, Edward W.; และคณะ (1990). Korea Old and New: A History. Harvard University Press. p. 315. ISBN 0-9627713-0-9.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 Kōji, Suga; 𳜳𨀉𠄈 (2010). "A Concept of "Overseas Shinto Shrines": A Pantheistic Attempt by Ogasawara Shōzō and Its Limitations". Japanese Journal of Religious Studies. 37 (1): 47–74. ISSN 0304-1042.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 "東アジアの都市における歴史遺産の保護と破壊――古写真と旅行記が語る近代――". www.gakushuin.ac.jp. สืบค้นเมื่อ 2023-10-09.
  7. "Chōsen Jingū". Genbu.net. สืบค้นเมื่อ 31 March 2011.
  8. Hiura, Satoko (2006). "朝鮮神宮と学校 : 勧学祭を中心に". Japan Society for the Historical Studies of Education. National Institute of Informatics. 49: 110–112.
  9. 9.0 9.1 Keene, Donald (2002). Emperor of Japan: Meiji and his World, 1852-1912. Columbia UP. pp. 664ff. ISBN 9780231123402.
  10. Grisafi, John G (September 2016). "Shintō in Colonial Korea: A Broadening Narrative of Imperial Era Shintō". Academia.edu. University of Pennsylvania. สืบค้นเมื่อ 13 June 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

(ในภาษาญี่ปุ่น) Chōsen Jingū (plan and photographs)