แฮโลเพริดอล (Haloperidol) หรือชื่อทางการค้าคือ แฮลดอล (Haldol) เป็นยาระงับอาการทางจิต[3] ใช้ในการรักษาโรคจิตเภท, รักษาอาการทิสท์ในผู้ป่วยโรคทูเร็ตต์, รักษาอาการฟุ้งพล่านในผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว, รักษาอาการคลื่นไส้และอาเจียน, รักษาอาการเพ้อ, รักษาภาวะกายใจไม่สงบ, รักษาโรคจิตฉับพลันและอาการประสาทหลอนในผู้ป่วยโรคสั่นเพ้อเหตุขาดสุรา[3][4][5] สามารถรับยาได้โดยการกิน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ[3] โดยทั่วไปจะออกฤทธิภายใน 30-60 นาที[3]

แฮโลเพริดอล
ข้อมูลทางคลินิก
การอ่านออกเสียงแฮ-โล-เพ-ริ-ดอล
ชื่อทางการค้าHaldol
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682180
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: C
  • US: C (ยังไม่ชี้ขาด)
ช่องทางการรับยากิน, ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล60–70% (กิน)[1]
การจับกับโปรตีน~90%[1]
การเปลี่ยนแปลงยาLiver-mediated[1]
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ14–26 ชั่วโมง (ฉีดเข้าหลอดเลือด), 20.7 ชั่วโมง (ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ), 14–37 ชั่วโมง (กิน)[1]
การขับออกBiliary (hence in feces) and in urine[1][2]
ตัวบ่งชี้
  • 4-[4-(4-Chlorophenyl)-4-hydroxypiperidin-1-yl]-1-(4-fluorophenyl)butan-1-one
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.000.142
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC21H23ClFNO2
มวลต่อโมล375.9 g/mol g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
  • c1cc(ccc1C(=O)CCCN2CCC(CC2)(c3ccc(cc3)Cl)O)F
  • InChI=1S/C21H23ClFNO2/c22-18-7-5-17(6-8-18)21(26)11-14-24(15-12-21)13-1-2-20(25)16-3-9-19(23)10-4-16/h3-10,26H,1-2,11-15H2 checkY
  • Key:LNEPOXFFQSENCJ-UHFFFAOYSA-N checkY
  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

การใช้ยาแฮโลเพริดอลอาจก่อให้เกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหวที่เรียกว่าอาการยึกยือ (Tardive dyskinesia) ซึ่งจะเป็นอย่างถาวร[3] นอกจากนี้ อาจมีเกิดกลุ่มอาการร้ายแรงจากสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Neuroleptic malignant syndrome) ได้ด้วยเช่นกัน[3] ทั้งนี้ การใช้ยานี้ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิต[3] การใช้ยานี้ในระหว่างตั้งครรภ์อาจก่อปัญหาต่อทารกตามมา[3][6] ผู้ป่วยโรคพาร์คินสันควรงดใช้ยานี้[3]

ยาแฮโลเพริดอลถูกค้นพบในปีค.ศ. 1958 โดยแพทย์ชาวเบลเยียม พอล ยานส์เซน (Paul Janssen)[7] และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นยาหลักขององค์การอนามัยโลก[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Kudo, S; Ishizaki T (December 1999). "Pharmacokinetics of haloperidol: an update". Clinical Pharmacokinetics. 37 (6): 435–56. doi:10.2165/00003088-199937060-00001. PMID 10628896.
  2. "Product Information Serenace" (PDF). TGA eBusiness Services. Aspen Pharma Pty Ltd. 29 September 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2017. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 3.8 "Haloperidol". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-02. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.
  4. Schuckit, MA (27 November 2014). "Recognition and management of withdrawal delirium (delirium tremens)". The New England Journal of Medicine. 371 (22): 2109–13. doi:10.1056/NEJMra1407298. PMID 25427113.
  5. Plosker, GL (1 July 2012). "Quetiapine: a pharmacoeconomic review of its use in bipolar disorder". PharmacoEconomics. 30 (7): 611–31. doi:10.2165/11208500-000000000-00000. PMID 22559293.
  6. "Prescribing medicines in pregnancy database". Australian Government. 3 March 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 April 2014. สืบค้นเมื่อ 2 January 2015.
  7. Sneader, Walter (2005). Drug discovery : a history (Rev. and updated ed.). Chichester: Wiley. p. 124. ISBN 978-0-471-89979-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08.
  8. "WHO Model List of Essential Medicines (19th List)" (PDF). World Health Organization. April 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2016. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.