แอซิมัท (สายการบิน)

สายการบินสัญชาติรัสเซีย

แอซิมัท (รัสเซีย: Азимут) เป็นสายการบินร่วมทุนสัญชาติรัสเซีย โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติปลาตอฟ และมีสำนักงานใหญ่ในรอสตอฟ-นา-โดนู สายการบินให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางกว่า 29 แห่ง

แอซิมัท
IATA ICAO รหัสเรียก
A4 AZO AZIMUTH
ก่อตั้งกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 (7 ปี)
ท่าหลักรอสตอฟ-นา-โดนู–ปลาตอฟ
ครัสโนดาร์
ขนาดฝูงบิน20
จุดหมาย43
สำนักงานใหญ่รัสเซีย รอสตอฟ-นา-โดนู แคว้นรอสตอฟ ประเทศรัสเซีย
บุคลากรหลักวีตาลิ วันเซฟ[1] (ผู้ร่วมก่อตั้ง)
พาเวล เอกซานอฟ (ซีอีโอ)
เว็บไซต์www.azimuth.aero

ประวัติ แก้

ตั้งแต่การควบรวมกิจการของโดนาเวียเข้ากับรอซิยาห์แอร์ไลน์ในปี 2016 ทำให้รอสตอฟ-นา-โดนูไม่มีสายการบินหลักของเมือง แม้รอซิยาห์จะดำเนินเที่ยวบินเช่นเดิมก็ตาม ยิ่งด้วยการที่รอสตอฟ-นา-โดนูได้รับเลือกเป็นหนึ่งในเมืองเจ้าภาพของการแข่งขันฟุตบอลโลก ค.ศ. 2018 ในรัสเซีย ทำให้จำเป็นต้องมีสายการบินให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางในรัสเซียตอนใต้และตอนกลาง[2] จึงได้มีการจัดตั้งสายการบินแอซิมัทขึ้นมาในปี 2017 โดยเริ่มแรกได้จดทะเบียนและมีสำนักงานที่ครัสโนดาร์ ก่อนย้ายมาที่รอสตอฟ-นา-โดนูในเดือนกุมภาพันธ์ สายการบินมีผู้ถือหุ้นหลักคือวีตาลิ วันเซฟและพาเวล เอกซานอฟ[3][4]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 ได้มีการลงนามสั่งซื้อเครื่องบินซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100 จำนวนสี่ลำ และได้มีการลงนามอีกครั้งเพื่อสั่งซื้อเพิ่มอีกสี่ลำ โดยเริ่มรับมอบเครื่องบินในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2017 แอซิมัทรับมอบเครื่องบินลำแรกในวันที่ 7 กรกฎาคมผ่านสเตททรานสปอร์ตลีสซิงคอมปานี (จีทีแอลเค)[5] สายการบินมีแผนที่จะขยายฝูงบินเพิ่มเป็น 16 ลำ[6] ในวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ. 2017 แอซิมัทได้รับใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ[7][8][9] และได้เปิดเส้นทางบินมากมาย สายการบินได้ยกเลิกการทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติรอสตอฟ-นา-โดนูในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2017 และโอนย้ายการดำเนินงานไปยังท่าอากาศยานนานาชาติปลาตอฟแห่งใหม่แทน[10][11]

แอซิมัทเริ่มทำการบินเที่ยวบินต่างประเทศเที่ยวบินแรกในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2018 โดยทำการบินไปยังบิชเคก ประเทศคีร์กีซสถาน และเริ่มทำการบินไปยังเยเรวานในอีกสองวันต่อมา สายการบินเริ่มทำการบินเที่ยวบินสู่ประเทศนอกเครือรัฐเอกราชในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 โดยเริ่มทำการบินไปยังเทลอาวีฟใวันที่ 1 ธันวาคม และมิวนิกในวันที่ 22 ธันวาคม[12][13]

ในปี 2020 แอซิมัทเริ่มทำการบินไปยังไครเมีย

แอซิมัทได้ประกาศว่าจะสั่งซื้อเครื่องบินแอร์บัส เอ220-300 ที่ความจุผู้โดยสาร 149 คน[14][15] โดยได้ยืนยันคำสั่งซื้อกับแอร์บัสในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2021[14] ณ เดือนตุลาคม ค.ศ.2022 แอร์บัสได้ยกเลิกคำสั่งซื้อทั้งหมด[16] โดยได้โอนย้ายไปให้กับอิตาแอร์เวย์[17]

กิจการและอัตลักษณ์องค์กร แก้

แอซิมัทมีสำนักงานใหญ่ในรอสตอฟ-นา-โดนู แคว้นรอสตอฟ[18] ผู้ร่วมถือหุ้นรวมวีตาลิ วันเซฟ เจ้าของท่าอากาศยานนานาชาติวนูคาวา และพาเวล อุดด อดีตเจ้าของยาคูติยาแอร์ไลน์[19] ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2017 ได้มีการแต่งตั้งพาเวล เอกซานอฟเป็นซีอีโอของสายการบิน แอซิมัทได้มอบหมาย Asgard Branding บริษัทออกแบบจากเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก เป็นผู้ออกแบบอัตลักษณ์องค์กร ทั้งโลโก้และลวดลายอากาศยาน โดยโลโก้ถูกออกแบบมาเป็นสัญลักษณ์แทนดวงอาทิตย์ ทะเล ท้องฟ้า และการบริการ[20]

จุดหมายปลายทาง แก้

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 แอซิมัทให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทางกว่า 29 แห่งในเอเชียและยุโรป[21]

ฝูงบิน แก้

 
ซูเปอร์เจ็ต 100 ของแอซิมัท

ณ เดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 แอซิมัทมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[22][23][24]

เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร หมายเหตุ
ซุคฮอย ซูเปอร์เจ็ต 100 20 103
รวม 20

แอซิมัทมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 5.8 ปี

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Vnukovo co-owner to launch a regional airline". rusaviainsider.com. 17 October 2016. สืบค้นเมื่อ 3 September 2017.
  2. "Зачем создают авиакомпанию "Азимут"?". www.aif.ru. สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  3. Неведров, Роман. "Авиакомпания "Азимут" переехала в Ростов-на-Дону". rostov.dk.ru (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  4. Ведомости (2016-10-14). "Совладелец "Внуково" Виталий Ванцев займется авиаперевозками". สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  5. "Sukhoi Superjet 100 долетел до "Азимута"". Коммерсантъ. 2017-07-07. สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  6. "Авиакомпания "Азимут" договорилась о расширении парка до 16 SSJ 100". Авиатранспортное обозрение (ภาษารัสเซีย). 2017-07-20. สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  7. "Авиакомпания Азимут получила сертификат эксплуатанта". azimuth.aero (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  8. "Russia's Azimuth Airline receives AOC". atwonline. 22 August 2017. สืบค้นเมื่อ 3 September 2017.
  9. "Удод Павел Викторович: "Азимут" - креативная классика с "южной изюминкой"". สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  10. "Авиакомпания Азимут переходит в "Платов"". azimuth.aero (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  11. "Авиакомпания Азимут продолжает выполнять полеты из действующего аэропорта Ростова-на-Дону". azimuth.aero (ภาษารัสเซีย). สืบค้นเมื่อ 2018-07-19.
  12. "Azimuth adds Munich / Tel Aviv service in Dec 2019". Routesonline (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
  13. ES (2019-10-10). "Russia's Azimuth Airlines to develop its network beyond the CIS". Russian Aviation Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
  14. 14.0 14.1 "Авиакомпания "Азимут" планирует приобрести шесть Airbus для международных полетов". Tourism Interfax. 29 April 2021.
  15. ES (2019-09-26). "Russia's all-Superjet 100 operator eyes the Airbus A220-300". Russian Aviation Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-09-26.
  16. airbus.com retrieved 3 October 2022
  17. aero.de (German) 12 October 2022
  18. "Office". azimuth.aero. สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
  19. Insider, Russian Aviation (2017-04-04). "Russia's Azimuth Airlines to receive four SSJ 100s - Russian aviation news". Russian Aviation Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-14.
  20. "Авиакомпания Азимут: логотип, брендинг, дизайн ливреи самолета". ASGARD Branding (ภาษารัสเซีย).
  21. "Azimuth Flights and Destinations - FlightConnections". www.flightconnections.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-28.
  22. "Azimuth Airlines Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-26.
  23. Insider, Russian Aviation (2019-12-09). "Azimuth Airlines' all-Superjet 100 fleet grows to 11". Russian Aviation Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.
  24. "Russia's Azimuth Airlines reaffirms its faith in the Superjet". Russian Aviation Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 28 August 2019.