แฟมิลี่มาร์ท (อังกฤษ: FamilyMart; ญี่ปุ่น: ファミリーマートโรมาจิFamirīmāto) เป็นกิจการค้าปลีกลักษณะร์านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ที่ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง จึงอำนวยความสะดวกสำหรับลูกค้าทั้งในด้านเวลา สถานที่ และสินค้าที่มีให้เลือกอย่างครบครัน

บริษัท แฟมิลี่มาร์ท จำกัด
ชื่อท้องถิ่น
株式会社ファミリーマート
ชื่อโรมัน
Kabushiki gaisha FamirīMāto
ประเภทบริษัทย่อย
ISINJP3802600001 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อ
ก่อตั้งกันยายน 1973; 51 ปีที่แล้ว (1973-09) ที่ซายามะ ประเทศญี่ปุ่น
(รวมบริษัทในวันที่ 1 กันยายน 1981; 43 ปีก่อน (1981-09-01))
ผู้ก่อตั้งSeibu Retailing Group
สำนักงานใหญ่ชิบาอูระ มินาโตะ, ,
จำนวนที่ตั้ง24,941[1] (กรกฎาคม 2564)
พื้นที่ให้บริการญี่ปุ่น
ไต้หวัน
จีนแผ่นดินใหญ่
ฟิลิปปินส์
ไทย
เวียดนาม
อินโดนีเซีย
มาเลเซีย
บุคลากรหลัก
  • โคจิ ทากายานางิ
    (กรรมการและประธานกรรมการ
  • เค็นซูเกะ โฮโซมิ
    (ผู้แทนกรรมการและประธาน)
ผลิตภัณฑ์
  • โอมูซูบิ
  • ของว่างร้อน
  • อาหารแช่เย็น
  • โอเด้ง
  • กาแฟและเครื่องดื่มปั่น
รายได้477.5 พันล้านเยน[2] (2560)
รายได้จากการดำเนินงาน
42.8 พันล้านเยน (2560)
รายได้สุทธิ
21.9 พันล้านเยน (2560)
สินทรัพย์730.3 พันล้านเยน (2559)
ส่วนของผู้ถือหุ้น295.2 พันล้านเยน (2559)
พนักงาน
16,601 (2560)
บริษัทแม่
บริษัทในเครือฟามิมะ!!
เว็บไซต์www.family.co.jp
แฟมิลี่มาร์ท
ประเภทสาขา
ISINJP3802600001 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมร้านสะดวกซื้อ
รูปแบบบริษัทมหาชน
ก่อตั้งพ.ศ. 2535 (ประเทศไทย)
ผู้ก่อตั้งเซยูกรุป Edit this on Wikidata
เลิกกิจการพ.ศ. 2566 (ประเทศไทย)
สำนักงานใหญ่99,99/99 หมู่ที่ 2 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120 [4]
เจ้าของเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล
เว็บไซต์https://www.familymart.co.th/
ร้านแฟมิลี่มาร์ท ในเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น

แฟมิลี่มาร์ทเป็นกิจการร้านค้าที่มีกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซันกรุ๊ป ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการห้างสรรพสินค้าเซบุ และร้านซูปเปอร์สโตร์เซยู โดยเริ่มมีแนวคิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 และเปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2518 จากนั้นได้เปิดสาขาในต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทย

ร้านค้าที่ต่างประเทศ

แก้

ประเทศไทย

แก้
 
ร้านแฟมิลี่มาร์ท ในเมืองพัทยา ประเทศไทย

ร้านแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่ร่วมลงทุนระหว่างคนไทย และญี่ปุ่นโดย บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท โฮลดิ้ง จำกัด, บริษัท แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น ในเครือเซซัน กรุ๊ป, บริษัท อิโตชู ซึ่งเป็นบริษัทการค้าระหว่างประเทศรายใหญ่อันดับ 1 ประเทศญี่ปุ่น และ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) ได้เซ็นสัญญา ซื้อสิทธิ์ประกอบกิจการค้าปลีกจากบริษัท แฟมิลี่มาร์ทโดยใช้ชื่อว่า “บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด” ด้วยทุนจดทะเบียน 800,000,000 บาท เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2535 และเปิดสาขาแรกที่ย่านพระโขนงในปีถัดมา

โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น บริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล ได้ลงนามในสัญญาเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ในจำนวน 50.29% จึงทำให้กลุ่มเซ็นทรัลกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทฯ และยังทำให้กลุ่มเซ็นทรัลกลายเป็นผู้บริหารร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ทในประเทศไทย ซึ่งจากการลงนามในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มเซ็นทรัลได้จัดวิธีการบริหารใหม่ทั้งหมด โดยในปีต่อมาได้เปลี่ยนชื่อ บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด เป็น บริษัท เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท จำกัด จัดรูปแบบร้านค้าต้นแบบเพื่อกำหนดรูปแบบของสาขาแฟมิลี่มาร์ทหลังจากนี้ และเริ่มนำสินค้าประเภทอาหารสดจากร้านค้าที่บริหารโดยเซ็นทรัลเรสเทอรองค์กรุ๊ปเข้ามาขาย เช่นข้าวกล่องจากร้าน เดอะเทอเรซ โดนัทจากมิสเตอร์โดนัท เป็นต้น รวมถึงนำแฟมิลี่มาร์ทเข้าร่วมเป็นหนึ่งในร้านค้าพันธมิตรของเครือข่ายบัตร "เดอะ วัน การ์ด" ทำให้สมาชิกเดอะ วัน การ์ด สามารถสะสมและแลกคะแนนที่ร้านได้ทุกสาขา

ในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการเปิดและปรับโฉมสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สีลม โดยเพิ่มอาหารและเครื่องดื่ม ร้านกาแฟเซกาเฟรโด ซาเนตติ บาร์เครื่องดื่มเบียร์สดแบบเติมไม่อั้น ตู้แช่ไวน์ อาหารกล่องจากภัตตาคารสีฟ้า บริการเดลิเวอรี่ ส่งพัสดุ เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายคนทำงานและนักท่องเที่ยว[5], สาขาสุขุมวิท 33 ที่เพิ่มอาหารพร้อมรับประทาน มุมกาแฟ เบเกอรี พร้อมจุดนัดพบเพื่อพักผ่อน ทำงาน พบปะสังสรรค์ รองรับคนทำงาน คนรุ่นใหม่ในย่านนั้น[5], สาขาเซ็นทรัล ชิดลม ซึ่งร่วมมือกับ ไทยยามาซากิ และเบทาโกร ทำเมนูแซนด์วิชหลากหลายชนิดให้เลือก ตอบโจทย์ชีวิตคนทำงานในย่านนั้น โดยสาขานี้เป็นต้นแบบที่ใช้ในการเปิดภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลสาขาอื่น ๆ ทั่วประเทศ[5] และสาขาหาดป่าตอง ที่มีจุดถ่ายรูปพร้อมอุปกรณ์ชายหาด รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ[5]

ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด บริษัทย่อยของ บมจ. เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อหุ้นของ บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ในอีก 49.00% ที่เหลืออยู่จาก แฟมิลี่มาร์ท ประเทศญี่ปุ่น ทำให้แฟมิลี่มาร์ทในไทยเหลือสถานะเพียงแฟรนไชส์ของแฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่น สอดคล้องกับแผนถอนทุนในประเทศไทยของแฟมิลี่มาร์ท และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 แฟมิลี่มาร์ทญี่ปุ่นได้ประกาศยุติการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย หลังหมดสัญญาบริหารแฟรนไชส์กับกลุ่มเซ็นทรัลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม[6] โดยก่อนหน้านั้น เซ็นทรัลรีเทลได้เปลี่ยนชื่อ บจก. เซ็นทรัล แฟมิลี่มาร์ท เป็น บจก. เซ็นทรัล ฟู้ด มินิ มาร์เก็ต และทะยอยรีแบรนด์ร้านแฟมิลี่มาร์ทที่เหลือทั้งหมดเป็น ท็อปส์ เดลี่ ซึ่งกำหนดดำเนินการแล้วเสร็จภายในช่วงปลายปีดังกล่าว[7][8]

อนึ่ง ผลประกอบการของแฟมิลี่มาร์ทในช่วง 4 ปีหลังสุดก่อนยุติกิจการในไทย ขาดทุนมาโดยตลอด โดยในปี พ.ศ. 2564 มีรายได้ 7,481.8 ล้านบาท ขาดทุน 1,049 ล้านบาท[9]

อ้างอิง

แก้
  1. รวมแฟรนไชส์และร้านต่างประเทศ "地域別店舗数 (2015年4月30日現在)". FamilyMart. สืบค้นเมื่อ 9 June 2015.
  2. Corporate revenue; total chain revenue was JPY 3,009 bn.
  3. "Basic Information about Our Stock". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-08. สืบค้นเมื่อ 2023-08-24.
  4. แผนที่การเดินทาง เก็บถาวร 2021-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 เหตุการณ์สำคัญของ Family Mart ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2560 : https://positioningmag.com/1149032
  6. "Japan's FamilyMart exits Thailand as 7-Eleven's dominance grows". Nikkei Asia (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  7. "ส่องอนาคต 'Tops Daily' จะไปในทิศทางไหน หลังเซ็นทรัลยุบ 'FamilyMart'". THAIRATH Money.
  8. ไม่มีแล้ว “Family Mart” เซ็นทรัลยกเครื่องใหม่ เปลี่ยนเป็น “Tops Daily” ทุกสาขาทั่วไทย
  9. "แค่พ่ายแพ้ 7-Eleven จริงหรือ? วิเคราะห์เบื้องลึก 'เซ็นทรัล รีเทล' ทิ้ง FamilyMart". THE STANDARD. 2023-08-16.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้