เอเรนเดล
WHL0137-LS หรือ เอเรนเดล (Earendel แปลว่า “ดาวรุ่งอรุณ” ในภาษาอังกฤษเก่า) ค้นพบในปี 2022 คือ ดาวฤกษ์ที่ไกลที่สุดเท่าที่เคยพบจนถึงปัจจุบัน[3]
ข้อมูลสังเกตการณ์ ต้นยุคอ้างอิง J2000 วิษุวัต J2000 | |
---|---|
กลุ่มดาว | ซีตัส (กลุ่มดาววาฬ) |
ไรต์แอสเซนชัน | 01h 37m 23.232s[1] |
เดคลิเนชัน | แม่แบบ:Dec[1] |
มาตรดาราศาสตร์ | |
ระยะทาง | Redshift of 6.2 yields คำนวณเป็นระยะทางได้ 28 พันล้านปีแสง[2] ly |
คุณสมบัติ | |
รายละเอียด[1] | |
มวล | 50–100 M☉ |
อุณหภูมิ | >20,000 K |
ชื่ออื่น | |
Earendel |
การค้นพบ
แก้รายงานการค้นพบดาวเอเรนเดลโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลมีขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2565[1][4] จากปรากฎการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง (gravitational lensing) ของกระจุกดาราจักรด้านหน้าที่ขยายแสงของดาวเอเรนเดล ซึ่งการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ชึ้ว่าเกิดการขยายแสงให้สว่างขึ้นหนึ่งพันถึงสี่หมื่นเท่า[5] โดยก่อนหน้านี้กล้องฮับเบิลได้พบแสงนี้แล้วเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2016, 17 กรกฎาคม 2016, 4 พฤศจิกายน 2019 และ 27 พฤศจิกายน 2019[6]
ดาวมีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า 'เอเรนเดล' ซึ่งมาจากชื่อภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ดาวรุ่งอรุณ” (Morning Star) หรือ "Rising Light"[1][7] นอกจากนี้ ยังคล้องกับชื่อ "เออาเรนดิล" ตัวละครลูกครึ่งเอลฟ์ในนวนิยายตำนานแห่งซิลมาริลของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้เดินทางผ่านท้องฟ้าพร้อมกับอัญมณีที่เปล่งประกายราวกับดวงดาว ซึ่งนักดาราศาสตร์ของนาซา Michelle Thaller ยืนยันได้เจตนาอ้างอิงถึงตัวละครตัวนี้ของโทลคีน[8] ส่วนดาราจักรที่เป็นทื่ตั้งของดาวดวงนี้มีชื่อเล่นว่า "Sunrise Arc"[9]
มีการเสนอการสังเกตการณ์โดยฮับเบิลเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของดาวฤกษ์ยิ่งขึ้น[10] รวมถึงการสำรวจโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์[1]
คุณสมบัติทางกายภาพ
แก้คาดว่าแสงที่ตรวจพบจากเอเรนเดล ถูกปล่อยออกมาราว 900 ล้านปีหลังจากบิ๊กแบง ดาวดวงนี้วัดได้ว่ามีการเลื่อนไปทางแดง (redshift) ที่ 6.2±0.1 ซึ่งหมายความว่าแสงจากเอเรนเดลใช้เวลาเดินทาง 12.9 พันล้านปี ถึงโลก[1][11][5] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการขยายตัวของเอกภพ ตำแหน่งของดาวที่สังเกตได้จึงอยู่ห่างออกไป 28 พันล้านปีแสงในปัจจุบัน[2]
เอเรนเดลน่าจะมีมวลประมาณ 50 ถึง 100 เท่าของมวลดวงอาทิตย์[12] เนื่องจากมวลของมันมาก ดาวจึงมีแนวโน้มที่จะระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาแล้วเพียงไม่กี่ล้านปีหลังจากการก่อตัว[12][13] คาดว่ามีอุณหภูมิยังผลประมาณ 20,000 K (20,000 °C; 36,000 °F)[1] เอเรนเดลอาจเป็นดาวฤกษ์ชนิด "Population III stars" ซึ่งหมายความว่าแทบไม่มีองค์ประกอบอื่นใดนอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียม[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Welch, Brian; และคณะ (21 January 2022). "A Highly Magnified Star at Redshift 6.2". Nature. 603 (7903): 1–50. doi:10.1038/s41586-022-04449-y. PMID 35354998. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
- ↑ 2.0 2.1 Kabir, Radifah (31 March 2022). "Hubble Detects Earendel, The Farthest Star Ever Seen. It's 28 Billion Light Years Away". ABP Live. ABP News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
- ↑ 3.0 3.1 Gianopoulos, Andrea (30 March 2022). "Record Broken: Hubble Spots Farthest Star Ever Seen". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
- ↑ "Record Broken: Hubble Spots Farthest Star Ever Seen". Space Telescope Science Institute. NASA. 30 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
- ↑ 5.0 5.1 Timmer, John (30 March 2022). "Hubble picks up the most distant star yet observed". Nature. Ars Technica. doi:10.1038/s41586-022-04449-y. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
- ↑ "Lensed Star Earendel". HubbleSite.org. 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2 April 2022.
- ↑ Parks, Jake (30 March 2022). "Hubble spots the farthest star ever seen". Astronomy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
- ↑ Gohd, Chelsea (2022-03-31). "Meet Earendel: Hubble telescope's distant star discovery gets a Tolkien-inspired name". Space.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-03-31.
- ↑ Rauchhaupt, Ulf von (31 March 2022). "Der früheste Stern" [The earliest star]. FAZ.NET (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
- ↑ Coe, Dan; Welch, Brian; Acebron, Ana; Avila, Roberto; Bradac, Marusa; Bradley, Larry; Diego, Jose M.; Dimauro, Paola; Farag, Ebraheem; Florian, Michael; Frye, Brenda Louise; Jimenez-Teja, Yolanda; Kelly, Patrick; Mahler, Guillaume; O'Connor, Kyle; Oguri, Masamune; Rigby, Jane R.; Rodney, Steve; Sharon, Keren; Strait, Victoria; Strolger, Louis-Gregory; Timmes, Frank; Vikaeus, Anton Filip; Windhorst, Rogier A.; Zackrisson, Erik; Zitrin, Adi; De Mink, Selma E. (2021). "Monitoring Earendel, the Lensed z 6 Star". HST Proposal: 16668. Bibcode:2021hst..prop16668C.
- ↑ Letzter, Rafi (30 March 2022). "Meet Earendel, the most distant star ever detected". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
- ↑ 12.0 12.1 Konitzer, Franziska (30 March 2022). "Entferntester Stern dank 1000-facher Vergrößerung entdeckt" [Furthest star discovered thanks to 1000x magnification]. Spektrum der Wissenschaft (ภาษาเยอรมัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
- ↑ Dunn, Marcia (30 March 2022). "This is Earendel, the most distant star ever seen by humans". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 March 2022. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.