เอสพี ศุภมิตร

อดีตค่ายเพลงในประเทศไทย

เอสพี ศุภมิตร [note 1] เป็นค่ายเพลงในอดีตของไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ. 2532 โดย นายกองเอก ประชา มาลีนนท์ มี เจริญ เอี่ยมพึ่งพร และ กิตติ โรจน์ชลาสิทธิ์ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนในระยะแรก บริหารงานโดย คุณจิรเดช ชินสุวพลา และ ไบรอันลินด์เซ มาร์การ์[1] โดยเป็นค่ายเพลงที่รวบรวมคนเบื้องหลังและคนเบื้องหน้าที่มีความสามารถ รวมทั้งดารานักแสดงในสังกัดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่เข้าหาโอกาสทางด้านเสียงเพลงออกสู่ท้องตลาด ได้ชื่อว่าเป็น ค่ายเพลงในเครือสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศ จึงทำให้การโปรโมทผลงานเพลงของบริษัทออกอากาศทางช่อง 3 เป็นหลัก และทางช่องอื่นได้เป็นบางรายการ

เอสพี ศุภมิตร
บริษัทแม่บีอีซีเวิลด์
ก่อตั้ง2532 (2532)
ผู้ก่อตั้งประชา มาลีนนท์
ปิดกิจการ2537 (2537)
จัดจำหน่าย
  • ออนป้า
  • จีพีซี แมกเนท
ประเทศต้นกำเนิดประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร
นักร้องคนแรกของค่าย

โดยศิลปินเบอร์แรก คือ อภิญญา มาลีนนท์ (ต้อม) ผู้ประกาศข่าวช่อง 3 ในขณะนั้น

เริ่มแรก เอสพีฯ ได้ให้ ออนป้า เป็นผู้จัดจำหน่าย แต่ด้านหลังของกล่องเทปสลักโลโก้ของเอสพีฯ เพื่อสร้างความจดจำแก่ผู้บริโภค แต่ในปลายปี พ.ศ. 2534 ได้เปิดบริษัท จีพีซี แมกเนท รับผลิตและจัดจำหน่ายเทปเพลงของศิลปินหลากหลายแนวเพลงควบคู่กัน โดยเริ่มด้วยเทปเพลงของ ปวีณา ชารีฟสกุล ซึ่งย้ายจากครีเอเทียแล้วมาเซ็นสัญญากับช่อง 3 จนค่ายเอสพีฯ ปิดตัวลงในกลางปี พ.ศ. 2537 อาจเนื่องมาจากปัญหาการบริหารดำเนินงานไม่เป็นที่น่าพอใจ

รายชื่อศิลปิน

แก้
 
นก จริยา นักร้องที่เรียกความฮือฮาอย่างมากของค่ายในระยะแรก

โปรดิวเซอร์

แก้

หลังการปิดค่ายเอสพี ศุภมิตร

แก้

ค่ายเพลงใหม่ของไบรอันลินด์เซ มาร์การ์

แก้

หลังจากการปิดค่าย เอสพี ศุภมิตร ไบรอันลินด์เซ มาร์การ์ หนึ่งในผู้บริหารของเอสพี ศุภมิตร ได้ก่อตั้ง บริษัท เวิลด์มีเดียซัพพลายส์ จำกัด และต่อมาได้เปลี่ยนเป็น เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ โดยได้ก่อตั้งค่าย เทโร เรคคอร์ด เมื่อปี พ.ศ. 2539 ต่อมาในปี พ.ศ. 2541 ได้ร่วมทุนกับบีอีซีเวิลด์ของช่อง 3 เปลี่ยนชื่อเป็น บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ทำให้เทโร เรคคอร์ด กลายเป็นค่ายเพลงส่วนหนึ่งของช่อง 3 ไปโดยปริยาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นสากลเมื่อ โซนี่ มิวสิค ไทยแลนด์ ได้ร่วมทุน และควบรวมเปลี่ยนชื่อเป็น โซนี่ มิวสิค & บีอีซี-เทโร ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 บีอีซี เทโร ได้ถอนหุ้นไปในช่วงหนึ่ง โดย โซนี่ มิวสิค ได้ควบกับ บีเอ็มจี กลายเป็น โซนี่ บีเอ็มจี ก่อนที่ บีเอ็มจี จะล้มละลายไป จึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น โซนี่ มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ และในปี พ.ศ. 2556 บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ได้ทำการควบรวมกับ โซนี่มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนต์ อีกครั้ง และได้เปลี่ยนชื่อเป็น บีอีซี-เทโร มิวสิค ก่อนที่ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2563 กลุ่มบีอีซีเวิลด์จะขายหุ้นในบีอีซี-เทโร กลับไปให้ไบรอันลินด์เซ มาร์การ์ ทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อเป็น เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ส่งผลให้ค่ายเพลงในเครือซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นเทโร มิวสิค ในคราวเดียวกัน พ้นจากการเป็นค่ายเพลงในเครือช่อง 3 ไปโดยปริยาย

ศิลปินคนแรกของค่ายเทโรก่อนที่จะควบรวมทั้งสองช่วงคือ วรรธนา วีรยวรรธน ต่อมามีศิลปินที่เคยทำงานเบื้องหลังและศิลปินที่มีชื่อเสียงเช่น เชษฐา ยารสเอก, มนต์ชีพ ศิวะสินางกูร, รามจิตติ หงสกุล, วงซับใน (ดุสิตา อนุชิตชาญชัย เป็นนักร้องนำ), จิรศักดิ์ ปานพุ่ม, เทเรซ่า อาร์กีล่า, ธนะยศ จิวานนท์ (ออดี้), ทาทา ยัง, ฝันดี-ฝันเด่น, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, ศุ บุญเลี้ยง, ฤทธิพร อินสว่าง, ไกรภพ จันทร์ดี, ป้อม ออโต้บาห์น, สุนารี ราชสีมา, ปราโมทย์ วิเลปะนะ, ธรากร สุขสมเลิศ, แอนนี่ บรู๊ค, สล็อตแมชชีน ฯลฯ

ค่ายเพลงใหม่ของช่อง 3

แก้

ส่วนช่อง 3 ได้ก่อตั้งค่ายเพลงเฉพาะในส่วนเพลงประกอบละคร ต่อมากลายเป็นค่ายเพลงเต็มรูปแบบ โดยใช้ชื่อว่า แชนเดอเลียร์มิวสิก ในปี พ.ศ. 2557[2] โดยมี ณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ จากจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ดูแลการผลิตและนั่งแท่นบริหาร นับเป็นการก่อตั้งค่ายเพลงครั้งที่ 2 ในรอบ 19 ปีของช่อง 3 โดยศิลปินเบอร์แรกของค่ายแชนเดอร์เลียร์คือ พีค กองทัพ หรือชื่อในวงการคือ กองทัพ พีค บุตรชายของนักแสดงรุ่นใหญ่ ปราบ ยุทธพิชัย

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2567 ปิ่นกมล มาลีนนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของกลุ่มบีอีซีเวิลด์ ได้แยกการดำเนินงานเพลงเชิงธุรกิจออกจากค่ายแชนเดอเลียร์มิวสิก มาจัดตั้งเป็นค่ายเพลงใหม่ และบริหารงานในลักษณะคล้ายกับเอสพี ศุภมิตรในอดีต ชื่อว่า บีอีซี มิวสิค โดยนำนักแสดงช่อง 3 มาพัฒนาเป็นศิลปิน ทำให้ค่ายแชนเดอเลียร์มิวสิกลดบทบาทกลับไปทำเพลงประกอบละครให้กับช่อง 3 เช่นเดิม

ส่วนเกี่ยวข้อง

แก้

เชิงอรรถ

แก้
  1. บ้างก็เขียนชื่อเป็น เอส.พี. ศุภมิตร

แรกชื่อ เอส.พี.ศุภมิต ไม่มีร.เรือ ต่อมาเข้าปีที่สอง พระอาจารย์ที่คุณประชา มาลีนนท์ ( ผู้ก่อตั้ง ) นับถือ ได้อนุญาตให้เพิ่มร.เรือเข้าไปจึงเป็น เอส.พี.ศุภมิตร

อ้างอิง

แก้
  1. นิตยสาร กรุงเทพฯ 30 ปีที่ 3 ฉบับที่ 31 พฤษภาคม 2532 : หน้า 82
  2. 'แชงเกอเลียฯ'ค่ายเพลงช่อง3