เอดา ซารา เอดเลอร์ (เดนมาร์ก: Ada Sara Adler; ค.ศ. 1878 – ค.ศ. 1946) เป็นนักวิชาการศิลปะคลาสสิกและบรรณารักษ์ชาวเดนมาร์ก

เอดา ซารา เอดเลอร์
เอดา เอดเลอร์ เมื่อประมาณ ค.ศ. 1900
เกิด18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878(1878-02-18)
เฟรเดริกสแบร์ก
เสียชีวิต28 ธันวาคม ค.ศ. 1946(1946-12-28) (68 ปี)
โคเปนเฮเกน
สัญชาติเดนมาร์ก
อาชีพบรรณารักษ์และนักวิชาการศิลปะคลาสสิก

เธอเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีจากฉบับวิจารณ์ของสารานุกรมไบแซนไทน์ซูดา (5 เล่ม, ค.ศ. 1928–1938) ซึ่งยังคงมีข้อความมาตรฐานอยู่

ประวัติ

แก้

เอดเลอร์เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 โดยเป็นลูกสาวของแบร์เตล เดวิด เอดเลอร์ และเอลีส โยแฮนน์ ซึ่งมีคำเรียกตามหลังชื่อและนามสกุลหลังแต่งงานคือแฟรงเคล[1] ทั้งนี้ ครอบครัวของเธอมีฐานะทางสังคมสูงและมีความสัมพันธ์ที่ดี โดยเดวิด บารุค เอดเลอร์ ผู้เป็นปู่ของเธอเป็นนายธนาคารและนักการเมืองผู้มั่งคั่ง ส่วนน้าสาวของเธอชื่อเอลเลน เอดเลอร์ โปร์ เป็นแม่ของนิลส์ โปร์ และฮารัลด์ โปร์[1] รวมถึงเธอยังเกี่ยวข้องกับนักจิตวิทยาชาวเดนมาร์กชื่อเอดการ์ ฮูบิน ผ่านทางฝ่ายโปร์[2]

การศึกษาในช่วงต้นของเอดเลอร์อยู่ที่โรงเรียนมิสสตีนแปร์ แล้วจึงต่อที่โรงเรียนเอ็น. ซาห์เล ซึ่งเธอศึกษาภาษากรีกโบราณภายใต้การสอนของอาเนิร์ส บียอร์น ดรักแมน ใน ค.ศ. 1893[3] จากนั้น เธอก็เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ซึ่งเธอยังคงศึกษาภาษากรีกและศาสนาเปรียบเทียบกับดรักแมน รวมถึงศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม ธอมเซน[3][4] ใน ค.ศ. 1906 เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านศาสนากรีกโบราณ และได้รับรางวัลจากสมาคมนิรุกติศาสตร์ประวัติศาสตร์ สำหรับการวิจัยเรื่องตำนานของแพนโดรา[3] ครั้นใน ค.ศ. 1912 หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เธอได้เดินทางไปศึกษาต่อที่เวียนนา โดยในช่วงเวลานั้นเธอได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับศาสนากรีกสองสามบทความ รวมถึงได้ทำการวิจัยและเขียนให้แก่สารานุกรมเพาลี-วิสโซวา[3]

ใน ค.ศ. 1901 เธอแต่งงานกับนักปรัชญาชาวเดนมาร์กชื่อแอนทัน ธอมเซิน ซึ่งเธอได้พบที่งานเลี้ยงอาหารค่ำเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1897[1] โดยธอมเซินได้บันทึกเรื่องราวการพบกันครั้งแรกนี้ไว้ในไดอารีของเขา ซึ่งจำได้ว่าเขาหลงเธอแค่ไหน[2] กระทั่งพวกเขาหย่าร้างใน ค.ศ. 1912[4]

ครั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เธอได้อพยพไปประเทศสวีเดนพร้อมกับชาวยิวเชื้อสายเดนมาร์กคนอื่น ๆ ซึ่งเธอได้สอนภาษากรีกที่โรงเรียนเดนมาร์กในลุนด์[4]

เมื่อเสียชีวิต เธอได้รับการฝังร่างในโมซาอิสก์เวสเทรอเบกราเอลเซสเปลดส์ใกล้โคเปนเฮเกน

อาชีพนักวิชาการ

แก้

เธอเป็นที่รู้จักอย่างดีจากซูดาฉบับวิจารณ์ฉบับมาตรฐาน ซึ่งเธอได้รับการตีพิมพ์ 5 เล่ม (ไลพ์ซิช, ค.ศ. 1928–1938) เธอยังสนับเขียนหลายบทความให้แก่เรอัลเอ็นซือโคลเพเดียของเพาลี-วิสโซวา ซึ่งใน ค.ศ. 2016 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ตีพิมพ์บทความเพื่อยกย่องนักวิชาการศิลปะคลาสสิกสตรี ทั้งนี้ บทเกี่ยวกับเอดเลอร์เขียนโดยแคธารีน รอธ ผู้เป็นบรรณาธิการบริหารคนปัจจุบันของซูดาออนไลน์โปรเจกต์ ซึ่งรอธให้บริบทเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเอดเลอร์ในการมอบทุนการศึกษาของซูดาในฐานะเป็นประเภทงานลงรายการแบบละเอียดที่มอบให้แก่ผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในขณะที่ผู้ชายได้ทำการวิจัยดั้งเดิมที่ 'น่าสนใจ' มากกว่า แต่อันที่จริงแล้วมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำให้เกิดการวิจัยเพิ่มเติม[3] (แม้ว่าการจัดทำรายการทางวิชาการส่วนใหญ่ก็ดำเนินการโดยผู้ชายในขณะนั้นเช่นกัน) ส่วนนักวิชาการศิลปะคลาสสิกอย่างวิลเลียม คาลเดอร์ ผู้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณด้านศิลปะคลาสสิกที่มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ได้กล่าวถึงเอดเลอร์ว่าเป็น "นักภาษาศาสตร์หญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างไม่มีใครเทียบได้"[5] และนักวิชาการศิลปะคลาสสิกชาวเยอรมันชื่ออ็อทโท ไวน์ไรช์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเอดเลอร์ ได้กล่าวถึงฉบับซูดาว่า "เบวุนเดิร์นสเวิร์ท" (ควรค่าแก่การชื่นชม) ใน ค.ศ. 1929 ไม่นานหลังจากการปรากฏตัวของหนังสือเล่มแรก[6]

ใน ค.ศ. 1916 เธอได้รับการตีพิมพ์บัญชีรายชื่อต้นฉบับภาษากรีกในหอสมุดหลวงเดนมาร์ก ซึ่งคอลเลกชันนี้รวบรวมโดยเตเนียล กอตฮิฟ โมลเดนเฮวอร์ ผู้เป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ในคริสต์ศตวรรษที่สิบแปด[3] และเอดเลอร์เชื่อว่าต้นฉบับบางส่วนในนั้นถูกขโมยโดยโมลเดนเฮวอร์จากห้องสมุดที่อื่นในยุโรป[4] อนึ่ง ใน ค.ศ. 1931 เธอได้รับรางวัลทาเกียบรันท์ไรจ์ซีลีเกท ซึ่งเป็นรางวัลเดนมาร์กสำหรับความสำเร็จของผู้หญิงในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์[7] กระทั่งในช่วงเวลาที่เธอเสียชีวิต เธอได้มีความก้าวหน้าอย่างมากในการจัดทำเอติโมโลฆิกุมเฆนุยนุมฉบับแรก ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินต่อไปภายใต้การดูแลของเคลาส์ อัลเพอส์[4]

ทั้งนี้ ถือว่างานของเธอเสร็จแล้วในโรมและฟลอเรนซ์เมื่อ ค.ศ. 1913 จนถึงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1914 และปีต่อมา (ค.ศ. 1919 และ 1920) ในปารีส, เวนิส, ออกซฟอร์ด และฟลอเรนซ์[3]

ผลงาน

แก้
  • ค.ศ. 1914: ดีค็อมเม็นทาเรเดสอัสเคลพีอาเดิสฟ็อนมือร์เลอา (เยอรมัน: Die Commentare des Asklepiades von Myrlea), เฮอร์มีส 49.1: 39–46
  • ค.ศ. 1916: แคตตาล็อกซูเปลมองแตร์เดมานูสครีเกรกเดอลาบีบลิโอเตกรัวยาลเดอโกเปนอาเก (ฝรั่งเศส: Catalogue supplémentaire des manuscrits grecs de la Bibliothèque Royale de Copenhague).
  • ค.ศ. 1917: ดี. กี. โมลเดนเฮวอร์ ออก์ฮันส์ฮอนด์สคริฟต์ซามลิง (เดนมาร์ก: D. G. Moldenhawer og hans haandskriftsamling). โคเปนเฮเกน.
  • ค.ศ. 1920: เด็นกราสเคลีเทอร์อาทัวส์สเกบเนออิโอลด์ทิด์ออก์มิดเดลแอเดอร์ (เดนมาร์ก: Den græske litteraturs skæbne i oldtid og middelalder). โคเปนเฮเกน.
  • ค.ศ. 1928–1938: ซุยดาเอเลกซีกอน (ละติน: Suidae Lexicon). ไลพ์ซิช: เบ. เก. ท็อยบ์เนอร์. 5 ฉบับ.
  • ค.ศ. 1932: ดิเอโอเมร์บิตาอิมโกเดกซ์บินโดโบเนนซิสพิล. 39 (ละติน: Die Homervita im Codex Vindobonensis Phil. 39), เฮอร์มีส 67.3: 363–366

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Hilden, Adda (30 August 2011). "Ada Adler (1878–1946)". Dansk Kvindebiografisk Leksikon.
  2. 2.0 2.1 Pind, Joergen L. (2014). Edgar Rubin and Psychology in Denmark: Figure and Ground. Springer. p. 40. ISBN 978-3-319-01061-8.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Roth, Catharine P. (2016). "Ada Sara Adler. 'The greatest woman philologist' of her time". ใน Wyles & Hall (บ.ก.). Women classical scholars : unsealing the fountain from the Renaissance to Jacqueline de Romilly'. Oxford: Oxford University Press.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Roth, Catharine P. (2 November 2020). "Ada Sara Adler: The Greatest Woman Philologist Who Ever Lived". Harvard Center for Hellenic Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  5. Calder, William; Hallett, Judith P. (1996–1997). "Introduction: Six North American Women Classicists". Classical World. 90 (2–3): 83. doi:10.2307/4351923. JSTOR 4351923.
  6. Weinreich, Otto (1929). "Die Seher Bakis und Glanis, ein Witz des Aristophanes". Archiv für Religionswissenschaft. 27: 57–60.
  7. Jensen, Niels (15 May 2021). "Danske Litteraturpriser".

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้