เหยียน หย่งชุน
เหยียน หย่งชุน (จีน: 嚴詠春) หรือ หยิ่ม เหวงช้น (yim4 wing2 ceon1) ในสำเนียงกวางตุ้ง เป็นจอมยุทธหญิงในตำนานของจีน ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้แรกที่ต้นแบบของมวยกังฟูในแบบที่เรียกว่า "หย่งชุน"
ประวัติ
แก้ในศตวรรษที่ 17 เหยียน หย่งชุน เป็นสาวงามจากมณฑลกวางตุ้ง ได้อยู่กับบิดาของเธอชื่อ ยิ่มยี หลังมารดาของเธอเสียชีวิตลง เธอได้ถูกหมั้นกับพ่อค้าขายเกลือชาวฮกเกี้ยน ชื่อ เหลียง ปอกเชา ตั่งแต่เยาว์วัย หากแต่บิดาจากการช่วยเหลือผู้อื่น ได้ไปมีคดีกับทางบ้านเมืองจึงต้องหลบหนีพร้อมหย่งชุนไปยังพรมแดนระหว่างมณฑลเสฉวนและยูนนาน อาศัยการขายเต้าหู้ยังชีพ ณ เชิงเขาไทซาน ความงามของเธอได้นำความยุ่งยากมาสู่ตัว เมื่ออันธพาลได้มาชอบพอและมาบังคับเธอให้แต่งงาน ทั้งเธอและบิดาเป็นกังวลอย่างยิ่ง หากแต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีกับสถานการณ์เช่นนี้ จนกระทั่งบิดาเธอเล่าเรื่องความยุ่งยากนี้ให้แม่ชีอู่เหมย์ฟัง แม่ชีต้องการช่วยเหลือจึงรับหย่งชุ่นเป็นศิษย์และไปอยู่ด้วยบนเขาและสอนวิทยายุทธ์แขนงใหม่นี้ให้เป็นเวลา 3 ปี หลังจากฝึกฝนจน สามารถป้องกันตนเองได้แล้วหย่งชุ่นจึงกลับมาหาบิดา เมื่ออันธพาลคนเดิมตามมารังควาน ครั้งนี้หย่งชุนไม่ได้หลีกเลี่ยงอีกต่อไป และได้ท้าอันธพาลประลองและเอาสามารถเอาชนะได้ในเวลาอันสั้น
ต่อมาหย่งชุนหลังจากนั้นได้แต่งงานกับเหลียง ปอกเชาและพยายามจะสอนสามีของเธอได้ฝึกมวยหย่งชุ่น หากแต่สามีเธอไม่ได้ให้ความสนใจเท่าไหร่นักเนื่องจากเขาเองได้ฝึกฝนมวยเสี้ยวลิ้มจากวัดเส้าหลินมาอย่างช่ำชองแล้ว แต่หลังจากหย่งชุ่นได้แสดงให้เขาเห็นว่าเธอสามารถชนะเขาได้ครั้งแล้วครั้งเล่า เขาจึงยอมเรียนรู้วิชาการต่อสู้นี้กับหย่งชุน และตั้งชื่อวิทยายุทธ์นี้ตามชื่อภรรยาตนเองว่า “หย่งชุน” หลังจากนั้น เขาสอนวิทยายุทธ์นี้ให้กับเหลียง หล่านไกว ซึ่งต่อมาเป็นผู้เผยแพร่แขนงวิชาหย่งชุนให้กระจายไปในวงกว้าง[1]
ในวัฒนธรรมสมัยนิยม
แก้ในวัฒนธรรมสมัยนิยม เหยียน หย่งชุน ได้รับการอ้างอิงอย่างมากมาย เช่น ซีรีส์เรื่อง วีรบุรุษเส้าหลิน 1981 ที่นำแสดงโดย กวน จิ่นหลุน หรือในบางฉบับที่ดัดแปลงให้หย่งชุนเป็นภรรยาของหง ซีกวน เช่น พยัคฆ์สาวเส้าหลิน ในปี ค.ศ. 1987 ที่นำแสดงโดย หมีเซียะ ซึ่งทั้ง 2 เรื่องนี้สร้างโดยทีวีบี[2] และในแบบภาพยนตร์ เรื่อง หย่งชุน หมัดสั้นสะท้านบู๊ลิ้ม ในปี ค.ศ. 1994 นำแสดงโดย หยาง จื่อฉยง เป็น เหยียน หย่งชุน และ เจิ้น จื่อตัน เป็น เหลียง ปอกเชา กำกับการแสดงโดย หยวน เหอผิง เป็นต้น[3]