เหตุการณ์ 26 กุมภาพันธ์

เหตุการณ์ 26 กุมภาพันธ์, อุบัติการณ์ 26 กุมภาพันธ์ หรือยังเป็นที่รู้จักกันคือ กรณี 2-26 (ญี่ปุ่น: 二・二六事件โรมาจิNi Ni-Roku Jiken) เป็นความพยายามก่อรัฐประหารโดยกลุ่มทหารหนุ่มสายโคโดฮะ ของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 1936 เพื่อโค่นล้มรัฐบาลและกลุ่มทหารสายโทเซฮะ และวางแผนเพื่อสังหารนักการเมืองชนชั้นสูงในจักรวรรดิญี่ปุ่นบางส่วน

เหตุการณ์ 26 กุมภาพันธ์
วันที่26–28 กุมภาพันธ์ 1936
สถานที่โตเกียว, ญี่ปุ่น
เป้าหมาย
ผลกบฎถูกปราบปราม
  • ความพ่ายแพ้ของฝ่ายนายทหารสายโคโดฮะ
  • การก้าวสู่อิทธิพลสูงสุดของฝ่ายทหารสายโทเซฮะ
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ
จำนวน
1,483–1,558[1]
23,841[2]

การกบฎมีสาเหตุขึ้นจากกลุ่มนายทหารวัยหนุ่มได้มารวมตัวกันเพื่อวางแผนการฟื้นฟูโชวะ เพื่อถวายคืนอำนาจแด่สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น โดยมีการประชุมวางแผนการก่อกบฎตั้งแต่วันที่ 18-22 กุมภาพันธ์ และได้เลือกทำการสังหารเป้าหมายบางส่วนที่พวกเขามองว่าขัดต่อ "อุดมคติของชาติ"[3] โดยเป้าหมายการสังหารส่วนใหญ่เคยมีส่วนร่วมในสนธิสัญญาว่าด้วยการจำกัดและการลดอาวุธทางรัฐนาวี หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง และหลังจากนั้นได้มีการก่อตั้ง "กองทัพผู้ชอบธรรม" (ญี่ปุ่น: 義軍โรมาจิGi-gun) ก่อนการก่อการไม่นาน และชูคำขวัญ "เทอดทูนจักรพรรดิ ขับไล่ทรราชย์" (ญี่ปุ่น: 尊皇討奸โรมาจิSonnō Tōkan)

การก่อกบฎเกิดขึ้นในกรุงโตเกียวเป็นเวลาสองถึงสามวัน โดยมีการโจมตีสถานที่สำคัญทางการเมืองหลายแห่ง เช่น บ้านพักนายกรัฐมนตรีโอคาดะ เคสุเกะ แต่รอดชีวิตมาได้, ที่ทำการหนังสือพิมพ์อาซาฮีชิมบุน, ที่ทำการกระทรวงการสงคราม และมีการสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีจักรวรรดิญี่ปุ่น 2 คน ได้แก่ ทากาฮาชิ โคเรกิโยะ และไซโต มาโกโตะ รวมไปถึงมีความพยายามในการควบคุมพระราชวังหลวงโตเกียวเช่นกัน

รัฐบาลจักรวรรดิญี่ปุ่นจึงทำการปราบปราม โดยรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม โยชิยุกิ คาวาชิมะ ได้เข้าพบกับจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ และสมเด็จพระจักรพรรดิออกคำสั่งปราบปรามอย่างเด็ดขาดที่สุด มีการออกประกาศสภาวะฉุกเฉินและกฎอัยการศึก และทำการปราบปรามกลุ่มกองทัพผู้ชอบธรรม จนกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ผู้นำของกลุ่มถูกจับกุมและตัดสินประหารชีวิตในฐานะกบฎต่อแผ่นดิน

อุบัติการณ์ 26 กุมภาพันธ์ เป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่มีการสังหารนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์การลอบสังหารชินโซ อาเบะ ในปี 2022

อ้างอิง

แก้
  1. Chaen (2001), p. 130
  2. Chaen (2001), p. 146. Number does not include IJN personnel.
  3. 高橋正衛(1994) 『二・二六事件 「昭和維新」の思想と行動』 中公新書