เสือร้องไห้ (ภาพยนตร์)
เสือร้องไห้ เป็นภาพยนตร์สารคดีที่นำเสนอในรูปแบบเรียลลิตี้โชว์ ติดตามถ่ายทำเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของคนต่างจังหวัดจำนวน 5 คน ที่ต้องจากบ้านเกิดเข้ามาเป็นผู้ใช้แรงงานในกรุงเทพมหานคร
เสือร้องไห้ | |
---|---|
กำกับ | สันติ แต้พานิช |
อำนวยการสร้าง | สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ |
นักแสดงนำ | พรศักดิ์ ส่องแสง เหลือเฟือ ม๊กจ๊ก วิเนตร เพชรชัย สมบูรณ์ เอกพล รัตนกรณ์ สุทธิประภา ทัชชกร ยีรัมย์ |
กำกับภาพ | ภราดร ใจดี |
ตัดต่อ | สันติ แต้พานิช |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม |
วันฉาย | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 |
ความยาว | 94 นาที |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจากสยามโซน |
นักแสดงทั้งห้า เป็นคนอีสานที่ประกอบอาชีพแตกต่างกันไป ประกอบด้วย
- พรศักดิ์ ส่องแสง - นักร้องหมอลำชื่อดัง เจ้าของฉายา "ไอ้หนุ่มแขนซ้ายลายมังกร" มาบอกเล่าเรื่องราวของชีวิตตัวตั้งแต่ยังยากจน เข้ามาเสี่ยงโชคในกรุง จนได้เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียง ออกตระเวนแสดงมาแล้วทั่วโลก
- เหลือเฟือ ม๊กจ๊ก - นักแสดงตลกหัวหน้าคณะเหลือเฟือ ม๊กจ๊ก ผู้ไต่เต้ามาจากกรรมกร
- สมบูรณ์ เอกพล (แมน หัวปลา) - พนักงานโบกรถลูกค้าเข้าสวนอาหาร นักร้องเสียงดีผู้มีความใฝ่ฝันจะเป็นนักแสดง แมนเป็นชาวอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ ขณะนั้นยังขึ้นกับจังหวัดหนองคาย บ้านเดียวกับเหลือเฟือ และเข้ามาเป็นน้องใหม่ในคณะเหลือเฟือ ม๊กจ๊ก มารดาของแมนเสียชีวิตระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์ และมีการไปถ่ายทำในงานศพด้วย
- วิเนตร เพชรชัย (เนตร อินทรีเหล็ก) - สตันท์แมน ผู้มีหน้าที่แสดงแทนในฉากเสี่ยงอันตราย มีความฝันที่จะมีชื่อเสียงเหมือนทัชชกร ยีรัมย์ ทางบ้านเข้าใจว่าเขาเป็นดารามีชื่อเพราะเขาได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง เช่น องค์บาก ต้มยำกุ้ง เกิดมาลุย เนตรเคยเป็นพ่อครัวในร้านอาหาร แต่ชื่นชอบการเป็นนักแสดง จึงลาออกมาเป็นสตันท์แมนในสังกัดค่ายอินทรีย์เหล็ก
- รัตนกรณ์ สุทธิประภา (อ้อย สิงห์นักขับ) - คนขับแท็กซี่หญิง ผู้มีความภูมิใจในอาชีพหลังพวงมาลัย และได้เลื่อนขั้นมาขับรถเทรลเลอร์ 18 ล้อเป็นครั้งแรกในชีวิต
ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดย สันติ แต้พานิช ใช้ทีมงานติดตามถ่ายทำชีวิตความเป็นอยู่ของนักแสดงเป็นเวลา 1 ปี ใช้ฟิล์มประมาณ 300 ม้วน นำมาตัดต่อ ออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2548 ก่อนภาพยนตร์จะเข้าฉายได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมาก แต่ภาพยนตร์ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้[ต้องการอ้างอิง]
ทีมงาน
แก้- กำกับการแสดง / เรื่อง / ตัดต่อ
- สันติ แต้พานิช
- กำกับภาพ
- ภราดร ใจดี
- บันทึกเสียง
- ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ
- ควบคุมการสร้าง
- ที่ปรึกษา
เพลงประกอบ
แก้- เพลง น้ำตาสาววาริน - จินตหรา พูนลาภ
- เพลง น้ำตาจ่าน้อย - ลูกแพร ไหมไทย อุไรพร
- เพลง รอเมียพี่เผลอ - เฉลิมพล มาลาคำ
- เพลง โบว์แดงแสลงใจ - พาเมล่า เบาว์เด้น
- เพลง สาวหมอลำจำได้ - พิมพา พรศิริ
- เพลง จากใจแมน
- เพลง พี่เมาวันเขาหมั้น - แมน มณีวรรณ
- เพลง คิดถึงพี่ไหม - ศรคีรี ศรีประจวบ
- เพลง พี่ชายชั่วคราว - ฝน ธนสุนทร
- เพลง ปริญญาใจ - ศิริพร อำไพพงษ์
- เพลง ละครชีวิต - ไมค์ ภิรมย์พร
- เพลง ขอคนรู้ใจ - ไมค์ ภิรมย์พร
- เพลง นึกว่าแน่แค่ไหน - พุ่มพวง ดวงจันทร์
- เพลง พบรักที่ปากน้ำโพ - หนู มิเตอร์
- เพลง รักข้ามกำแพง - สังข์ทอง สีใส
- เพลง เต้ยสาวจันทร์กั้งโกบ - พรศักดิ์ ส่องแสง
- เพลง ลอยแพ - พรศักดิ์ ส่องแสง
- เพลง เต้ยแล้วแต่วาสนา - พรศักดิ์ ส่องแสง [1]
- เพลง รักเต็มร้อย - สมมาส ราชสีมา
- เพลง เสียความรู้สึก - สายัณห์ สัญญา
- เพลง ผาแดงนางโอ่ - เฉลิมพล มาลาคำ
- เพลง พ่อลูกอ่อน - ชาย เมืองสิงห์
อ้างอิง
แก้- ↑ ในภาพยนตร์ระบุว่าชื่อเพลง เต้ยสุดแท้แต่วาสนา เพราะประโยคแรกในเพลงขึ้นว่า สุดแท้แต่วาสนา