เรือดำน้ำแบบ 206
เรือดำน้ำแบบ 206 (อังกฤษ: Type 206 submarine; เยอรมัน: U-Boot-Klasse 206) เป็นเรือดำน้ำเครื่องยนต์ดีเซลของเยอรมนี ได้รับการออกแบบและสร้างโดยบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft (HDW) เป็นเรือดำน้ำขนาดเล็กที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อประจำการในกองทัพเยอรมนีตะวันตกเพื่อต่อต้านประเทศสนธิสัญญาวอร์ซอในช่วงสงครามเย็น [1] เหมาะสำหรับทะเลน้ำตื้น โดยเฉพาะในทะเลบอลติก ตัวลำเรือเป็นโลหะผสม non-magnetic ทำให้ตรวจจับได้ยาก และปลอดภัยจากทุ่นระเบิดแบบแม่เหล็ก
เรือดำน้ำแบบ 206 มีความยาว 48.6 เมตร ระวางขับน้ำ 498 ตัน มีท่อปล่อยตอร์ปิโดขนาด 533 มม. จำนวน 8 ท่อ
เรือดำน้ำแบบ 206 ถูกสร้างขึ้นที่อู่ต่อเรือของบริษัท Howaldtswerke-Deutsche Werft เมืองคีล ทั้งสิ้น 18 ลำ ระหว่างปี ค.ศ. 1968 ถึง 1975 เริ่มประจำการตั้งแต่ ค.ศ. 1971 และอีก 2 ลำถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือของบริษัทวิคเกอร์ที่เมืองแบโรว์ สหราชอาณาจักร เพื่อส่งออกเป็นเรือดำน้ำชั้นแกล ของอิสราเอล
ระหว่างปี ค.ศ. 1987 ถึง 1992 เรือดำน้ำจำนวน 16 ลำได้รับการปรับปรุงระบบโซนาร์ ระบบนำทาง และระบบขับเคลื่อน และถูกตั้งรหัสเรียกขานเป็น U206A ปัจจุบันคงเหลือประจำการในกองทัพเยอรมนีจำนวน 6 ลำ โดยมีแผนการจะปลดประจำการ เพื่อทดแทนด้วยเรือดำน้ำรุ่นใหม่ แบบ 212 [2] ซึ่งใช้เครื่องยนต์ดีเซล และเซลเชื้อเพลิง [3]
เรือ U206A หกลำที่เหลือของเยอรมนี สี่ในสองลำได้ถูกพัฒนาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานNATOเพราะถูกใช้ประจำการในทะเลบอร์ติกซึ่งมีความลึกเฉลี่ยใกล้เคียงกับอ่าวไทยคือประมาณ 55เมตร ส่วนเรืออีกสองลำถูกเก็บไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน ต่อมาเนื่องจากความต้องการที่จะลดการใช้งบประมาณของกองทัพเรือเยอรมัน ประกอบกับการที่ต้องการจะลดความยุ่งยากในการฝึกสายกำลังพลของกองทัพเรือเยอรมันที่จะนำเรือรุ่นU212ซึ่งเป็นเรือดำน้ำรุ่นใหม่เข้ามาทดแทนเรือU206A ทำให้กองทัพเรือเยอรมันตัดสินใจปลดประจำการเรือดำน้ำU206Aทั้งสี่ลำก่อนกำหนดสิบปีแล้ว โดยได้เสนอขายแก่กองทัพเรือไทยเนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศที่ใกล้ชิดโดยเฉพาะในระดับกองทัพเรือ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการจัดหาเรือดำน้ำเข้าประจำการของกองทัพเรือไทย โดยการเสนอขายครั้งนี้รวมทั้งหมดมีมูลค่า 7,700 ล้านบาทไทยซึ่งในราคาดังกล่าวรวมถึงการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่จำเป็นต่อการประจำการของเรือดำน้ำ อะไหล่ ห้องจำลองสถานการณ์ รวมถึงการปรับปรุงภายในให้สามารถปฏิบัติงานในประเทศเขตร้อนได้ดีขึ้น อาทิเช่นการติดตั้งเครื่องปรับอากาศภายในตัวเรือ นอกจากนี้ทางเยอรมันยังจะช่วยเหลือในการฝึกกำลังผลของไทยในการยุทธด้านเรือดำน้ำที่ไทยขาดช่วงไปเป็นเวลานานถึง 60 ปี ดังนั้นการเสนอขายครั้งนี้จึงเปรียบเสมือนการซื้อมาทั้งกองเรือดำน้ำของเยอรมันมาที่ไทยทั้งเรือ อะไหล่ และสิ่งก่อสร้าง หากได้เข้าประจำการจะนำเข้าประจำการ 4 ลำหมุนเวียนตามวงรอบการใช้งาน และอีก 2 ลำในการฝึกกำลังพลและเรืออะไหล่ โดยมีกองทัพเรืออื่นอาทิ เช่นกองทัพเรือประเทศชีลิ และกองทัพเรือโคลัมเบีย ให้ความสนใจเช่นกัน [4][5] และในที่สุดเมื่อถึงกำหนดการแจ้งความจำนงค์ต่อรัฐบาลเยอรมันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ฝ่ายไทยไม่สามารถนำเรื่องเข้าพิจารณาได้ทัน เรือในชุด U206A ที่เหลือนี้จำนวน 2 ลำ จึงถูกขายให้กองทัพเรือโคลัมเบียไป อนึ่ง ก่อนหน้านี้เรือจำนวน 4 ลำในชั้นนี้คือ U206 ซึ่งยังไม่ได้รับการปรับปรุงเป็น U206Aโดยกองทัพเรือเยอรมัน ได้ถูกจัดซื้อไปประจำการในกองทัพอินโดนีเซีย ใช้ชื่อว่า Nagarongsang, Nagabanda, Bramastra, Alugoro ซึ่งต่อมาอินโดนีเชียได้ปลดประจำการและทดแทนด้วยเรือU209 ซึ่งเป็นเรือที่เยอรมันผลิตขึ้นแต่ขายแต่ถูกต่อโดยเกาหลีใต้เนื่องจากขายสิทธิการผลิตให้ 2 ลำ โดยเรือดำน้ำU209นั้นไม่มีการนำเข้าประจำการในกองทัพเรือเยอรมัน [6]
อ้างอิง
แก้- ↑ Unterseeboot Klasse U 206 A
- ↑ Germany retires more than half of its subs
- ↑ Germany Retires 6 Of Its 10 Submarines[ลิงก์เสีย]
- ↑ [1] เก็บถาวร 2011-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บทสัมภาษณ์ของผู้บังชาการกองเรือดำน้ำแห่งกองทัพเรือไทย โดยเว็บไซต์ Thai Armed Force, 21/4/2011
- ↑ Thai navy in line for first subs fleet[ลิงก์เสีย] Bangkok Post, 28/03/2011
- ↑ Jane's Navy International[ลิงก์เสีย] Oct 01, 1997
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Type 206 submarine