เรือดำน้ำชั้นดอลฟิน

เรือดำน้ำชั้นดอลฟิน (ฮีบรู: הצוללות מסדרת דולפין; อังกฤษ: Dolphin-class submarine) เป็นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าที่สร้างโดยโฮวัลด์ทสแวร์เค-ด็อยท์เชอแวฟท์ อาเก (HDW) ในคีล ประเทศเยอรมนี สำหรับกองทัพเรืออิสราเอล[4] เรือลำแรกของชั้นนี้มีพื้นฐานมาจากเรือดำน้ำชั้น 209 ของเยอรมันที่ส่งออกเท่านั้น แต่มีการปรับเปลี่ยนและขยายขนาด ซึ่งเรือดำน้ำชั้นย่อยอย่างดอลฟิน 1 มีขนาดใหญ่กว่าแบบ 212 ของกองทัพเรือเยอรมันเล็กน้อยในด้านความยาวและขนาด เรือดำน้ำที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนที่ไม่ใช้อากาศจากภายนอก (AIP) รุ่นใหม่สามลำมีลักษณะคล้ายกับเรือดำน้ำแบบ 212 ในด้านความทนทานใต้น้ำ แต่ยาวกว่า 12 เมตร (39 ฟุต) หนักเกือบ 500 ตันในการทำให้เคลื่อนที่ใต้น้ำ และมีลูกเรือที่มากกว่าทั้งแบบ 212 หรือแบบ 214

เรือดำน้ำชั้นดอลฟิน
ดอลฟิน เรือของกองทัพเรืออิสราเอล (ค.ศ. 2010)
ภาพรวมชั้น
ผู้สร้าง: โฮวัลด์ทสแวร์เค-ด็อยท์เชอแวฟท์ (HDW)
ผู้ใช้งาน: Naval flag of อิสราเอล กองทัพเรืออิสราเอล
ก่อนหน้าโดย: ชั้นแกล
ราคา: 600 ล้านยูโร (ค.ศ. 2016) ต่อหน่วย
เสร็จแล้ว:
  • ดอลฟิน (แปลว่า "โลมา")
  • เลวีอาธาน (แปลว่า "วาฬ" หรือเลวีอาธาน)
  • เทคูมาห์ (แปลว่า "คืนชีพ")
  • ทานิน (แปลว่า "จระเข้" หรือแทนนิน)
  • ราฮัฟ (แปลว่า "อลังการ" หรือราหับ)
ใช้การอยู่: 5 ลำ (ติดตั้งอีก 1 ลำ) (สั่งเพิ่ม 3 ลำ)[1][2]
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
  • ชั้นดอลฟิน 1: พื้นน้ำ 1,640 ตัน, ดำน้ำ 1,900 ตัน
  • ชั้นดอลฟิน 2: พื้นน้ำ 2,050 ตัน, ดำน้ำ 2,400 ตัน[3]
ความยาว:
  • 57.3 ม. (188 ฟุต) สำหรับดอลฟิน 1
  • 68.6 ม. (225 ฟุต) สำหรับดอลฟิน 2[3]
  • ความกว้าง: 6.8 ม. (22 ฟุต)
    กินน้ำลึก: 6.2 ม. (20 ฟุต)
    ระบบขับเคลื่อน: ดีเซลไฟฟ้า, 3 ดีเซล, 1 เพลา, 4,243 แรงม้าเพลา (3,164 กิโลวัตต์)
    ความเร็ว:
    • ชั้นดอลฟิน 1: 20 นอต (37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 23 ไมล์ต่อชั่วโมง)
    • ชั้นดอลฟิน 2: เกิน 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 29 ไมล์ต่อชั่วโมง)[3]
    ทดสอบความลึก: อย่างน้อย 350 ม. (1,150 ฟุต)
    อัตราเต็มที่: เพิ่มเติม 35 + 10 นาย
    ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: ระบบการรบเอสทีเอ็น แอตลัส ไอเอสยูเอส 90-55
    ยุทโธปกรณ์:
    • ท่อยิงตอร์ปิโด 533 มม. (21.0 นิ้ว) 6 ท่อ
    • ท่อยิงตอร์ปิโดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 650 มม. (26 นิ้ว) 4 ท่อ
    หมายเหตุ: เว้นแต่จะระบุไว้ คุณสมบัติที่ระบุไว้เป็นของรุ่นดั้งเดิมที่ไม่รองรับระบบขับเคลื่อนที่ไม่ใช้อากาศจากภายนอกในคริสต์ทศวรรษ 1990

    ส่วนชั้นดอลฟิน 2 เป็นเรือดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดที่สร้างขึ้นในประเทศเยอรมนี นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[3] ซึ่งเรือดำน้ำชั้นดอลฟินเป็นยานพาหนะเดี่ยวที่ราคาแพงที่สุดในกองกำลังป้องกันอิสราเอล[5] เรือดำน้ำชั้นดอลฟินได้เข้ามาแทนที่เรือดำน้ำชั้นแกลรุ่นเก่า ซึ่งเข้าประจำการในกองทัพเรืออิสราเอลตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 เรือดำน้ำชั้นดอลฟินแต่ละลำสามารถบรรทุกตอร์ปิโดและขีปนาวุธร่อนติดเรือดำน้ำ (SLCM) ป๊อปอายเทอร์โบรวมกันได้มากถึง 16 ลูก[6] ขีปนาวุธร่อนมีระยะอย่างน้อย 1,500 กม. (930 ไมล์)[7] และเชื่อกันอย่างแพร่หลาย[8][9] ว่าได้ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ 200 กิโลตันที่บรรจุพลูโทเนียมได้ถึง 6 กิโลกรัม (13 ปอนด์)[10][11] หากเป็นจริงอย่างหลังนี้ ก็จะช่วยให้อิสราเอลสามารถใช้การตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ไกลฝั่งได้[12][13][14][15]

    อ้างอิง แก้

    1. Eshel, Tamir (6 May 2011). "Israel to Receive a Third Enhanced Dolphin Submarine". Defense Update. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
    2. "Sixth Submarine: "The Contract Continues"". israeldefense.com. 31 October 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Cavas, Christopher P. (15 August 2014). "Israel's Deadliest Submarines Are Nearly Ready". Intercepts. Defense News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 August 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    4. "Israel's Navy Receives the Fifth Dolphin Submarine". Defense-Update.com. 29 April 2013. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    5. "'Spy tool': Commander touts strategic role of new Israeli submarines". World Tribune. 5 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2014. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    6. "SSK Dolphin Class, Israel". naval-technology.com. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    7. Friedman, Norman (2006). The Naval Institute guide to world naval weapon systems. Naval Institute Press. p. 505.
    8. Bergman, Ronen (3 June 2012). "Report: Dolphin subs equipped with nuclear weapons". ynetnews.com. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    9. "International and Professional Press about the new Dolphin Submarines". สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    10. "Popeye Turbo". GlobalSecurity.org. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    11. Mahnaimi, Uzi; Campbell, Matthew (18 June 2000). "Israel Makes Nuclear Waves With Submarine Missile Test". Sunday Times. London.
    12. Cirincione, Joseph; Wolfsthal, Jon B.; Rajkumar, Miriam (2005). Deadly arsenals: nuclear, biological, and chemical threats. Carnegie Endowment. pp. 263–4.
    13. Plushnick-Masti, Ramit (25 August 2006). "Israel Buys 2 Nuclear-Capable Submarines". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.
    14. Ben-David, Alon (1 October 2009). "Israel seeks sixth Dolphin in light of Iranian 'threat'". Jane's Defence Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
    15. Mahnaimi, Uzi (30 May 2010). "Israel stations nuclear missile subs off Iran". The Sunday Times. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 6, 2011. สืบค้นเมื่อ 25 December 2014.

    แหล่งข้อมูลอื่น แก้