เยื่อหุ้มสมอง
เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) เป็นระบบของเยื่อหุ้มที่ปกคลุมระบบประสาทกลาง เยื่อหุ้มสมองประกอบด้วยชั้น 3 ชั้นได้แก่ เยื่อดูรา หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater) , เยื่ออะแร็กนอยด์ หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (arachnoid mater) , และเยื่อเพีย หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) หน้าที่หลักของเยื่อหุ้มสมองและน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid) คือเพื่อปกป้องระบบประสาทกลาง
เยื่อหุ้มสมอง (และไขสันหลัง) (Meninges) | |
---|---|
เยื่อหุ้มสมองของระบบประสาทกลาง | |
รายละเอียด | |
หลอดเลือดแดง | หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงมีดังนี้
|
ประสาท | เส้นประสาทมิดเดิลเมนินเจียล (middle meningeal nerve) , nervus spinosus |
ตัวระบุ | |
MeSH | D008578 |
TA98 | A14.1.01.001 |
TA2 | 5369 |
FMA | 231572 |
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์ |
กายวิภาคศาสตร์ของเยื่อหุ้มสมอง
แก้เยื่อเพีย
แก้เยื่อเพีย หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นใน (pia mater) เป็นเยื่อที่มีความบอบบางมาก อยู่ใกล้ชิดกับสมองและไขสันหลังมากที่สุด แนบไปกับกลีบ (gyrus) และร่อง (sulcus) ของสมอง เป็นเยื่อที่อยู่ชิดติดแน่นกับผิวของสมองและไขสันหลัง เยื่อเพียเป็นเยื่อที่บางมาก ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous tissue) ที่ถูกปกคลุมด้วยแผ่นของเซลล์แบนๆ ที่เชื่อว่าน้ำซึมผ่านไม่ได้ เยื่อเพียจะมีหลอดเลือดที่ทอดตัวไปตามสมองและไขสันหลัง และมีหลอดเลือดฝอยที่ทำหน้าที่เลี้ยงสมอง
เยื่ออะแร็กนอยด์
แก้เยื่อที่อยู่ชั้นกลางเรียกว่า เยื่ออะแร็กนอยด์ หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (arachnoid mater) ชื่อ อะแร็กนอยด์ (arachnoid) มีความหมายว่า คล้ายใยแมงมุม เนื่องจากเยื่อชั้นนี้มีลักษณะคล้ายกับใยแมงมุม ทำหน้าที่กันการกระทบกระเทือนต่อระบบประสาทกลาง เยื่ออะแร็กนอยด์มีลักษณะบาง ใส ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเส้นใยที่ถูกปกคลุมด้วยแผ่นของเซลล์แบนๆ ที่เชื่อว่าน้ำซึมผ่านไม่ได้เช่นเดียวกับเยื่อเพีย เยื่อนี้จะไม่แนบไปกับร่องหรือลอนสมองบนผิวสมอง และจะมองดูเป็นถุงหุ้มหลวมๆ ในบริเวณของสมองจะมีเส้นใยละเอียดจำนวนมาก เรียกว่า อะแร็กนอยด์ ทราบีคูลาร์ (arachnoid trabeculae) ที่ผ่านชั้นอะแร็กนอยด์ไปยังช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) เพื่อเชื่อมกับเนื้อเยื่อของเยื่อเพีย
เยื่ออะแร็กนอยด์และเยื่อเพียอาจเรียกรวมกันว่า "เลปโตเมนิงซ์" (leptomeninges)
เยื่อดูรา
แก้เยื่อดูรา หรือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (dura mater) [หรืออาจเรียกว่า meninx fibrosa หรือ "แพคีเมนิงซ์" (pachymeninx)] เป็นเยื่อที่หนาและทนทาน ใกล้กับกะโหลกศีรษะมากที่สุด ภายในมีหลอดเลือดขนาดใหญ่ซึ่งแตกแขนงออกเป็นหลอดเลือดฝอยในเยื่อเพีย ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเส้นใยชนิดหนา (dense fibrous tissue) และผิวด้านในปกคลุมด้วยเซลล์แบนๆ ชนิดเดียวกับที่อยู่บนผิวของเยื่อเพียและเยื่ออะแร็กนอยด์ดังที่กล่าวมาแล้ว เยื่อดูราเป็นถุงที่ปกคลุมเยื่ออะแร็กนอยด์ และอาจเปลี่ยนปลงรูปร่างไปทำหน้าที่ต่างๆ ได้หลากหลาย เยื่อดูราอาจถูกล้อมรอบและค้ำจุนไปด้วยช่องเลือดดำขนาดใหญ่ (venous channels) เรียกว่า dural sinuse ทำหน้าที่ขนส่งเลือดจากสมองไปยังหัวใจ
ช่องว่าง
แก้ช่องว่างใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ (subarachnoid space) เป็นช่องว่างที่โดยทั่วไปอยู่ระหว่างเยื่ออะแร็กนอยด์และเยื่อเพีย ภายในมีน้ำหล่อสมองไขสันหลัง (cerebrospinal fluid)
โดยปกติแล้วเยื่อดูราจะอยู่ชิดกับกะโหลกศีรษะ หรือกระดูกอื่นๆ ของช่องในกระดูกสันหลังซึ่งเป็นที่อยู่ของไขสันหลัง เยื่ออะแร็กนอยด์จะติดกับเยื่อดูรา และเยื่อเพียจะติดกับเนื้อเยื่อของระบบประสาทกลาง เมื่อเกิดเหตุที่ทำให้เยื่อดูราและเยื่ออะแร็กนอยด์แยกจากกันเช่นจากอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วย จะเกิดช่องว่างใต้เยื่อดูรา (subdural space)
พยาธิวิทยา
แก้การตกเลือด (hemorrhage) ที่เกี่ยวข้องกับเยื่อหุ้มสมองมี 3 ประเภท[1]
- เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง (subarachnoid hemorrhage) เป็นการตกเลือดอย่างเฉียบพลันใต้เยื่ออะแร็กนอยด์ อาจเกิดขึ้นได้เองหรือเป็นผลจากการบาดเจ็บ
- เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (subdural hematoma) เป็นก้อนเลือดขัง (hematoma) ที่อยู่ในรอยแยกของเยื่ออะแร็กนอยด์และเยื่อดูรา เกิดจากหลอดเลือดดำขนาดเล็กซึ่งเชื่อมระหว่างเยื่อดูราและเยื่ออะแร็กนอยด์เกิดฉีกขาดจากอุบัติเหตุ ทำให้เลือดออกมาขังบริเวณนี้ได้
- เลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอก (epidural hematoma) มักเกิดขึ้นได้เองหรือเกิดหลังจากอุบัติเหตุ เช่น หลอดเลือดแดงมิดเดิลเมนินเจียล (middle meningeal artery) ฉีกขาดหลังจากถูกกระแทกอย่างแรงที่ทัดดอกไม้ (pterion)
ภาวะทางการแพทย์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยื่อหุ้มสมอง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (meningitis) มักเกิดจากเชื้อรา, แบคทีเรีย, หรือการติดเชื้อจากไวรัส และมะเร็งเยื่อหุ้มสมอง (meningioma) เกิดจากเนื้องอกในเยื่อหุ้มสมองเองหรือเนื้องอกจากบริเวณอื่นที่แพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มสมอง
ภาพอิ่นๆ
แก้-
แผนภาพแสดงภาพตัดผ่านด้านบนของกะโหลกศีรษะ
-
ภาพตัดผ่านหนังศีรษะ
อ้างอิง
แก้- ↑ Orlando Regional Healthcare, Education and Development. 2004. "Overview of Adult Traumatic Brain Injuries." เก็บถาวร 2008-02-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เข้าชมเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2551