หลอดเลือดฝอย (อังกฤษ: capillary) คือ หลอดเลือดที่ขนาดเล็กมากแตกแขนงจากหลอดเลือดใหญ่ไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย มีผนังบาง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวเป็นที่แลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่าง ๆ ระหว่างเซลล์กับเลือด[3]

หลอดเลือดฝอย
ภาพอย่างง่ายแสดงข่ายใยของหลอดเลือดฝอย[1]).
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินvas capillare[2]
MeSHD002196
TA98A12.0.00.025
TA23901
THH3.09.02.0.02001
FMA63194
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ผนังหลอดเลือดฝอย

แก้

ผนังของหลอดเลือดฝอยประกอบด้วยเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด (endothelial cell) มาเรียงตัวกันเพียงชั้นเดียว และมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8-10 ไมโครเมตร เนื่องจากผนังของหลอดเลือดฝอยนั้นมีความบางมาก จึงเป็นทางผ่านเข้าออกของสารต่างๆเช่น น้ำ, แก๊สออกซิเจน, แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งสารอาหารและของเสียต่างๆระหว่างเลือดกับเนื้อเยื่อหรือเซลล์ที่อยู่ล้อมรอบได้

ชนิดของหลอดเลือดฝอย

แก้

หลอดเลือดฝอยแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ตามลักษณะของผนังหลอดเลือดฝอย ได้แก่

  • หลอดเลือดฝอยผนังต่อเนื่อง (continuous capillary) : ที่ผนังของหลอดเลือดฝอยชนิดนี้จะไม่มีช่องว่างอยู่เนื่องจากเซลล์เรียงเสมอกันเรียบร้อย พบได้ที่กล้ามเนื้อลายและในระบบประสาท
  • หลอดเลือดฝอยผนังมีรู (fenestrated capillary) : ผนังของหลอดเลือดฝอยชนิดนี้จะมีรูพรุน จึงพบได้ที่ไต และต่อมไร้ท่อ
  • หลอดเลือดฝอยผนังไม่ต่อเนื่อง (discontinuous capillary) : ผนังของหลอดเลือดฝอยชนิดนี้จะไม่มีรู เพียงแต่ต่อกันไม่สนิทเหมือนหลอดเลือดฝอยชนิดแรก สามารถพบได้ที่อวัยวะต่างๆเช่น ตับ, ม้าม รวมทั้งไขกระดูก เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Sakai 13
  2. "THH:3.09 The cardiovascular system". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-29. สืบค้นเมื่อ June 3, 2014.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-08-16.