เพ็ชรา เตชะกัมพุช
ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิง เพ็ชรา เตชะกัมพุช (เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2476) เป็นทันตแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร,ประธานกรรมการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์,ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ,อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,ประธานกรรมการแผนกทันตแพทยศาสตร์ มูลนิธิอานันทมหิดล
เพ็ชรา เตชะกัมพุช | |
---|---|
เกิด | 16 สิงหาคม พ.ศ. 2476 |
คู่สมรส | สิทธิ์ เตชะกัมพุช |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช เป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2542 ได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตรบัณฑิต รางวัลเหรียญทอง มหาวิทยาลัย แพทยศาสตร์และปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์จากมหาวิทยาลัยอินเดียน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 วาระ
การทำงาน
แก้ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช เป็นผู้ริเริ่มวิทยาการ "ครอบฟันพอร์ซเลน" ขึ้นที่ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นแห่งแรกในประเทศไทยจนเป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน[ต้องการอ้างอิง]ป็นผู้ริเริ่มและสนับสนุนให้มีโครงการวิจัยครบวงจรในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สนับสนุนให้มีหน่วยงานเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ หน่วยวิจัยทันตวัสดุ และหน่วยวิจัยอิมมูโนเพื่อรับรองงานบัณฑิตศึกษา จัดตั้งศูนย์ทันตสารสนเทศเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างคณะทันตยแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับคณะทันตแพทยศาสตร์อื่นๆทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมการการบริหารโครงการพัฒนาอาจารย์ สาขาทันตแพทย์ของทบวงมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นต้นแบบของโครงการที่มุ่งเน้นการรักษามาตรฐานทางวิชาการ ริเริ่มและดำเนินการขอพระราชทานทุน "อานันทมหิดล" ให้แก่วิชาชีพทันตแพทย์ นอกจากนี้ยังเป็นผู้สนับสนุนให้มีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะทันตแพทยศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลด้านวิชาการและวิจัยร่วมกันในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และความเป็นเลิศด้านการวิจัยให้ทัดเทียมกับนานาชาติ สืบทอดโครงการทันตกรรมพระราชทานในฐานะผู้อำนวยการโครงการ ซึ่งเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อขจัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎรผู้ยากไร้ในท้องถิ่นทุรกันดาร กระทั่งโครงการทันตกรรมพระราชทานได้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ จนได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] และเกิดผลสำเร็จนำไปสู่การพัฒนาชุดเก้าอี้ทำฟันที่เคลื่อนย้ายได้สะดวกและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ของสภาวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2539 นอกจากนี้ยังริเริ่มจัดตั้งโรงพยาบาลคณะทันตแพทยศาสตร์ขึ้นในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นผู้ดำเนินการให้มีการก่อสร้างอาคารของโรงพยาบาล ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า "อาคารสมเด็จย่า 93"
เกียรติคุณ
แก้- บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2542
- ปริญญาทันตแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[3]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[4]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๒๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๒๓ ง หน้า ๘๙๕, ๗ มีนาคม ๒๕๑๐