เพาล์ โยฮัน ลูทวิช ฟ็อน ไฮเซอ (เยอรมัน: Paul Johann Ludwig von Heyse; 15 มีนาคม ค.ศ. 1830 – 2 เมษายน ค.ศ. 1914) เป็นนักเขียนคนสำคัญชาวเยอรมันผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมใน ค.ศ. 1910[1] ฟ็อน ไฮเซอ เป็นบุตรของคาร์ล วิลเฮ็ล์ม ลูทวิช ไฮเซอ นักนิรุกติศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง และยูเลีย ซาลิง บุตรีผู้มาจากตระกูลชาวยิวที่มีหน้ามีตาและมีความเกี่ยวดองกับช่างอัญมณีประจำราชสำนัก ฟ็อน ไฮเซอ ศึกษาภาษาคลาสสิกในเบอร์ลิน และย้ายไปบ็อนเพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะและภาษากลุ่มโรมานซ์ หลังจากนั้นก็แปลงานกวีนิพนธ์ของกวีอิตาลีหลายคน และเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายที่ได้รับการตีพิมพ์หลายเรื่อง แต่เรื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดคือเรื่อง คินเดอร์แดร์เว็ลท์ ("ยุวชนของโลก", ค.ศ. 1873) ในเบอร์ลิน ฟ็อน ไฮเซอ เป็นสมาชิกของสมาคมกวี ทุนเนิลอือเบอร์แดร์ชเปร ("อุโมงค์ข้ามแม่น้ำชเปร") และในมิวนิกก็เป็นสมาชิกของสมาคมกวี ดีโครโคดีเลอ ("เจ้าจระเข้") พร้อมกับเอมานูเอล ไกเบิล

เพาล์ ไฮเซอ
เพาล์ โยฮัน ลูทวิช ฟ็อน ไฮเซอ
เกิด15 มีนาคม ค.ศ. 1830(1830-03-15)
เบอร์ลิน ราชอาณาจักรปรัสเซีย สมาพันธรัฐเยอรมัน
เสียชีวิต2 เมษายน ค.ศ. 1914(1914-04-02) (84 ปี)
มิวนิก ราชอาณาจักรบาวาเรีย จักรวรรดิเยอรมัน
สัญชาติชาวเยอรมัน
อาชีพนักเขียน
แบบแผนการกล่าวถึงนวนิยาย, กวีนิพนธ์, บทละคร, งานแปล
ตำแหน่งนักเขียน
รางวัลรางวัลโนเบล ค.ศ. 1910

ฟ็อน ไฮเซอ เขียนหนังสือ กวีนิพนธ์ และบทละครราว 60 เรื่อง ผลงานจำนวนมากทำให้ฟ็อน ไฮเซอ กลายเป็นผู้นำในบรรดานักวิชาการหรือปัญญาชนเยอรมัน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ในปี ค.ศ. 1910 ในฐานะ

as a tribute to the consummate artistry, permeated with idealism, which he has demonstrated during his long productive career as a lyric poet, dramatist, novelist and writer of world-renowned short stories

เวียร์เซิน ผู้ตัดสินคนหนึ่งของคณะกรรมการโนเบล กล่าวว่า "เยอรมนีไม่มีอัจฉริยะทางด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่เกอเทอ"

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้