โรคลมเหตุร้อน

(เปลี่ยนทางจาก เป็นลมเพราะความร้อน)

โรคลมเหตุร้อน[5][6][7][8][9] หรือ โรคลมแดด[10] (อังกฤษ: heat stroke, heliosis, siriasis, หรือ sunstroke) เป็นอาการเจ็บป่วยจากความร้อนแบบรุนแรงอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิกายสูงเกิน 40.0 องศาเซลเซียสและมีอาการสับสน[4] อาการอื่น เช่น ผิวหนังแดง ปวดศีรษะและวิงเวียน[2] โดยโรคลมแดดโดยทั่วไปไม่มีเหงื่อ แต่สำหรับโรคลมแดดจากการออกแรงโดยทั่วไปมีเหงื่อ โรคลมแดดอาการอาจเป็นแบบฉับพลันหรือค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ โรคนี้มีอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากร่างกายมีอุณหภูมิสูงเกินอย่างรุนแรงและการทำหน้าที่ของหลายอวัยวะผิดปกติเนื่องจากได้รับความร้อน[11] ภาวะแทรกซ้อนอาจมีอาการชัก การสลายของกล้ามเนื้อลายและไตวายได้[3]

โรคลมเหตุร้อน
(Heat stroke)
ชื่ออื่นSun stroke, siriasis[1]
ทหารอังกฤษขณะรับการรักษาด้วยสเปรย์น้ำเพื่อลดอุณหภูมิกาย ซึ่งเป็นการรักษาโรคลมเหตุร้อนวิธีหนึ่ง ถ่ายที่ประเทศอิรักในปี ค.ศ. 1943
สาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
อาการอุณหภูมิกายสูง, ตัวแดง, ปวดศีรษะ, เวียนศีรษะ, สับสน, อาเจียน[2]
ภาวะแทรกซ้อนชัก, กล้ามเนื้อสลาย, ไตวาย[3]
ประเภทคลาสสิก, จากการออกแรง[3]
สาเหตุอุณหภูมิภายนอกสูง, การออกแรงทางกาย[3][4]
ปัจจัยเสี่ยงอายุที่สูงมาก, ยาบางชนิด, คลื่นความร้อน, ความชื้นสัมพัทธ์สูง, โรคเกี่ยวกับผิวหนัง, โรคหัวใจ[3]
วิธีวินิจฉัยวินิจฉัยจากอาการ[3]
โรคอื่นที่คล้ายกันกลุ่มอาการป่วยที่รุนแรงจากการใช้ยาจิตเวช, มาลาเรีย, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ[3]
การรักษาทำให้เย็นอย่างรวดเร็ว, การดูแลประคับประคอง[4]
พยากรณ์โรคความเสี่ยงการเสียชีวิต <5% (เหตุจากการออกแรง), จนถึง 65% (ไม่ใช่เหตุจากการออกแรง)[3]
การเสียชีวิต> 600 รายต่อปี (สหรัฐ)[4]

โรคลมแดดเกิดจากอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมภายนอกสูงหรือการออกกำลังกายอย่างหนักเกินไป[3][4] สำหรับผู้ที่มีโรคหรือภาวะประจำตัวบางอย่างจะมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ มักเกิดในผู้ที่ได้รับความร้อนสูงหรือออกแรงเป็นเวลานานซึ่งสามารถป้องกันได้ในบุคคลส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยที่มีกรรมพันธุ์แฝงบางอย่างมีความอ่อนไหวต่อโรคลมแดดมากผิดปกติทำให้เกิดอาการได้แม้ได้รับความร้อนที่ค่อนข้างเล็กน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก[12]

วิธีป้องกันโรคลมแดด เช่น การดื่มน้ำให้เพียงพอและการเลี่ยงการสัมผัสความร้อนสูง[13] การรักษาโรคลมแดด ได้แก่ การให้ความเย็นแก่ร่างกายและการรักษาประคับประคอง วิธีที่แนะนำ เช่น การพ่นน้ำใส่และใช้พัดลม การแช่ในน้ำแข็ง หรือให้สารน้ำเย็นทางหลอดเลือดดำ วิธีวางแพ็กน้ำแข็งบนตัวนั้นสมเหตุสมผล

โรคนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 600 คนต่อปีในสหรัฐ[4] ซึ่งอัตรานี้เพิ่มขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1995 ถึง 2015[3] โรคนี้มีอัตราเสียชีวิตน้อยกว่าร้อยละ 5 ในผู้ป่วยโรคลมแดดจากการออกกำลังกาย และสูงถึงร้อยละ 65 ในผู้ป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย[3]

ในภาษาอังกฤษเรียกภาวะนี้ว่า Heat Stroke ซึ่งคำว่า Stroke ในที่นี้เป็นการใช้คำผิดความหมาย โรคนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)[14]

อ้างอิง

แก้
  1. Herrick, RT (1986). "Heat illness in the athlete: siriasis is serious". Alabama Medicine. 55 (10): 28, 33–37. PMID 3706086.
  2. 2.0 2.1 "Warning Signs and Symptoms of Heat-Related Illness". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 13, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 17, 2017.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 Leon, LR; Bouchama, A (April 2015). "Heat stroke". Comprehensive Physiology. 5 (2): 611–47. doi:10.1002/cphy.c140017. PMID 25880507.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 Gaudio, FG; Grissom, CK (April 2016). "Cooling Methods in Heat Stroke". The Journal of Emergency Medicine. 50 (4): 607–16. doi:10.1016/j.jemermed.2015.09.014. PMID 26525947.
  5. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสภา
  6. คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์แพทยศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถาน (April, 2556 BE). "พจนานุกรมศัพท์แพทย์ อักษร H (ต่อ)". ธรรมศาสตร์เวชสาร. 13 (2). สืบค้นเมื่อ April 9, 2023. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  7. กรมแพทย์ทหารเรือ. "คู่มือการป้องกันอันตรายจากความร้อนและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับอันตรายจากความร้อน" (PDF). nmd.go.th. สืบค้นเมื่อ April 9, 2023.[ลิงก์เสีย]
  8. จะเกร็ง, จีรนันท์ (january, 2553 BE). "ผลกระทบต่อสุขภาพกายจากการสัมผัสพลังงานความร้อนขณะทำงานในกลุ่มคนทำนาเกลือจังหวัดสมุทรสงคราม". วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). 2 (special issue 1). สืบค้นเมื่อ april 9, 2023. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help); ระบุ |website= และ |journal= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  9. somsak (may 1, 2545 BE). "โรคภัยร้อน". doctor.or.th. สืบค้นเมื่อ april 9, 2023. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  10. "โรคลมแดด (Heat Stroke) โรคใหม่ที่คุณควรรู้ไว้". โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่. 2019-04-25.
  11. Bouchama, Abderrezak; Knochel, James P. (2002-06-20). "Heat Stroke". New England Journal of Medicine. 346 (25): 1978–1988. doi:10.1056/nejmra011089. ISSN 0028-4793. PMID 12075060.
  12. Wang, Hui J.; Lee, Chang Seok; Yee, Rachel Sue Zhen; Groom, Linda; Friedman, Inbar; Babcock, Lyle; Georgiou, Dimitra K.; Hong, Jin; Hanna, Amy D.; Recio, Joseph; Choi, Jong Min (2020-10-09). "Adaptive thermogenesis enhances the life-threatening response to heat in mice with an Ryr1 mutation". Nature Communications. 11 (1): 5099. doi:10.1038/s41467-020-18865-z. ISSN 2041-1723. PMID 33037202. PMC 7547078.
  13. "Tips for Preventing Heat-Related Illness|Extreme Heat". www.cdc.gov (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). มิถุนายน 19, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 29, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 17, 2017.
  14. Ryan Davis Philip (November 15, 2016). "Beware of heat stroke". canberrafirstaid.com. สืบค้นเมื่อ April 9, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก