เบิร์ดกะฮาร์ท
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เบิร์ดกะฮาร์ท ชื่อวงดนตรีสัญชาติไทย โดยมีนักร้องนำคือ กุลพงศ์ บุนนาค (เบิร์ด) และ สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท)
เบิร์ดกะฮาร์ท | |
---|---|
ที่เกิด | ![]() |
แนวเพลง | ป็อป อีซี่ ลิสซึ่นนิ่ง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2549 |
ค่ายเพลง | ไนท์ สปอท คีตา เรคคอร์ดส โอเอฟ ร่องเสียงลำไย สไปซีดิสก์ |
สมาชิก | กุลพงศ์ บุนนาค (เบิร์ด) ร้องนำ / คีย์บอร์ด สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท) ร้องนำ / กีต้าร์ |
สมาชิก แก้ไข
- กุลพงษ์ บุนนาค (เบิร์ด) ร้องนำ / คีย์บอร์ด เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506
- สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท) ร้องนำ / กีต้าร์ เกิด 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507
ประวัติ แก้ไข
บทเพลงในแบบ "เบิร์ด กะ ฮาร์ท" ได้สร้างปรา กฎการณ์ที่สดใหม่ ให้เกิดขึ้นในวงการเพลงในยุค 80 เพราะเป็นคู่ดูโอ้คู่แรกของไทยบวกกับความเป็นนักเรียนนอก หน้าใสในสมัยนั้น เป็นความ โดดเด่น ที่อยู่ในความสนใจของใคร ๆ หลาย ๆ คน ทั้งทำนองและเนื้อร้องที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักที่มักผิดหวัง ด้วยภาษาที่สวยงามบนความเรียบง่ายของภาคดนตรี และสำเนียงการร้องสไตล์เด็กที่ศึกษาอยู่ต่างประเทศทำให้เขา ทั้งคู่ดูโด่ดเด่น และน่าสนใจ
โดยความเป็นเบิร์ดกะฮาร์ทนั้นเริ่มต้นในปี 2526 โดยศิลปินทั้งคู่เริ่มต้นพบกันที่สหรัฐอเมริกาที่เมืองลอสแอนเจลิส ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่นั่น โดยทั้งคู่เริ่มต้นจากการเป็นเพื่อนกัน โดยการแนะนำของเพื่อนรุ่นพี่ที่อเมริกาคือคุณสืบศักดิ์ คลังมนตรี สมัยนั้นขณะที่คุณสืบศักดิ์ เรียนชั้นมัธยมศึกษา เขามีวงดนตรีของตัวเองชื่อ The Mammy เรียกกันว่ายุคนั้นวงนี้เทียบเท่ากับวง The impossible
ขณะนั้นเบิร์ดและฮาร์ทศึกษาอยู่ที่แอลเอ คุณสืบศักดิ์ทำงานอยู่ที่แอลเอ ก็เลยเป็นผู้แนะนำและทำให้เบิร์ดกับฮาร์ทได้มารู้จักกัน
ในเรื่องการได้ทำเพลงเบิร์ดกะฮาร์ทได้รู้จักกับรุ่นพี่คนหนึ่ง ซึ่งทำงานกับคุณสมชาย ขำเลิศกุล (ฉ่าย) ซึ่งรุ่นพี่คนนี้ทำงานอยู่บริษัทไนซ์สปอร์ตโปรดักชั่น เขาชักชวนให้เบิร์ดกะฮาร์ทลองทำเพลง demo ส่งมาที่บริษัทไนซ์สปอร์ต โปรดักชั่น โดยมีคุณสมชาย ช่วยเป็นที่ปรึกษาทำ demon ให้จนได้เป็นเพลงออกมาสามเพลงคือ "ลืม" "อาลัยเธอ" และ "Susan Joan" ซึ่งเป็น เพลงที่เบิร์ดกะฮาร์ทแต่งและเขียนไว้เองทั้งหมด
พอช่วงกลางปี 2528 เบิร์ดกะฮาร์ทได้บินกลับมาเมืองไทย เป็นช่วงปิดเทอม ทั้งคู่ได้เข้าไปพบ "คุณไชยยงค์ นนทสุต" กรรมการรองผู้จัดการบริษัทไนท์สปอต และได้มอบเพลง demo สามเพลงให้เขาฟังแต่เพลงยังไม่เกิดความประทับใจผู้บริหารค่ายใหญ่ในขณะนั้นเท่าใดนัก อย่างไรก็ดี เทป demo ได้ถูกส่งไปถึงดีเจคุณวินิจ เลิศรัตนชัย เพื่อเปิดแนะนำในรายการวิทยุ "โลกสวยด้วยเพลง" ปรากฏว่าหลังจากเพลงได้ถูกเปิดในรายการแล้วมีผู้ฟังชื่นชอบมากมายและมีผู้ฟังโทรมาขอให้เปิดเพลงของ เบิร์ดกะฮาร์ทจำนวนมาก และถามถึงชื่อของนักร้องและคนแต่งเพลง 2 คนนี้ ดีเจวินิจได้สอบถามกับคุณไชยยงค์ นนทสุต และขอข้อมูล และโทรมาสอบถามกับฮาร์ท ซึ่งเขาได้บอกชื่อเพื่อนไปก่อนคือเบิร์ด แล้วก็ฮาร์ท ดีเจวินิจได้กล่าวออกอากาศในรายการว่า เป็นบทเพลงของ "เบิร์ดกับฮาร์ท" จึงเลยเป็นที่มาของ "เบิร์ดกะฮาร์ท"
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลงาน แก้ไข
อัลบั้มเพลง แก้ไข
ห่างไกล (พ.ศ. 2528) แก้ไข
- ไม่ลืม
- ห่างไกล
- อาลัยเธอ
- เพ้อ
- คิดถึง II
- ลืม
- คิดถึง
- Susan Joan
- สนุก
- รักนอกใจ
ด้วยใจรักจริง (พ.ศ. 2529) แก้ไข
- Goodbye Song
- ด้วยใจรักจริง
- เอื้อมดาว
- Lucky Star
- ฉันเอง
- ฟ้าสีคราม
- I Need Your Love
- รักเสมือนป่า
- คืนนั้น
- Goodbye Song (ภาคภาษาไทย)
จากกันมานาน (พ.ศ. 2534) แก้ไข
- จากกันมานาน
- รอรัก
- ฉันคอย
- ทำอย่างไร
- ฝน
- เพียงเรา
- Wonder Woman
- เมืองงาม
- บทเพลงสุดท้าย
- ลืม (Previously Unreleased)
Moonlighting (พ.ศ. 2538) แก้ไข
- เพื่อนกัน
- More 'n' More
- ดั่งตะวัน
- Am, I Love You
- You (English Version)
นึกถึงดิอิมพอสซิเบิ้ล (พ.ศ. 2539) แก้ไข
- หนึ่งในดวงใจ
- วนาสวรรค์
- หัวใจเหิร
- ยอดเยาวมาลย์
- จูบฟ้าลาดิน
- ระเริงชล
- ชื่นรัก
- หนาวเนื้อ
- รักกันหนอ
- ขาดเธอขาดใจ
ที่รัก (พ.ศ. 2542) แก้ไข
- รักสีส้ม
- Anywhere You Are
- ที่รัก
- กระต่ายหมายจันทร์
- Once Again
- เพื่อนที่รู้ใจ
- ขวัญใจ
- จากกันด้วยดี
- เธอรู้ดี
- Friend
- รักรสส้ม
Meeting (พ.ศ. 2544) รวมศิลปินค่ายจีนี่เรคอร์ดส แก้ไข
- ถอนตัว
Destiny (พ.ศ. 2549) แก้ไข
- Interlude
- ช่องว่าง
- รักเอย
- ยังรัก
- ดอกไม้ในมือ
- เหมือนเดิม
- เธอคงเข้าใจ
- กรุณา...อย่า
- เพื่อนรัก
- เพราะเธอ
- Interlude
- ฉันคอย (Remix)
ภาพยนตร์ แก้ไข
- คู่กรรม (2556) เบิร์ด แสดงเป็น หลวงชลาสินธุราช
คอนเสิร์ต แก้ไข
- คอนเสิร์ต 10 ปี เบิร์ดกะฮาร์ท (3 ธันวาคม 2538)
- คอนเสิร์ต the sound of 80's (31 กรกฎาคม 2542)
- คอนเสิร์ต Meeting (11 พฤศจิกายน 2544)
- คอนเสิร์ต Green Concert #9 (11-12 ตุลาคม 2546)
- คอนเสิร์ต The Legend of Byrd & Heart (พฤศจิกายน 2546)
- คอนเสิร์ต Inca in LOVE (16 พฤศจิกายน 2546)
- คอนเสิร์ต Byrd & Heart Concert Rhythm of the Nature (17 ตุลาคม 2547)
- คอนเสิร์ต The Rhythm & Boyd Alumni (23 เมษายน 2549)
- คอนเสิร์ต Finding Susan Joan Concert (20 พฤษภาคม 2549)
- คอนเสิร์ต The Return Of Green Concert (2 ธันวาคม 2549)
- คอนเสิร์ต Snow Kim กับผู้ชายทั้ง 7 (27 - 30 เมษายน 2550)
- คอนเสิร์ต ป้า คนดนตรี คืนชีวิตสู่ธรรมชาติ (13 - 14 กันยายน 2550)
- คอนเสิร์ต DAN BEAM FREEDOM AROUND THE WORLD LIVE IN CONCERT (3 พฤศจิกายน 2550)
- คอนเสิร์ต KTC LOVEiS Winter Festival 2007 (8 ธันวาคม 2550)
- คอนเสิร์ต COOL MUSIC FEST " Love Maker by am :pm " Live in Hua-Hin (29 มีนาคม 2551)
- คอนเสิร์ต Ford & Friends Concert (28 มีนาคม 2552)
- คอนเสิร์ต First Live Concert (29 พฤศจิกายน 2552)
- คอนเสิร์ต Love 6 With 9 Men (21 พฤษภาคม 2554)
- คอนเสิร์ต Byrd & Heart Together Concert (23 มิถุนายน 2555)
- คอนเสิร์ต สยามเมืองยิ้ม คืนยิ้มเมืองสยาม (9 มีนาคม 2556)
- คอนเสิร์ต เพลินจิต 2 ตอน คาราบาว ออเคสตร้า (14 กันยายน 2556)
- คอนเสิร์ต Yesterday Once More Retro Music Festival (6 ธันวาคม 2557)
- คอนเสิร์ต So in Art So in Love 2014 (13 ธันวาคม 2557)
- คอนเสิร์ต 30 Years Byrd & Heart Sometimes but Always (12 กันยายน 2558)
- คอนเสิร์ต The Sound Of Seventies Concert (29 พฤศจิกายน 2558)
- คอนเสิร์ต Winter Breeze 2015 (6 ธันวาคม 2558)
- คอนเสิร์ต Yesterday Once More Retro Music Festival : Volume 2 (26 ธันวาคม 2558)
- คอนเสิร์ต BLACK VALENTINE Charity Concert ตอน เพราะรักแท้คือ การให้...ไม่สิ้นสุด (13 กุมภาพันธ์ 2559)
- คอนเสิร์ต Kim รับแขก (16 - 17 กรกฎาคม 2559)
- คอนเสิร์ต ทองหล่อเล่นสด (2 กรกฎาคม 2560)
- คอนเสิร์ต BOYdKO50th #1 RHYTHM & BOYd THE CONCERT (4 กุมภาพันธ์ 2561)
- คอนเสิร์ต 7890's The Gallery Concert (14 กรกฎาคม 2561)
- คอนเสิร์ต นั่งใกล้ เบิร์ดกะฮาร์ท by Request (30 กันยายน 2561)
- คอนเสิร์ต The Hill's The Life (19 มกราคม 2562)
- คอนเสิร์ต AUDI Thailand Presents Byrd & Heart High School Class Reunion Concert (9 กุมภาพันธ์ 2562)
- คอนเสิร์ต Nurse for Love Concert (2 เมษายน 2562)
- คอนเสิร์ต Water Festival 2019 (14-15 เมษายน 2562)
- คอนเสิร์ต Kita Missing You (21 มีนาคม 2563)
- คอนเสิร์ต Byrd & Heart | Birthday Concert (27 พฤศจิกายน 2565)
- คอนเสิร์ต การกุศล วชิรานุสรณ์ 111 ปี วชิรพยาบาล (7 มกราคม 2566)
เกร็ดความรู้ แก้ไข
- เบิร์ด เคยออกอัลบั้มกับเพื่อนอีก 3 คน ใช้ชื่อวงว่า ซิสเต็ม โฟร์ (System Four) มีผลงานออกมา 3 ชุด
- เพลงเอื้อมดาว, รักเสมือนป่า, ที่รัก, และเพลงฝน ผู้แต่งเนื้อ คือ จักรกฤษณ์ ศรีวลี หรือ "บ๊อบ บุญหด" เจ้าของคอลัมน์ "ฟอไฟฟุดฟิดอังกฤษอเมริกัน" ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ซึ่งเป็นเพื่อนกับฮาร์ท โดยเพลงเอื้อมดาวได้รับแรงบันดาลใจจาก มาช่า วัฒนพานิช[1] [2] [3]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ เว็บไซต์ของคุณจักรกฤษณ์ ศรีวลี
- ↑ ปกด้านในเทป "ด้วยใจรักจริง"
- ↑ หัวข้อ"มาฟังเพลง"เบิร์ด กับ ฮาร์ต กันไหม" [ลิงก์เสีย]