เด็กหอ
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
เด็กหอ เป็นภาพยนตร์ไทย แนวสยองขวัญ เข้าฉาย เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 กำกับโดย ทรงยศ สุขมากอนันต์ โดย จีทีเอช และ ฟีโนมีน่า โมชั่น พิคเจอร์
เด็กหอ | |
---|---|
กำกับ | ทรงยศ สุขมากอนันต์ |
บทภาพยนตร์ | ชลลดา เตียวสุวรรณ วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ |
อำนวยการสร้าง | จีทีเอช ฟีโนมีน่า โมชั่น พิคเจอร์ |
นักแสดงนำ | |
กำกับภาพ | นิรมล รอสส์ |
ตัดต่อ | พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ วิชชา โกจิ๋ว |
ดนตรีประกอบ | ภรัถ พุทธปานันท์ สโนแมน สตูดิโอ |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | จีทีเอช ฟีโนมีน่า โมชั่น พิคเจอร์ |
วันฉาย | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 |
ความยาว | 105 นาที |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 50.3 ล้านบาท[1] |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
นักแสดง
แก้- จินตหรา สุขพัฒน์ (แหม่ม) - แสดงเป็น “ครูปราณี”
- ชาลี ไตรรัตน์ (แน็ก) - แสดงเป็น “ต้น หรือ ชาตรี”
- ศิรชัช เจียรถาวร (ไมเคิล) - แสดงเป็น “วิเชียร”
- ณฐพร เตมีรักษ์ (แต้ว) - แสดงเป็น “น้ำตาล”
- สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล (ฮาร์ท) - แสดงเป็น “คุณพ่อต้น”
- นิภาวรรณ ทวีพรสวรรค์ (ไก่) - แสดงเป็น “คุณแม่ต้น”
- จิรัฏฐ์ สุขเจริญ (นิค) - แสดงเป็น “เพ้ง”
- ปกาสิต พันธุรัตน์ (เบียร์) - แสดงเป็น “ป๊อก”
- ธนบดินทร์ สุขเสรีทรัพย์ (มาย) - แสดงเป็น “หมอหนุ่ย”
- อนุชิต ปนัดเศรณี (มอส) - แสดงเป็น “สาโรช”
เนื้อเรื่องย่อ
แก้ชาตรี เด็กชาย อายุ 12 เรียน ม.1 เป็นเด็กไร้ความหมาย ที่พ่อของเขาส่งไปเรียนที่โรงเรียนสายชลวิทยา ที่จังหวัดชลบุรี อย่างฉุกละหุก ก็เพื่อที่ชาตรีจะได้พ้นไปจากบ้านไกลไปเสียจากพ่อ เพราะชาตรีรู้ความลับของพ่อทั้งหมด เพื่อนของชาตรีได้พูดคุยเรื่องผีในโรงเรียนและเรื่องครู ในตอนกลางคืนชาตรีรู้สึกปวดฉี่ขึ้นมา พอฉี่เสร็จชาตรีได้ยินเสียงอะไรบางอย่างเหมือนมันเคลื่อนที่ได้ แต่พอเข้าไปแล้วประตูก็เลยล็อก ชาตรีตกใจมากเลยอยากออกไป จนสักพักประตูก็เปิดได้ ชาตรีวิ่งหนีไปหอพักจนเขารู้สึกกลัวมาก
แล้วชาตรี ก็ได้พบกับ วิเชียร เพื่อนร่วมห้องที่ดูเหมือนจะรู้อะไร ๆ ในโรงเรียนไปเสียทุกอย่าง และแล้วมิตรภาพระหว่างเพื่อนทั้ง 2 ก็ก่อตัวขึ้น ก่อนที่พบว่าแท้ที่จริงแล้ว วิเชียร ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา ๆ แต่พอเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่าชาตรีก็เริ่มผูกมิตรกับวิเชียรได้ เพราะว่าทั้งสองคนเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง นั่นก็คือ "ไม่มีใครเห็นว่ามีตัวตน" อย่างตอนที่ชาตรีคิดจะทำอะไรแผลง ๆ เพื่อถอดวิญญาณมาช่วยวิเชียร วิเชียรก็พูดว่า "สัญญากับฉันสิ ว่าจะไม่ทำอะไรบ้า ๆ เพื่อช่วยฉัน ชาตรี สัญญากับฉันสิ" ชาตรีไม่ตอบ กลับยืนนิ่งอยู่อย่างนั้นจนถึงเวลา 6 โมงเย็น มันคือ เวลาตายของวิเชียร แต่วิเชียรต้องกลับไปที่สระว่ายน้ำนั้น เพื่อลิ้มรสความทรมานจากการจมน้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกวัน ชาตรีเจ็บปวดมากที่ได้เห็นวิเชียรทรมานแบบนั้น แต่ตัวเขากลับได้แต่ยืนมอง แตะต้องอะไรวิเชียรไม่ได้ จนในที่สุด ชาตรีก็ไปดมสารอีเทอร์ มากเกินขนาด จนในที่สุดวิญญาณก็หลุดออกจากร่าง แล้วชาตรีก็ไม่คิดจะเหลียวมองดูร่างของตนเองเลยแม้แต่น้อย เขาวิ่งไปทางสระว่ายน้ำนั้นโดยไม่สนใจอะไรอีกแล้ว และชาตรีก็ช่วยวิเชียรขึ้นมาจากสระจนได้ และต่อจากนั้นเอง ที่วิเชียรลาชาตรีไปเกิด แค่ลากันสั้น ๆ แต่สายตาสื่อความหมายว่าทั้งสองคนผูกพันกันมากมายเพียงใด /เป็นความจริงบางส่วน/
รางวัล
แก้ปี | รายการ | รางวัล/สาขา | ผู้ได้รับการเสนอชื่อ | ผล |
---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2549 | รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | ด.ช.ชาลี ไตรรัตน์ | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม | จินตหรา สุขพัฒน์ | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ด.ช.ศิรชัช เจียรถาวร | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ | ชนะ | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | นิรมล รอสส์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ , วิชชา โกจิ๋ว | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จุมพล เสพสวัสดิ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 16 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | ด.ช.ชาลี ไตรรัตน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | จินตหรา สุขพัฒน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | นิรมล รอสส์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ , วิชชา โกจิ๋ว | ชนะ | ||
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จุมพล เสพสวัสดิ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เรวัตร กรวยทอง, คมกฤช ชักนำ, สุธรรม วิลาวัลย์เดช | ชนะ | ||
ออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | วาสนา เบญจชาติ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 15 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ | ชนะ | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | ด.ช.ชาลี ไตรรัตน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ด.ช.ศิรชัช เจียรถาวร | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | จินตหรา สุขพัฒน์ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ | ชนะ | ||
กำกับภาพยอดเยี่ยม | นิรมล รอสส์ | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ , วิชชา โกจิ๋ว | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | จุมพล เสพสวัสดิ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม | เรวัตร กรวยทอง, คมกฤช ชักนำ, สุธรรม วิลาวัลย์เดช | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลสตาร์เอนเตอเทนเมนท์ ครั้งที่ 4 | รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ | ชนะ |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | จินตหรา สุขพัฒน์ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ | ชนะ | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลเฉลิมไทย ครั้งที่ 4 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | เสนอชื่อเข้าชิง |
รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงนำชายยอดเยี่ยม | ด.ช.ชาลี ไตรรัตน์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ด.ช.ศิรชัช เจียรถาวร | ชนะ | ||
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | จินตหรา สุขพัฒน์ | ชนะ | ||
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | ทรงยศ สุขมากอนันต์ , ชลลดา เตียวสุวรรณ , วรรณฤดี พงษ์สิทธิศักดิ์ | เสนอชื่อเข้าชิง | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลสตาร์พิคส์ ครั้งที่ 4 | รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | GTH | ชนะ |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | จินตหรา สุขพัฒน์ | ชนะ | ||
ลำดับภาพยอดเยี่ยม | พงศธร โกศลโพธิทรัพย์ , วิชชา โกจิ๋ว | ชนะ | ||
พ.ศ. 2550 | รางวัลคมชัดลึก ครั้งที่ 4 | ผู้แสดงสมทบชายยอดเยี่ยม | ด.ช.ศิรชัช เจียรถาวร | ชนะ |
ผู้แสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม | จินตหรา สุขพัฒน์ | ชนะ | ||
พ.ศ. 2550 | เทศกาลภาพยนตร์ฟาทจ์แห่งอิหร่าน (Fajr Film Festival Iran) ครั้งที่ 25 | รางวัลผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (Crystal Simorgh for Best Director สาขา Competition of Spiritual Cinema (Seeking the Truth)) | ทรงยศ สุขมากอนันต์ | ชนะ |
พ.ศ. 2550 | เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ครั้งที่ 57 เยอรมนี (Berlin International Film Festival) | ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลหมีแก้ว (Crystal Bear) สาย Generation Kplus - ตัดสินโดยกรรมการเด็ก 11 คน | GTH | ชนะ |
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัล Special Mention of Deutsches Kinderhilfswerk (องค์การสนับสนุนเด็กเยอรมัน) สาย Generation Kplus ตัดสินโดยกรรมการผู้ใหญ่ 7 คน จากนานาชาติ | GTH | รองอันดับ 1 |
อ้างอิง
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ภาพยนตร์ เด็กหอ
- เว็บไซต์ ภาพยนตร์ เด็กหอ เก็บถาวร 2007-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เว็บไซต์ส่วนตัว ของ ทรงยศ สุขมากอนันต์ เก็บถาวร 2006-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์ ภาพยนตร์ เด็กหอ เก็บถาวร 2006-10-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย จีเมมเบอร์ เก็บถาวร 2006-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เด็กหอ ที่ สยามโซน.คอม