อีเทอร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
อีเทอร์ (อังกฤษ: ether; /ˈiːθər/) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีหมู่ฟังก์ชันเป็น หมู่แอลคอกซี (alcoxy , R–O–R’) มีสูตรทั่วไปเป็น ROR’ มีสูตรโมเลกุลเหมือนแอลกอฮอล์และฟีนอล จึงเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับแอลกอฮอล์และฟีนอล
ตัวอย่างของอีเทอร์ เช่น เมทอกซีมีเทนหรือมีชื่อสามัญคือไดเมทิลอีเทอร์ (CH3OCH3) ซึ่งเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับเอทานอล (CH3CH2OH)
สมบัติของอีเทอร์
แก้- เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว ไม่ละลายน้ำ ติดไฟได้ง่าย
- จุดหลอมเหลว จุดเดือดต่ำ
- ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ
ประโยชน์
แก้- ใช้เป็นตัวทำละลายสารอินทรีย์
- ในอดีตใช้เอทอกซีอีเทน (CH3CH2OCH2CH3) เป็นยาสลบ ซึ่งนิยมเรียกสารนี้ว่าอีเทอร์ โดยสารนี้จะออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางจนทำให้หมดสติ
- ใช้เอทอกซีอีเทน (CH3CH2OCH2CH3) เป็นตัวทำละลายสารในห้องปฏิบัติการและในอุตสาหกรรม เนื่องจากอีเทอร์สามารถละลายสารประกอบอินทรีย์ได้หลายชนิด เกิดปฏิกิริยากับสารอื่นได้ยาก และแยกออกได้ง่ายเมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาเนื่องจากอีเทอร์มีจุดเดือดต่ำ
อ้างอิง
แก้- รศ.ดร. ยุวดี เชี่ยววัฒนา พจนานุกรมวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่2 สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2544