เทือกเขาพิรินี

(เปลี่ยนทางจาก เทือกเขาพีเรนีส)

เทือกเขาพิรินี (อังกฤษ: Pyrenees; กาตาลา: Pirineus; ฝรั่งเศส: Pyrénées; สเปน: Pirineos; บาสก์: Pirinioak) เป็นทิวเขาในยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ที่เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับประเทศสเปน เทือกเขานี้ยังแบ่งคาบสมุทรไอบีเรียออกจากฝรั่งเศสและมีความยาวประมาณ 430 กิโลเมตร (267 ไมล์) จากมหาสมุทรแอตแลนติก (อ่าวบิสเคย์) จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (แหลมแกร็วส์)

เทือกเขาพิรินีตอนกลาง
ยอดเขาบูกาเตในเขตสงวนธรรมชาติเนอูวีเยย์

ส่วนใหญ่แล้ว ยอดเขาหลัก ๆ จะเป็นแนวพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ซึ่งมีอันดอร์ราแทรกอยู่ตรงกลาง ข้อยกเว้นหลักของกฎนี้คือ บัลดารันที่เป็นของสเปน แต่ตั้งอยู่ทางลาดเขาด้านเหนือของทิวเขา ส่วนข้อผิดปกติอื่น ๆ ได้แก่ ซาร์ดัญญา และดินแดนส่วนแยกของสเปนที่ชื่อยิบิอา

ภูมิศาสตร์ แก้

ในทางการปกครอง เทือกเขาพิรินีเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด (département) ของฝรั่งเศส จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกดังต่อไปนี้ จังหวัดปีเรเน-ออรีย็องตาล จังหวัดโอด จังหวัดอาเรียฌ จังหวัดโอต-การอน จังหวัดโอต-ปีเรเน และจังหวัดปีเรเน-อัตล็องติก (สองจังหวัดหลังยังเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติพิรินีอีกด้วย)

เทือกเขาพิรินียังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัด (provincia) ของสเปน จากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกดังต่อไปนี้ จังหวัดฌิโรนา จังหวัดบาร์เซโลนา จังหวัดแยย์ดา จังหวัดอูเอสกา จังหวัดซาราโกซา จังหวัดนาวาร์ และจังหวัดกิปุซโกอา

พื้นที่ทั้งหมดของราชรัฐอิสระอันดอร์ราตั้งอยู่ในเทือกเขาพิรินี

ส่วนในทางกายภาพ เทือกเขานี้แบ่งออกเป็นสามส่วน ได้แก่ ส่วนกลาง ส่วนตะวันตกหรือแอตแลนติก และส่วนตะวันออก

 
ยอดเขาอาเนโต เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาพิรินี

พิรินีตอนกลางขยายไปทางทิศตะวันออก จากช่องเขาซอมพอร์ต (Somport) ผ่านบัลดารัน และครอบคลุมยอดเขาที่สูงที่สุดของทิวเขานี้ไว้ คือ

ในส่วนพิรินีตะวันตกนั้น ความสูงเฉลี่ยของทิวเขาจะค่อย ๆ ลดลงจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก จนกระทั่งรวมเข้ากับภูเขาบาสก์ (Basque mountains) ใกล้อ่าวบิสเคย์ และในพิรินีตะวันออก นอกจากจุดที่แตกออกไปเพียงแห่งเดียวทางด้านตะวันออกสุดของปีเรเนอารีเยฌวซ (Pyrénées Ariégeoises) แล้ว ระดับความสูงเฉลี่ยจะยังคงที่เสมอกันอย่างน่าประหลาด จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่ลาดเอียงลงไปกะทันหันในส่วนของแนวเขาที่เรียกว่าอาลแบร์ (Albères)

42°40′N 1°00′E / 42.667°N 1.000°E / 42.667; 1.000