เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย

เทศบาลเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย

เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลบางหัวเสือ ตำบลสำโรงใต้ ตำบลสำโรง และตำบลสำโรงกลางทั้งตำบล เดิมชื่อเทศบาลเมืองสำโรงใต้ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพรายเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย
บริเวณศาลปู่เจ้าสมิงพราย
บริเวณศาลปู่เจ้าสมิงพราย
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย
ตรา
ทม.ปู่เจ้าสมิงพรายตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ
ทม.ปู่เจ้าสมิงพราย
ทม.ปู่เจ้าสมิงพราย
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย
พิกัด: 13°38′38.5″N 100°34′41.1″E / 13.644028°N 100.578083°E / 13.644028; 100.578083พิกัดภูมิศาสตร์: 13°38′38.5″N 100°34′41.1″E / 13.644028°N 100.578083°E / 13.644028; 100.578083
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรปราการ
อำเภอพระประแดง
จัดตั้ง
  •  • 13 มีนาคม 2535 (สุขาภิบาลสำโรงใต้)
  •  • 16 มีนาคม 2540 (ทต.สำโรงใต้)
  •  • 20 สิงหาคม 2552 (ทม.สำโรงใต้)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสรรเกียรติ กุลเจริญ
พื้นที่
 • ทั้งหมด25.5 ตร.กม. (9.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด71,643 คน
 • ความหนาแน่น2,809.53 คน/ตร.กม. (7,276.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04110403
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 222 หมู่ที่ 8 ถนนเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย 9 ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130
เว็บไซต์www.poochaosamingprai.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ แก้

เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพรายมีประวัติความเป็นมากล่าวคือ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ในปี พ.ศ. 2358 มีความสำคัญเป็นเมืองหน้าด่านในการป้องกันข้าศึกทางทะเล ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 2 ในพระราชนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพตอนหนึ่งว่า "เพื่อให้เมืองนครเขื่อนขันธ์ มีความแข็งแรงมั่นคง เพื่อป้องกันข้าศึกทางทะเล จึงได้สร้างป้อมทางฝั่งตะวันออก 3 ป้อม คือ ป้อมปู่เจ้าสมิงพราย ป้อมปีศาจสิง ป้อมราหูจร เมื่อรวมทั้งป้อมวิทยาคม ซึ่งสร้างในรัชกาลที่ 1 ด้วยกันเป็น 4 ป้อม" เมื่อทรงสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เสร็จ ได้พระราชทานพระพุทธรูปไว้คู่เมืององค์หนึ่ง ซึ่งชาวนครเขื่อนขันธ์เรียกว่า "พระใหญ่" ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนฐานะนครเขื่อนขันธ์เป็นจังหวัดพระประแดง และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนฐานะจากจังหวัดพระประแดงเป็นอำเภอพระประแดง

ในปี พ.ศ. 2535 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งท้องที่สุขาภิบาลพระประแดงทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาออกมาจัดตั้งเป็น สุขาภิบาลสำโรงใต้[2] และได้อัญเชิญพระใหญ่เป็นดวงตราประจำสุขาภิบาลสำโรงใต้ สุขาภิบาลได้รับการจัดตั้งเป็น เทศบาลตำบลสำโรงใต้ ในปี พ.ศ. 2540[3] ได้รับการจัดระดับเป็นเทศบาลชั้น 2 ข ในปี พ.ศ. 2543 และได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลขนาดใหญ่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ต่อมาได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลสำโรงใต้เป็น เทศบาลเมืองสำโรงใต้ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552[4] และได้เปลี่ยนชื่อเป็น เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553[5]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพรายมีพื้นที่ประมาณ 25.5 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็นชุมชนทั้งหมด 62 ชุมชน มีอาณาเขตติดต่อกับเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังนี้

อ้างอิง แก้

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลพระประแดงและจัดตั้งสุขาภิบาลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 109 (พิเศษ 126 ง): 85–88. 30 กันยายน 2535.
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2540" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (2 ก): 1–4. 14 กุมภาพันธ์ 2540.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองสำโรงใต้" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 126 (พิเศษ 145 ง): 21. 1 ตุลาคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2011-10-31.
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาลเมืองสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (พิเศษ 128 ง): 27. 5 พฤศจิกายน 2553. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-31.