เทศบาลเมืองท่าข้าม

เทศบาลเมืองในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

เทศบาลเมืองท่าข้าม เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มีขนาดพื้นที่ 14.10 ตารางกิโลเมตร มีประชากร ณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 17,880 คน[1] เป็นเมืองศูนย์กลางของอำเภอพุนพิน รวมถึงเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

เทศบาลเมืองท่าข้าม
ตัวเมืองท่าข้ามบริเวณหน้าสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
ตัวเมืองท่าข้ามบริเวณหน้าสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองท่าข้าม
ตรา
คำขวัญ: 
ท่าข้ามเมืองน่าอยู่ คนมีคุณภาพและคุณธรรม เป็นผู้นำองค์กรการเรียนรู้และกีฬา เมืองแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
แผนที่
ทม.ท่าข้ามตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทม.ท่าข้าม
ทม.ท่าข้าม
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองท่าข้ามในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทม.ท่าข้ามตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.ท่าข้าม
ทม.ท่าข้าม
ทม.ท่าข้าม (ประเทศไทย)
พิกัด: 9°6′21.2″N 99°13′57.4″E / 9.105889°N 99.232611°E / 9.105889; 99.232611
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอพุนพิน
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวสุ ประดิษฐพร
พื้นที่
 • ทั้งหมด14.10 ตร.กม. (5.44 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พฤษภาคม พ.ศ. 2567)[1]
 • ทั้งหมด17,880 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,300 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04841701
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองท่าข้าม เลขที่ 168 ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84130
โทรศัพท์0 7731 1833
เว็บไซต์www.takhamcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูมิศาสตร์

แก้

เทศบาลเมืองท่าข้ามมีพื้นที่ 14.10 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ตอนใต้เป็นที่สูง ตอนเหนือเป็นที่ราบตั้งอยู่ริมแม่น้ำตาปี มีอาณาเขตทิศเหนือติดต่อตำบลวัดประดู่ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทิศตะวันตกติดต่อตำบลพุนพิน และตำบลท่าข้าม

ส่วนที่มีความหนาแน่นของอาคารมากที่สุดอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำตาปี ต่อเนื่องไปตามเส้นทางสายหลักของชุมชน โดยเฉพาะบริเวณซึ่งกำหนดไว้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย จะมีการขออนุญาตก่อสร้างอาคารมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 68 ของจำนวนพื้นที่การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร รองลงมาจะเป็นบริเวณพาณิชยกรรมที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก พื้นที่บริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง อาคารที่เพิ่มขึ้นใหม่ในพื้นที่ต่าง ๆ จะเพิ่มมากตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4153 ถนนธราธิบดี และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401

เมืองท่าข้ามเป็นเมืองศูนย์กลางของอำเภอพุนพิน ซึ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัด โดยเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าเกษตร สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอุตสาหกรรมสำหรับประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ ในอดีตเส้นทางคมนาคมทางน้ำมีความสำคัญมาก ปัจจุบันได้ลดความสำคัญลง แต่พื้นที่ของเทศบาลยังมีทางรถไฟ รถยนต์ และเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานีกับตัวเมืองสุราษฎร์ธานี โดยผ่านในเขตเทศบาลเมืองท่าข้าม

ประวัติ

แก้

ท่าข้ามที่จะกล่าวถึงในที่นี้ หมายถึงท้องที่ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในอดีตท่าข้ามเป็นท่าเรือริมแม่น้ำตาปี สำหรับข้ามแม่น้ำ เป็นที่ตั้งด่านชายแดนสำหรับตรวจ ผู้คน และเก็บภาษีอากรระหว่างเมืองไชยา กับท้องที่ลำพูนซึ่งเป็นแขวงขึ้นเมืองนครศรีธรรมราช เป็นที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำตาปี ปัจจุบันคือ สะพานจุลจอมเกล้า "ท่าข้าม" เป็นชื่อเรียกอำเภอพุนพินเป็นเวลา 31 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2473–2504

ในอดีตท่าข้ามเคยมีความสำคัญในฐานะชุมทางและจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในฐานะชุมทาง นอกจากจะเป็นท่าเรือสำหรับข้ามแม่น้ำตาปีแล้ว ยังเป็นสถานที่สำคัญในการเดินทางติดต่อผ่านแม่น้ำตาปีไมว่าจะเดินทางไปทางลำน้ำพุมดวงไปยังคีรีรัฐนิคม พนม ตะกั่วป่า พังงา และภูเก็ต หรือไปตามลำน้ำตาปีไม่ว่าตอนสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ส่งกองทัพไปตีเมืองนครศรีธรรมราชใน พ.ศ. 2321 หรือตอนที่พม่าตีเมืองนครศรีธรรมราช พ.ศ. 2328 ต่างก็ใช้เส้นทางเดินทัพผ่านท่าข้ามทั้งสิ้น จึงเป็นจุดที่ทางฝ่ายเมืองนครศรีธรรมราชตั้งด่านตรวจและตั้งกองทหารไว้กองหนึ่ง

อำเภอพุนพินเป็นอำเภอที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมาแต่อดีต โดยนักประวัติศาสตร์สันนิษฐานตามจดหมายของพ่อค้าชาวอาหรับ และชาวจีนว่า ชาวอินเดียทาง ภาคใต้ได้มาติดต่อค้าขายกับชาวสุวรรณภูมิแห่งนี้ด้วยเรือสำเภา โดยเดินทางไปยังปากน้ำ คีรีรัฐ (คลองพุมดวง) และที่นั่นได้กลายเป็นเมืองและสถานที่พักสินค้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่าง แม่น้ำตาปีกับแม่น้ำคีรีรัฐ (คลองพุมดวง) มาบรรจบกัน ซึ่งเมืองดังกล่าวนี้ในปัจจุบันคือ ชุมชนเมืองพุนพิน หลังจากมีการปฏิรูปการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการจัดตั้งอำเภอพุนพินขึ้นใน พ.ศ. 2439 ที่ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลท่าข้าม แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอท่าข้าม" ใน พ.ศ. 2473 ทางราชการได้สั่งยุบอำเภอท่าโรงช้างมารวมกับอำเภอท่าข้ามด้วย จนถึง พ.ศ. 2481 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอพุนพิน" อีกครั้งหนึ่ง ต่อมาใน พ.ศ. 2523 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาสร้างใหม่ ตั้งอยู่ที่ถนนจุลจอมเกล้า หมู่ที่ 3 ตำบลท่าข้าม

บ้านท่าข้ามมีความเจริญเป็นอย่างมาก จึงมีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่เป็นลำดับที่ 3 ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีใน พ.ศ. 2498 ชื่อว่า "สุขาภิบาลท่าข้าม"[2] (ต่อจากสุขาภิบาลเมืองสุราษฎร์ธานีและเทศบาลตำบลนาสาร) ต่อมาได้รับยกฐานะขึ้นเป็น "เทศบาลตำบลท่าข้าม" เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2529[3] สำนักงานเทศบาลเปิดทำการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2529 โดยใช้อาคารห้องประชุมสุขาภิบาลท่าข้ามเป็นสำนักงานชั่วคราว นายนิพนธ์ บุญญภัทโร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีขณะนั้น เป็นประธานพิธีเปิด เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2529 และยกฐานะเป็น "เทศบาลเมืองท่าข้าม" ในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543[4] ตามลำดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของพื้นที่ ส่งผลให้การเลือกตั้งของเทศบาลครั้งต่อไป จะต้องเป็นการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง ตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543) ที่ประกาศเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2543

การขนส่ง

แก้
 
สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

เมืองท่าข้ามเป็นศูนย์กลางคมนาคมทางบกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และภาคใต้ตอนบน และเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี

ทางหลวง

แก้

มีทางหลวงแผ่นดินสายสำคัญหลายสาย ผ่านในพื้นที่เมืองท่าข้าม ดังนี้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "สถิติจำนวนประชากร พื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อมูลเดือน พฤษภาคม 2567". สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2024.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 130-131. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498
  3. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลตำบลท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (99 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-24. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2529
  4. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองท่าข้าม พ.ศ. ๒๕๔๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (119 ก): 18–20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-27. วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้