เทศบาลตำบลเวียงสระ

เทศบาลตำบลในอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

เวียงสระ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบลที่มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 1 และ 8 ตำบลเวียงสระ รวมไปถึงพื้นที่บางส่วนของหมู่ที่ 2, 4 และ 10 ตำบลบ้านส้อง ในอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาลเวียงสระที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2511[2] แล้วได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[3] ในปี พ.ศ. 2566 เขตเทศบาลตำบลมีประชากรทั้งหมด 9,259 คน โดยแบ่งเป็นประชากรในสองส่วนตำบลคือ ตำบลเวียงสระ 2,653 คน และตำบลบ้านส้อง 6,606 คน[4]

เทศบาลตำบลเวียงสระ
สถานีรถไฟบ้านส้อง
สถานีรถไฟบ้านส้อง
ทต.เวียงสระตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทต.เวียงสระ
ทต.เวียงสระ
พิกัด: 8°38′11.4″N 99°22′05.9″E / 8.636500°N 99.368306°E / 8.636500; 99.368306
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
อำเภอเวียงสระ
จัดตั้ง • 11 มิถุนายน 2511 (สุขาภิบาลเวียงสระ)
 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.เวียงสระ)
พื้นที่
 • ทั้งหมด4.00 ตร.กม. (1.54 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด9,259 คน
 • ความหนาแน่น2,314.75 คน/ตร.กม. (5,995.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05841503
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 451 หมู่ที่ 4 ถนนบ้านส้อง-นาสาร ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84190
เว็บไซต์www.wiangsacity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

พื้นที่เทศบาลตำบลอยู่บริเวณเขตศูนย์ราชการของอำเภอเวียงสระ (คนภาคใต้ส่วนใหญ่จะเรียกว่าอำเภอเวียงสระว่า "บ้านส้อง") อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 68.6 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 695 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบ้านส้องซึ่งเป็นสถานีรถไฟชั้น 1 ของทางรถไฟสายใต้ เป็นศูนย์กลางทางการค้า การคมนาคมขนส่ง ทางเศรษฐกิจของสุราษฎร์ธานีตอนใต้ และเป็นที่ตั้งของศาลจังหวัดเวียงสระ[5][6] ซึ่งมีเขตตลอดท้องที่อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอชัยบุรี อำเภอบ้านนาสาร และอำเภอพระแสง

อ้างอิง

แก้
  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเวียงสระ กิ่งอำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (57 ง): 1843–1844. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2511
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  4. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  5. "พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (26 ก): 14–16. วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2550
  6. "พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเปิดทำการศาลจังหวัดเวียงสระ พ.ศ. ๒๕๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 130 (30 ก): 24–25. วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้