เต้าซี่ (จีน: 豆豉; พินอิน: dòuchǐ) เป็นเครื่องปรุงชนิดหนึ่งที่ทำจากการหมักถั่วเหลืองชนิดผิวดำ โดยพบได้มากในอาหารจีน เต้าซี่เกิดจากการหมักถั่วเหลืองผิวดำกับราโคจิ (Aspergillus oryzae) และดองเกลือ โดยกระบวนการจะทำให้เปลือกนิ่มและแห้งลง โดยการหมักดองเกิดจาก

เต้าซี่ (豆豉)
ภาพมุมใกล้ของเต้าซี่
ชื่ออื่นFermented black soybeans, Chinese fermented black beans, salted black beans, salty black beans
แหล่งกำเนิดจีน
ส่วนผสมหลักถั่วเหลืองผิวดำดอง
Douchi
"Douchi" in Chinese characters
ภาษาจีน豆豉
ฮั่นยฺหวี่พินอินdòuchǐ
ยฺหวิดเพ็งกวางตุ้งdau6-si6

ประวัติ แก้

เต้าซี่เป็นอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองที่เก่าแก่ที่สุด โดยในปีพ.ศ. 379 (165 ปีก่อนคริสตกาล) เต้าซี่ถูกจัดเก็บในสุสานหม่าหวังตุยในมณฑลหูหนาน ในตอนกลาง-ใต้ของประเทศจีน สุสานดังกล่าวถูกปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 379 และถูกเปิดออกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515[1]

การใช้ แก้

เต้าซี่ถูกใช้เป็นเครื่องปรุงเพื่อปรุงรสในจานอาหารประเภทปลาหรือผัดผัก และใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในหมาผัวโต้วฟู เต้าซี่ไม่เหมือนกับนัตโตหรือเต็มเปที่สามารถกินในปริมาณมากได้เนื่องจากเต้าซี่มีความเค็มกว่ามาก

การใช้ในประเทศอื่นๆ แก้

เนื่องจากเต้าซี่เป็นเครื่องปรุงเก่าแก่ จึงพบการใช้ได้ในหลายประเทศในตะวันออกไกลและในกลุ่มสังคมชาวจีนโพ้นทะเล โดยเป็นที่รู้จักในชื่อต่างๆ กัน

  • ในญี่ปุ่น เต้าซี่เป็นที่รู้จักในชื่อ daitokuji natto, hamanatto, hamananatto, shiokara-natto และ tera-natto
  • ในเกาหลี มีซอสที่กระบวนการผลิตคล้ายกันเรียกว่า ชุนจัง ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญใน จาจังมย็อน โดยเครื่องปรุงดังกล่าวถูกนำเข้ามาโดยผู้ตั้งรกรากชาวจีนสู่อินชอนในต้นศตวรรษที่ 20
  • ในกัมพูชา เต้าซี่ถูกเรียกว่า seang และมักใช้เป็นส่วนหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่ทำจากปลาชื่อ ปรอฮก
  • ในฟิลิปปินส์ เต้าซี่ถูกเรียกว่า tausi ในภาษาเซบัวโนและภาษาตากาล็อก

อ้างอิง แก้