เตตริส แอทแทค (อังกฤษ: Tetris Attack) เป็นวิดีโอเกมที่ผลิตโดยIntelligent Systemsและเผยแพร่โดยนินเทนโดในปีค.ศ.1995 สำหรับเครื่องซูเปอร์แฟมิคอม และเกมบอย. เป็นเกมแรกของPuzzle League series. โดยรู้จักกันในญี่ปุ่นว่า พาเนล เดอ พอน (パネルでポン Paneru de Pon) สำหรับซุปเปอร์แฟมิคอม และมีตัวละครกับฉากที่แตกต่างกัน ส่วนรุ่นอังกฤษได้เปลี่ยนตัวละครทั้งหมดให้เป็นตัวละครจากเกม ซุปเปอร์มาริโอเวิร์ด 2: โยชิส์ไอส์แลนด์ และวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ.1996 ได้เผยแพร่เกมบีเอส โยชิส์ พาเนพอน (ญี่ปุ่น: BSヨッシーのパネポンโรมาจิBī Esu Yosshī no Panepon) ในเครื่องแฟมิคอม

เตตริส แอทแทค
ผู้พัฒนาIntelligent Systems
Nintendo R&D1
ผู้จัดจำหน่ายนินเทนโด
กำกับมาซาโอะ ยามาโมโตะ
ฮิโตชิ ยามากามิ
โทชิตากะ มูรามัตซุ
อำนวยการผลิตGunpei Yokoi
แต่งเพลงซูเปอร์แฟมิคอม
มาซายะ คูซูเมะ
เกมบอย
มาซารุ ทาจิมะ
มาซายะ คูซูเมะ
ยูกะ ซุจิโยโกะ
เครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม, เกมบอย
วางจำหน่ายซูเปอร์แฟมิคอม
  • JP: October 27, 1995
  • NA: August 1996
  • EU: November 28, 1996
  • AU: 1996
เกมบอย
  • NA: August 1996
  • JP: October 26, 1996
  • EU: November 28, 1996
แนวเกมปริศนา
รูปแบบคนเดียว, หลายคน

เนื่องจากว่ามีการใช้คำว่า เตตริส เฮงค์ โรเจอร์ส ประธานบริษัทเตตริส อนุญาตให้นินเทนโดใช้ชื่อนี้ได้ ถึงแม้ว่าเกมนี้ไม่ได้มีส่วนร่วมกับผู้ผลิตเกมเตตริสแต่อย่างใด[1]

เนื้อเรื่อง แก้

ในเกมโหมดเนื้อเรื่อง ตัวเรื่องเกิดในเกาะโยชิ ที่ซึ่งบาวเซอร์และสมุนของมันได้สาปเพื่อนของโยชิ ผู้เล่นจะรับบทเป็นโยชิ ที่ต้องเอาชนะเพื่อนของเขาเพื่อถอนคำสาป หลังจากเพื่อนของเขาถูกถอนคำสาปแล้ว ตัวเกมจะเริ่มไปในด่านของสมุน และตัวบาวเซอร์เอง ในช่วงนี้ ผู้เล่นสามารถเลือกตัวละครเองได้

วิธีเล่น แก้

ในเกมนี้ จะมีตารางที่มีหลายช่อง โดยแต่ละช่องจะมีบล็อกสีต่างๆ ที่กำลังขึ้นไปด้านบนของกระดาน ซึ่งจะทำให้เกิดบล็อกใหม่ที่ด้านล่าง ผู้เล่นจะต้องเรียงบล็อกให้เป็นแนวตั้งหรือแนวนอนโดยต้องมีบล็อกอยู่ 3 หรือมากกว่านั้นเพื่อทำให้บล็อกนี้หายไป เกมจะจบลงเมื่อบล็อกเคลื่อนไปถึงด้านบนของกระดาน หรืออาจจะจบในแบบอื่น (เช่นหมดเวลา หรือเคลียร์บล็อกจนอยู่ใต้เส้นที่ต้องผ่าน)

ถ้าทำลายบล็อกที่มีมากกว่าสามจะทำให้เกิดคอมโบ และถ้าทำลายบล็อกที่มีการทำลายแบบติดต่อกัน จะทำให้เกิดลูกโซ่ได้ และทั้งคู่จะให้คะแนนพิเศษกับผู้เล่น และในโหมดหลายคน ผู้เล่นสามารถส่ง "บล็อกขยะ" ไปที่ช่องผู้เล่นคนอื่นได้.

เกมนี้มีอยู่หลายโหมดด้วยกัน เช่นโหมดไม่สิ้นสุด ที่ผู้เล่นต้องเล่นให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ โดยที่ความเร็วของแถวบล็อกจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ, โหมดจับเวลา ที่ผู้เล่นต้องทำคะแนนให้มากที่สุดภายในเวลา 2 นาที, โหมดเคลียร์ด่าน ที่ผู้เล่นต้องทำลายบล็อกให้อยู่ใต้เส้น, โหมดปริศนา ที่ผู้เล่นต้องทำลายบล็อกให้หมดโดยมีการเคลื่อนไหวแค่ไม่กี่ครั้ง (โหมดนี้จะไม่มีการเพิ่มบล็อก)

และเกมนี้มีโหมดผู้เล่นหลายคนที่สามารถเล่นได้โดยใช้ผู้เล่นสองคนหรือเล่นกับคอมพิวเตอร์พร้อมกับระดับของด่าน

ในโหมดเนื้อเรื่องหลัก จะมีตอนจบอยู่หกแบบ ขึ้นอยู่กับว่าผู้เล่นเลือกระดับไหน จบแบบ E โดยการชนะในระดับง่าย, จบแบบ D โดยการชนะในระดับปานกลาง, จบแบบ C โดยการชนะในระดับยาก แต่ตายอย่างน้อยหนึ่งครั้ง, จบแบบ B โดยการชนะในระดับยากโดยที่ไม่ตายแม้แต่ครั้งเดียว, จบแบบ A โดยการชนะในระดับยากมาก แต่ตายอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และจบแบบ S โดยการชนะในระดับยากมาก โดยไม่ตายแม้แต่ครั้งเดียว

พาเนล เดอ พอน แก้

เตตริสแอทแทค ถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่นชื่อ พาเนล เดอ พอน ซึ่งจำหน่ายในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ.1995 ในญี่ปุ่น และเกม เตตริสแอทแทค ยังคงเหมือนกับพาเนล เดอ พอน แต่เปลี่ยนแค่ตัวละครจากเกม พาเนล เดอ พอน เป็นตัวละครจากเกม ซุปเปอร์มาริโอเวิร์ด 2: โยชิส์ไอส์แลนด์

เนื้อเรื่องใน พาเนล เดอ พอน มีอยู่ว่า ธานาโทส ราชาผู้ชั่วร้ายได้ร่ายมนตร์บนโลกแห่งป็อปเปิล เพื่อให้แฟรี่สู้กันเอง. ยกเว้นลิป (Lip) แฟรี่แห่งดอกไม้ที่ไม่ได้ต้องมนตร์เพราะคฑาของเธอ โดยเธอต้องเอาชนะเพื่อนของเธอในด่านต่างๆ เพื่อถอนคำสาป แล้วไปสู้กับธานาโทส. ถ้าเล่นในระดับยาก ผู้เล่นจะพบว่าบอสสุดท้ายนั้น คือเทพีโคร์เดเลีย ผู้เป็นแม่ของลิปและราชินีของเหล่าแฟรี่ เธอบอกว่าเหตุการณ์นี้เป็นข้อพิสูจน์ว่า ลิปแข็งแกร่งพอที่จะเป็นราชินีรุ่นต่อไปได้หรือไม่

ในปีค.ศ.2009 เฮงค์ โรเจอร์ ประธานบริษัทเตตริส ได้ยอมให้นินเทนโดใช้ชื่อ เตตริส ในเกม พาเนล เดอ พอน ของสหรัฐ[1] เขากล่าวว่าเขาชอบเกมนี้ แต่การใช้ชื่อ เตตริส จะทำให้แฟรนไชส์ดูแย่ลงและซ่อนคุณภาพของเกมด้วยข้อดีของมัน[1]

เมื่อนินเทนโดได้มาหาเรา และบอกว่า "เราอยากจะเปลี่ยนชื่อเกมจาก พาเนล เดอ พอน ในญี่ปุ่น ให้เป็น เตตริสแอทแทค" ผมพูดว่า "มันไม่ใช่ เตตริส". ... ถ้าคิดแบบย้อนกลับ เราไม่สมควรทำอย่างนั้น. ผมไม่คิดว่าเป็นความคิดที่ดีเลย. เพราะมันทำให้ตราสินค้าดูจืดชืด เหมือนกับว่าคุณตั้งชื่อตัวละครอื่นว่ามิกกี้เมาส์เพราะว่าอยากได้เงิน. นี่คือเกมที่ดี! แต่เกมสมควรมีชีวิตและชื่อของเกมเป็นของตนเอง. มันอาจทำให้ประวัติศาสตร์เสื่อมลงเพราะมีคำว่า เตตริส แต่มันไม่ใช่ เตตริส. ...

— เฮงค์ โรเจอร์ ประธานบริษัทเตตริส[1]

การตอบรับ แก้

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
อิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลี8.25/10 (SNES)[2]
Honest Gamers9/10 (SNES)[3]

เตตริสแอทแทค ได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกเป็นอย่างมาก โดยได้รับถึง 90% ในGameRankings.[4] ผู้ใช้สี่คนใน Electronic Gaming Monthly ได้ให้คะแนน 8.25 ต่อ 10[2] ด็อกเตอร์เดว่อนจากGamePro ได้ให้ 5 ต่อ 5 ในเรื่องกราฟิก, การควบคุม, และ FunFactor กับ 4.5 ต่อ 5 ในเรื่องเสียง[5] GamesRadar+ ได้ให้เกมนี้เป็นอันดับ 87 ใน "100 เกมที่ดีที่สุดตลอดกาล"[6] ทางGameSpot ได้กล่าวถึงเกมนี้ว่า "น่าชื่นชมอย่างยิ่ง"[7]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Ben PerLee. "E3 09: Tetris CEO regrets Tetris Attack!". Destructoid. 2009-06-03. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
  2. 2.0 2.1 "Review Crew: Tetris Attack". Electronic Gaming Monthly. No. 86. Ziff Davis. September 1996. p. 28.
  3. "Tetris Attack (SNES) review". Honest Gamers. 2004-01-13. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
  4. "Tetris Attack for Super Nintendo". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.
  5. "ProReview: Tetris Attack". GamePro. No. 98. IDG. November 1996. p. 130.
  6. "The 100 best games of all time". GamesRadar+. 2011-03-31. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-14. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
  7. Cameron Davis (2012-02-02). "Tetris Attack Review". GameSpot. CBS Interactive. สืบค้นเมื่อ 2018-01-10.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้