เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น (ญี่ปุ่น: 株式会社デンソー, อักษรโรมัน: Kabushiki-Gaisha Densō) เป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองคาริยะ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น[3]

บริษัท เด็นโซ่ คอร์ปอเรชั่น
株式会社デンソー
ประเภทบริษัทมหาชน (K.K)
การซื้อขาย
ISINJP3551500006 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ (รถยนต์นั่ง/รถยนต์เพื่อการพาณิชย์)
ก่อตั้ง16 ธันวาคม พ.ศ. 2492; 74 ปีก่อน
สำนักงานใหญ่ญี่ปุ่น คาริยะ จังหวัดไอจิ, ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากรหลัก
โนบุอากิ คาโตะ
(ประธาน)
โคจิ โคบายาชิ
(รองประธาน)
โคจิ อาริมะ
(ประธานกรรมการบริหาร และ CEO)
รายได้เพิ่มขึ้น¥5,108.291 พันล้าน (2018)[1]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น ¥412.676 พันล้าน (2018)[1]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น ¥320.561 พันล้าน (2018)[1]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น ¥5,764.417 พันล้าน (2018)[1]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ¥3,447.082 พันล้าน (2017)[1]
เจ้าของโตโยต้ามอเตอร์ (24.77%)[2]
โตโยต้าอินดัสทรีส์  (8.72%)
เว็บไซต์www.denso.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2492 ในชื่อ บริษัท นิปปอนเด็นโซ่ จำกัด (Nippon Denso Co. Ltd) หลังแยกตัวจากโตโยต้ามอเตอร์ โดยปัจจุบันโตโยต้าถือหุ้นประมาณร้อยละ 25 ของบริษัท[4]

แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทโตโยต้า แต่ยอดขายของกลุ่มโตโยต้ามีสัดส่วนไม่ถึง 50% ของรายได้ทั้งหมด (รายได้ 44% มาจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นในญี่ปุ่น เยอรมนี สหรัฐฯ และจีน) ณ เดือนมีนาคม 2559[5] ในปี 2559 เด็นโซ่กลายเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่อันดับสี่ของโลก[6]

ในปี 2565 เด็นโซ่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 278 ของนิตยสารฟอร์จูนโกลบอล 500 ด้วยรายได้รวม 49,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีพนักงาน 167,950 คน[7]

ในปี พ.ศ. 2564 เด็นโซ่ประกอบด้วยบริษัทสาขารวม 200 แห่ง (64 แห่งในญี่ปุ่น 23 แห่งในอเมริกาเหนือ 32 แห่งในยุโรป 74 แห่งในเอเชีย และ 7 แห่งในโอเชียเนียและภูมิภาคอื่น ๆ)

ชื่อ แก้

เด็นโซ่ (電装, densō) เป็นคำผสมของคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า "ไฟฟ้า" (電気, denki) และ "อุปกรณ์" (装置, sōchi)

การดำเนินงาน แก้

เด็นโซ่พัฒนาและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลากหลายประเภท ได้แก่ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล ชิ้นส่วนยานพาหนะไฮบริด ระบบปรับอากาศ แผงหน้าปัด ระบบถุงลมนิรภัย ระบบควาทปลอดภัยก่อนการชน และหัวเทียน รวมถึงพัฒนาและผลิตชิ้นส่วนที่ไม่ใช่ยานยนต์ เช่น อุปกรณ์ทำความร้อนภายในบ้าน และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม หนึ่งในหุ่นยนต์อุตสาหกรรมของเด็นโซ่ได้รับความสนใจจากสาธารณชนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ในการแข่งขันหมากรุกญี่ปุ่นกับผู้เล่นมืออาชีพ[8][9]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เด็นโซ่ได้ประกาศเปิด "ศูนย์นวัตกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้า" ที่โรงงานในเมืองอันโจ โรงงานดังกล่าวจะสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของบริษัทสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริด[10]

การขาย แก้

ในปี พ.ศ. 2557 ยอดขายทั่วโลกของเด็นโซ่มีดังต่อไปนี้:

  • ระบบระบายความร้อน: 30.4%
  • ระบบควบคุมระบบส่งกำลัง: 35.0%
  • ระบบอิเล็กทรอนิกส์: 15.3%
  • ระบบไฟฟ้า: 9.4%
  • มอเตอร์ไฟฟ้า: 7.0%
  • สินค้ายานยนต์อื่น ๆ: 1.4%
  • ระบบอุตสาหกรรม สินค้าอุปโภคบริโภค: 1.1%
  • สินค้าที่ไม่ใช่ยานยนต์อื่น ๆ: 0.4%

เด็นโซ่เวฟ แก้

เด็นโซ่เวฟ (Denso Wave) เป็นบริษัทในเครือที่ผลิตผลิตภัณฑ์ระบุตัวตนอัตโนมัติ (เครื่องอ่านบาร์โค้ดและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง) หุ่นยนต์อุตสาหกรรม และเครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้[11] มีชื่อเสียงจากการสร้างรหัสคิวอาร์สองมิติ และเป็นสมาชิกของสมาคมหุ่นยนต์ญี่ปุ่นและสนับสนุนมาตรฐาน ORiN

เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล อเมริกา แก้

เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล อเมริกา (Denso International America) เป็นบริษัทในเครือของเด็นโซ่ในอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2513 เด็นโซ่ได้ตัดสินใจขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศจากคาริยะ ประเทศญี่ปุ่น ไปยังถึงอเมริกาเหนือ บริษัท เด็นโซ่ เซลส์ แคลิฟอร์เนีย อิงก์ (Denso Sales California, Inc.) ก่อตั้งขึ้นในเมืองฮอว์ธอร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 โดยมีพนักงานเพียง 12 คน โดย 4 คนเป็นชาวอเมริกัน วัตถุประสงค์ของบริษัทนี้คือการส่งเสริมระบบปรับอากาศของตนเป็นทางเลือกสําหรับยานพาหนะที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่น

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 เด็นโซ่ได้เปิดแผนกการขายชื่อ เด็นโซ่ เซลส์ ในเมืองเซาท์ฟิลด์ รัฐมิชิแกน

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2518 เด็นโซ่ อินเตอร์เนขั่นแนล อเมริกา ได้เปิดศูนย์บริการที่เมืองซีดาร์ฟอลส์ รัฐไอโอวา เนื่องจากการทำสัญญาซื้อขายอะไหล่ทางการเกษตรกับจอห์น เดียร์ ซึ่งมีทั้งสตาร์ทและมิเตอร์ไฟฟ้า

เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล อเมริกา มีพนักงานมากกว่า 17,000 คนในศูนยบริการทั้ง 38 แห่งในอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ยอดขายสำหรับสาขาทั้งหมดในอเมริการวมอยู่ที่ 8,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[12][13]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Financial Results".
  2. "State of Shareholders / Investors (as of Sep. 30, 2013)". Denso Corporation. สืบค้นเมื่อ 2014-01-11.
  3. "The page has been moved to a new location". DENSO Global Website.
  4. "Principal Shareholders". Global Denso. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
  5. "投資家情報|デンソー" (PDF). www.denso.co.jp.
  6. Treece, James B. (Apr 28, 2016). "Denso's fiscal-year net falls 5.8%; Aisin Seiki's climbs 14%". Autonews. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
  7. "Global 500".
  8. "ロボットで「王手」 デンソー、将棋電王戦に参戦". nikkei.com. 12 March 2014.
  9. ni2douga (14 March 2014). "【第3回将棋電王戦】ロボットアームの実力!駒並べと第一手". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-21 – โดยทาง YouTube.
  10. "Denso opens electrification R&D centre in Japan". Just-auto. 9 June 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2020. สืบค้นเมื่อ July 6, 2020.
  11. "Corporate Outline". Denso Wave Inc. สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.
  12. "About Us Overview | DENSO International America, Inc". Densocorp-na.com. สืบค้นเมื่อ 2012-03-25.
  13. Proud Past, Strong Future: A History of DENSO’s First 50 Years (pg. 112-115)