เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ย

จักรพรรดินีเฉฺวียน (จีน: 全皇后; พินอิน: Quán Huánghòu; ค.ศ. 244[a]ป. ต้นคริสต์ทศวรรษ 300) หรือ เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ย[3] (จีน: 全惠解; พินอิน: Quán Huìjiě) เป็นจักรพรรดินีของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นพระมเหสีของซุนเหลียงจักรพรรดิลำดับที่ 2 ของง่อก๊ก

เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ย
全惠解
จักรพรรดินีแห่งง่อก๊ก
ดำรงตำแหน่ง16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 253[1] – พฤศจิกายน ค.ศ. 258
ก่อนหน้าพัวฮูหยิน
ถัดไปจักรพรรดินีจู
ประสูติค.ศ. 244
นครหางโจว มณฑลเจ้อเจียง
สวรรคตป.ต้นทศวรรษ 300
คู่อภิเษกซุนเหลียง
พระราชบิดาจวนเสียง

พระประวัติ

แก้

เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยเป็นบุตรสาวของจวนเสียง (全尚 เฉวียน ช่าง) มารดาของเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยเป็นบุตรสาวของซุนหยง (孫恭 ซุน กง) ผู้เป็นหลานชายของซุนเจ้ง (孫靜 ซุน จิ้ง) ญาติของเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยชื่อจวนจ๋อง (全琮 เฉวียน ฉง) สมรสกับกิมก๋งจู๋หรือซุน หลู่ปาน (孫魯班) พระธิดาของซุนกวนจักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐง่อก๊ก เมื่อเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยยังอยู่ในวัยเยาว์ มีความงดงามและเป็นที่โปรดปรานของกิมก๋งจู๋[3] ทุกครั้งที่กิมก๋งจู๋เสด็จเข้าพระราชวัง ก็จะทรงนำเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยไปด้วยในการเข้าเฝ้าซุนกวนพระบิดา เมื่อเกิดการต่อสู้ชิงอำนาจระหว่างพระโอรส 2 องค์ของซุนกวนคือซุนโฮและซุน ป้า (孫霸) กิมก๋งจู๋ซึ่งมีเรื่องบาดหมางกับพระมารดาของซุนโฮ จึงทูลโน้มน้าวพระบิดาให้จัดงานสมรสระหว่างเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยและซุนเหลียง (พระโอรสอีกองค์ของซุนกวนที่ประสูติกับพัวฮูหยิน) เพราะซุนเหลียงและพระมารดาได้รับความโปรดปรานจากซุนกวนมากขึ้น เมื่อราวปี ค.ศ. 250 การต่อสู้แย่งชิงอำนาจระหว่างซุนโฮและซุน ป้าสิ้นสุดลงเมื่อซุนกวนปลดซุนโฮจากตำแหน่งรัชทายาท และบังคับซุน ป้าให้กระทำอัตวินิบาตกรรม ซุนเหลียงได้รับการตั้งขึ้นเป็นรัชทายาทของง่อก๊กองค์ใหม่[4]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 252 ซุนเหลียงขึ้นครองราชย์หลังการสวรรคตของพระบิดา ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 253 พระองค์สถาปนาเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยเป็นจักรพรรดินี หลังจากนั้นครอบครัวและญาติของเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยก็ขึ้นมามีอำนาจ โดยสมาชิก 6 คนของตระกูลเฉฺวียนหรือจวน (รวมถึงจวนเสียง) ได้รับการตั้งให้มีบรรดาศักดิ์ระดับโหว (侯) รวมถึงได้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในราชสำนักและกองทัพของง่อก๊ก เรื่องนี้ถือเป็นประวัติการณ์เพราะตั้งแต่การก่อตั้งง่อก๊กในปี ค.ศ. 229 เป็นต้นมา ยังไม่เคยมีกรณีที่พระญาติฝ่ายมเหสีมีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองของง่อก๊กมาก่อน ในปี ค.ศ. 257 เมื่อจูกัดเอี๋ยน (ขุนพลของวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของง่อก๊ก) เริ่มก่อกบฏในอำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; อยู่บริเวณอำเภอโช่ว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) ในอาณาเขตของวุยก๊ก จูกัดเอี๋ยนขอการสนับสนุนจากง่อก๊ก ซุนเหลียงจึงมีรับสั่งให้ตระกูลจวน (เฉฺวียน) นำพลไปยังฉิวฉุนเพื่อสนับสนุนจูกัดเอี๋ยน แต่ท้ายที่สุดกบฏถูกทัพวุยก๊กปราบปรามและจูกัดเอี๋ยนถูกสังหาร คนจากตระกูลจวน 4 คนยอมจำนนและแปรพักตร์เข้าด้วยวุยก๊ก ทำให้อิทธิพลของตระกูลจวนในง่อก๊กอ่อนแอลงอย่างมาก[5]

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 258 ซุนเหลียงถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยซุนหลิม พระญาติของราชวงศ์แห่งง่อก๊กผู้ขึ้นมามีอำนาจในคริสต์ทศวรรษ 250 และขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งง่อก๊ก ซุนหลังหลังถูกปลดจากราชบัลลังก์เป็นที่รู้จักในฐานันดรศักดิ์ว่า "อ๋องแห่งห้อยเข" (會稽王 ไคว่จีหวาง) ส่วนเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยก็ถูกปลดจากตำแหน่งจักรพรรดินี ในปี ค.ศ. 260 ซุนฮิว พระเชษฐาต่างมารดาของซุนเหลียงและผู้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊กลำดับถัดมา (ผู้กำจัดซุนหลิมหลังขึ้นครองราชย์ในปี ค.ศ. 258) โปรดให้ลดฐานันดรศักดิ์ของซุนเหลียงเป็น "โฮ่วกวานโหว" (候官侯) และส่งซุนเหลียงไปประทับที่อำเภอโฮ่วกวาน (อยู่บริเวณนครฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน) เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยก็ติดตามซุนเหลียงไปยังอำเภอโฮ่วกวานและประทับอยู่ที่นั่น[6] เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยกลับมาเกี๋ยนเงียบ (建業 เจี้ยนเย่; ปัจจุบันคือนครหนานจิง มณฑลเจียงซู) นครหลวงของง่อก๊กภายหลังจากง่อก๊กถูกพิชิตในปี ค.ศ. 280 โดยทัพของราชวงศ์จิ้น เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยถึงแก่กรรมในช่วงศักราชหย่งหนิง (永寧; ค.ศ. 301-302) ในรัชสมัยของจักรพรรดิจิ้นฮุ่ยตี้[3]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. ยงอานปี่จี้ (庸庵笔记) ระบุว่าเฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ยมีพระชนมายุ 10 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) เมื่อพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดินีในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 253 ปีประสูติของพระองค์จึงควรเป็นปี ค.ศ. 244 อย่างไรก็ตาม ยงอานปี่จี้ ยังระบุด้วยว่าพระองค์มีพระชนมายุ 18 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) เมื่อซุนเหลียงสิ้นพระชนม์ (ในปี ค.ศ. 260)[2].

อ้างอิง

แก้
  1. วันปิ่งอิ๋น (丙寅) เดือน 1 ในปีที่ 2 ของรัชสมัยซุนเหลียง, จากพระราชประวัติซุนเหลียงในจดหมายเหตุสามก๊ก
  2. (夫人錢唐人,諱惠解,十歲立為吳皇后。吳主既廢,貶號夫人,年十八而廢主卒,崎嶇權臣劇寇之間,卒能保身完節,時議憐之。) ยงอานปี่จี้ เล่มที่ 5.
  3. 3.0 3.1 3.2 (吳錄曰:亮妻惠解有容色,居候官,吳平乃歸,永寧中卒。) อรรถาธิบายจากอู๋ลู่ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
  4. (孫亮全夫人,全尚女也。尚從祖母公主愛之,每進見輒與俱。及潘夫人母子有寵,全主自以與孫和母有隙,乃勸權為潘氏男亮納夫人,亮遂為嗣。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
  5. (夫人立為皇后,以尚為城門校尉,封都亭侯,代滕胤為太常、衞將軍,進封永平侯,錄尚書事。時全氏侯有五人,並典兵馬,其餘為侍郎、騎都尉,宿衞左右,自吳興,外戚貴盛莫及。及魏大將諸葛誕以壽春來附,而全懌、全端、全煒、全儀等並因此際降魏,全熈謀泄見殺,由是諸全衰弱。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.
  6. (會孫綝廢亮為會稽王,後又黜為候官侯,夫人隨之國,居候官,尚將家屬徙零陵,追見殺。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 50.

บรรณานุกรม

แก้
ก่อนหน้า เฉฺวียน ฮุ่ยเจี่ย ถัดไป
พัวฮูหยิน   จักรพรรดินีจีน
ง่อก๊ก

(ค.ศ. 253 – 258)
  จักรพรรดินีจู