เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด
เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด (อาหรับ: دينا بنت عبد الحميد; ประสูติ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2472 สิ้นพระชนม์ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562) เป็นอดีตพระบรมราชินีและพระอัครมเหสีพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เป็นพระมารดาในเจ้าหญิงอิลา บินต์ ฮุซัยน์
เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด | |
---|---|
ชารีฟา | |
เจ้าหญิงดีน่าในปีพ.ศ. 2493 | |
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน | |
ดำรงพระยศ | 19 เมษายน พ.ศ. 2498 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2500 (2 ปี 66 วัน) |
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีไซน์ |
ถัดไป | สมเด็จพระราชินีอาลียา |
ประสูติ | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2472 กรุงไคโร, ประเทศอียิปต์ ชารีฟาดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีด |
สิ้นพระชนม์ | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562 (89 ปี) กรุงอัมมาน, ประเทศจอร์แดน |
ฝังพระศพ | พระราชวังรักฮาดาน |
พระสวามี |
|
พระบุตร | เจ้าหญิงอิลา |
ราชวงศ์ | ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส) |
พระบิดา | ชารีฟอับดุลฮะมีด บิน มุฮัมมัด อับดุลอะซีซ อัลเอาน์ |
พระมารดา | นางฟะฮ์รียะฮ์ บะรอฟ |
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม |
พระประวัติ
แก้พระชนม์ชีพในวัยเยาว์
แก้เจ้าหญิงดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีดแห่งจอร์แดน ประสูติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2472 เป็นธิดาของชารีฟอับดุลฮะมีด บิน มุฮัมมัด อับดุลอะซีซ อัลเอาน์ กับนางฟะฮ์รียะฮ์ บะรอฟ[1] มีพระนามเดิมว่า ชารีฟาดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีด ครอบครัวของพระองค์เป็นสมาชิกแห่งราชสกุลฮาชิม (ราชวงศ์ฮัชไมต์) ดังนั้นพระองค์จึงทรงมีสิทธิ์ในการใช้พระบรรดาศักดิ์ ชารีฟาแห่งเมกกะ ในฐานะที่ทรงเป็นลูกหลานของผู้สืบเชื้อสายจากฮะซัน อิบน์ อะลี ผู้เป็นหลานชายในศาสดามุฮัมมัด เจ้าหญิงดีน่ายังทรงเป็นพระญาติชั้นที่สามของสมเด็จพระเจ้าเฏาะลาลแห่งจอร์แดน พระสสุระ (พ่อสามี)ในอนาคตของพระองค์ นอกจากนี้ พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลผู้ดีชั้นสูงของอียิปต์ ผ่านทางพระชนนี[2]
การศึกษา
แก้เช่นเดียวกับบุตร - ธิดาคนอื่นๆของผู้ดีชนชั้นสูงอาหรับ เจ้าหญิงดีน่าทรงถูกส่งไปศึกษาต่อยังโรงเรียนประจำในประเทศอังกฤษ ต่อมาพระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาวรรณคดีอังกฤษจากวิทยาลัยเกอร์ตัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และสาขาสังคมศาสตร์จากวิทยาลัยเบดฟอร์ด กรุงลอนดอน[3]
การทำงาน
แก้หลังจากทรงสำเร็จการศึกษา พระองค์ทรงสอนวรรณคดีและปรัชญาภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยไคโร ประเทศอียิปต์ ในขณะที่ทรงพำนักอยู่ในเขตชานเมืองที่ร่ำรวยกับพระชนกและพระชนนีของพระองค์[3] เจ้าหญิงดีน่าทรงมีพระสิริโฉมที่งดงาม ทรงมีการศึกษาระดับสูงและมีพระจริยวัตรที่ซับซ้อน พระองค์ทรงเป็นที่ชื่นชอบของคณะผู้ติดตามและเหล่าพระสหายของพระองค์หลายคน[4][5]
สมเด็จพระราชินี
แก้อภิเษกสมรส
แก้เจ้าหญิงดีน่ามีพระปฏิสันถารครั้งแรกกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน พระญาติห่างๆของพระองค์ ในปีพ.ศ. 2495 ณ กรุงลอนดอนที่บ้านของพระญาติจากอิรัก สมเด็จพระราชาธิบดีขณะนั้นยังทรงศึกษาอยู่ที่โรงเรียนฮาร์โรว์ ในขณะที่พระองค์ทรงกำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยเกอร์ตัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และทรงกำลังศึกษาระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์และทรงได้รับเกียรตินิยม[2][6] หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาพระองค์เสด็จไปที่อียิปต์ซึ่งสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงพบพระองค์ที่เมืองมาดิหลังจากนั้น
ในปีพ.ศ. 2497 สมเด็จพระราชินีไซน์ พระราชชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ ผู้ทรงมีอิทธิพลสำคัญในช่วงต้นรัชกาลได้ทรงประกาศการหมั้นระหว่างสมเด็จพระราชาธิบดีและชารีฟาดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีด การจับคู่กันของทั้งสองพระองค์ครั้งนี้ถือว่าสมบูรณ์แบบเนื่องจากเจ้าหญิงดีน่าทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ฮัชไมต์พระองค์หนึ่ง และทรงได้รับการศึกษาที่ดีที่สุดจากตะวันตก[7]
เจ้าหญิงดีน่าทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระราชวังรักฮาดาน[8] โดยพระองค์ทรงมีพระชันษา 26 ปีและพระราชสวามีทรงมีพระชนมายุ 19 พรรษา[2]
เจ้าหญิงดีน่าทรงได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน ตามที่ผู้เขียน ไอซิส ฟาฮ์มี ผู้ขอพระราชทานสัมภาษณ์เจ้าหญิงดีน่าต่อหน้าพระพักต์พระราชสวามีของพระองค์ในวันอภิเษกสมรส สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์รับสั่งอย่างชัดเจนว่าสมเด็จพระราชินีจะทรงไม่มีบทบาทใดๆทางการเมือง ซึ่งฟาฮ์มีได้ตั้งข้อสังเกตว่าสมเด็จพระราชาธิบดีทรงมีพระราชดำริที่จะทรงใช้พระราชอำนาจเหนือเจ้าหญิงดีน่าซึ่งมีพระจริยวัตรที่เข้มแข็งและแข็งแกร่ง รวมถึงสมเด็จพระราชินีไซน์ซึ่งทรงพระราชดำริแบบเดียวกันกับพระราชโอรสว่าเจ้าหญิงดีน่าจะทรงเป็นภัยต่อสถานะของพระองค์เองในอนาคต[9]
พระบุตร
แก้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 พระองค์ทรงมีพระประสูติกาลเจ้าหญิงอิลา บินต์ ฮุสเซน พระราชธิดาพระองค์แรกในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน[2] และเป็นพระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์
เจ้าหญิงแห่งจอร์แดน
แก้ทรงหย่า
แก้ในปีพ.ศ. 2499 ในขณะที่สมเด็จพระราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปประทับพัก ณ ประเทศอียิปต์ สมเด็จพระราชาธิบดีมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแยกทางจากพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์น่าจะทรงทำเช่นนั้นเมื่อทรงได้รับการกระตุ้นจากพระราชชนนีของพระองค์[7] ทั้งสองพระองค์ทรงหย่ากันเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ในช่วงเวลาที่ตึงเครียดระหว่างจอร์แดนและอียิปต์[10] และพระอิสริยยศของพระองค์ที่ถูกลดลงจากสมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดนเหลือเพียง เจ้าหญิงดีน่า อับดุลฮะมีดแห่งจอร์แดน
อดีตสมเด็จพระราชินีทรงไม่ได้รับอนุญาตให้พบกับพระธิดาของพระองค์ในบางครั้งหลังจากทรงหย่า[2]
เสกสมรสครั้งที่สอง
แก้วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เจ้าหญิงดีน่าทรงเสกสมรสกับเศาะลาห์ อัตตะอ์มะรี ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยรบแบบกองโจรปาเลสไตน์ที่ได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงในองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ แต่เขากลับถูกกักขังโดยชาวอิสราเอลในปีพ.ศ. 2525[11] ในปีต่อมาเจ้าหญิงดีน่าได้ทรงเจรจาแลกเปลี่ยนนักโทษที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์โดยปล่อยตัวพระสวามีของพระองค์และนักโทษอีก 8,000 คน[12]
สิ้นพระชนม์
แก้เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ กรุงอัมมาน สิริพระชันษา 89 ปี[13]
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้• ชารีฟาดีน่า บินต์ อับดุลฮะมีด (15 ธันวาคม พ.ศ. 2472 – 19 เมษายน พ.ศ. 2498)
• เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (19 เมษายน พ.ศ. 2498 – 24 มิถุนายน พ.ศ. 2500)
• เฮอร์รอยัลไฮเนส เจ้าหญิงดีน่า อับดุลฮะมีดแห่งจอร์แดน (24 มิถุนายน พ.ศ. 2500 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2513)
• เจ้าหญิงดีน่า อับดุลฮะมีดแห่งจอร์แดน (7 ตุลาคม พ.ศ. 2513 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน
แก้- Dame Grand Cordon of the Supreme Order of the Renaissance, special class (Kingdom of Jordan, 19 เมษายน พ.ศ. 2498).[14]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- Dame Grand Cross of the Order of Civil Merit (Spain, 3 มิถุนายน 2498).[14][15]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ก่อนหน้า | เจ้าหญิงดีนา บินต์ อับดุลฮะมีด | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีไซน์ อัล-ชาราฟ เฏาะลาลแห่งจอร์แดน | สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (2498 - 2500) |
เจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Royal Ark
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Queen Dina". Cairo Times. 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2010. สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
- ↑ 3.0 3.1 Shlaim, p. 179-83
- ↑ Fahmy, Isis (2003). Around the World with Isis. Papadakis Publisher. p. 65. ISBN 9781901092493.
- ↑ King Hussein, Princess Dina and Princess Alia
- ↑ Great Britain and the East, Volume 71. 1955.
- ↑ 7.0 7.1 Dann, Uriel (1991). King Hussein and the Challenge of Arab Radicalism. Oxford University Press. p. 22. ISBN 0195361210.
- ↑ Paxton, J. (2016). The Statesman's Year-Book 1982-83 (ภาษาอังกฤษ). Springer. p. 752. ISBN 9780230271111.
- ↑ Fahmy, Isis (2006). Around the World with Isis. Papadakis Publisher. ISBN 1-901092-49-6.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSinai
- ↑ Greenberg, Joel (1996). "A Victory That Nips at Arafat's Heels". Cairo Times. สืบค้นเมื่อ 1 October 2010.
- ↑ Kanafani, Deborah (2008). Unveiled: how an American woman found her way through politics, love and obedience in the Middle East. USA: Free Press. ISBN 978-0-7432-9183-5.
- ↑ "Royal News". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-21. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
- ↑ 14.0 14.1 Royal Ark
- ↑ Boletín Oficial del Estado
- ↑ "Queen Dina". Cairo Times. 1999. Archived from the original on 21 September 2010. Retrieved 1 October 2010.
- ↑ Fahmy, Isis (2003). Around the World with Isis. Papadakis Publisher. p. 65. ISBN 9781901092493.
- ↑ Dann, Uriel (1991). King Hussein and the Challenge of Arab Radicalism. Oxford University Press. p. 22. ISBN 0195361210.
- ↑ Sinai, Anne (1977). The Hashemite Kingdom of Jordan and the West Bank: a handbook. USA: American Academic Association for Peace in the Middle East. ISBN 0-917158-01-6.