สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีอาลียา อัลฮุซัยน์ (อาหรับ: علياء الحسين; เดิม: อาลียา บาฮาอัดดีน ตูคัน; พระราชสมภพ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 – สวรรคต 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520) เป็นพระบรมราชินีและพระอัครมเหสีพระองค์ที่สามในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งตกทางตอนใต้ของจอร์แดนใกล้กับเมืองทาฟีลาห์
สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน | |||||
ดำรงพระยศ | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 (4 ปี 47 วัน) | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีดีน่า | ||||
ถัดไป | สมเด็จพระราชินีนูร์ | ||||
พระราชสมภพ | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 กรุงไคโร, ประเทศอียิปต์ อาลียา บาฮาอัดดีน ตูคัน | ||||
สวรรคต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 (28 พรรษา) กรุงอัมมาน, ประเทศจอร์แดน | ||||
ฝังพระศพ | พระราชวังรักฮาดาน | ||||
พระราชสวามี | สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน | ||||
พระราชบุตร | เจ้าหญิงฮายา เจ้าชายอาลี | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส) | ||||
พระราชบิดา | นายบาฮาอัดดีน ตูคัน | ||||
พระราชมารดา | นางฮานาน ฮาชิม | ||||
ศาสนา | ศาสนาอิสลาม |
พระราชประวัติ
แก้พระชนพ์ชีพช่วงต้นและพื้นฐานครอบครัว
แก้สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ เป็นธิดาของนายบาฮาอัดดีน ตูตันกับนางฮานาน ฮาชิม พระชนกของพระองค์เป็นเอกอัครราชทูตจอร์แดนต่อศาลเซนต์เจมส์(สหราชอาณาจักร) อิตาลี ตุรกีและอียิปต์[1][2] นายตูคันได้ถวายงานรับใช้สมเด็จพระเจ้าอับดุลลอฮ์ที่ 1 แห่งจอร์แดน โดยเป็นผู้ช่วยในการเขียนรัฐธรรมนูญของจอร์แดนในปีพ.ศ. 2495 และเป็นเอกอัครราชทูตคนแรกของจอร์แดนต่อสหประชาชาติ
การศึกษาและการทำงาน
แก้ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กไปกับการเดินทางกับพระชนกและพระชนนีของพระองค์ในช่วงที่พระชนกทำงานในคณะทูตของจอร์แดน พระองค์อาศัยอยู่ในอียิปต์ ตุรกี ลอนดอน สหรัฐอเมริกาและโรม ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาในลอนดอนกับพระอนุชาของพระองค์ อัลลาและอับดุลลอฮ์ จากนั้นทรงสำเร็จการศึกษาที่ศูนย์ศิลปศาสตร์โรม ทรงเรียนรัฐศาสตร์ร่วมกับจิตวิทยาสังคมและการประชาสัมพันธ์ที่วิทยาลัยฮันท์เตอร์ในนิวยอร์ก พระองค์ทรงสนใจด้านกีฬาและการเขียนและทรงต้องการเป็นนักการทูต ในปีพ.ศ. 2514 ทรงย้ายไปประเทศจอร์แดนที่ซึ่งพระองค์ทำงานให้กับรอยัลจอร์แดเนี่ยนแอร์ไลน์
พระองค์ได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสจากสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน ให้ดูแลการเตรียมการสำหรับเทศกาลเล่นสกีน้ำระหว่างประเทศครั้งแรกที่จัดขึ้นในเมืองชายฝั่งอควาบาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2515
สมเด็จพระราชินี
แก้อภิเษกสมรส
แก้ทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสแบบส่วนพระองค์กับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2515 และทรงได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน
สมเด็จพระราชินีอาลียาและสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ มีพระราชโอรส - ธิดาสองพระองค์
เจ้าหญิงฮายา (ประสูติ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2517)
เจ้าชายอาลี (ประสูติ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2518)
ทั้งสองพระองค์ยังทรงอุปการะ อาร์บี มูไฮเซน เด็กหญิงชาวปาเลสไตน์ที่แม่ถูกฆ่าตายด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่ค่ายผู้ลี้ภัยใกล้สนามบินอัมมาน เป็นพระราชธิดาบุญธรรม
สวรรคต
แก้สมเด็จพระราชินีอาลียาเสด็จสวรรคตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งตกทางตอนใต้ของจอร์แดนใกล้กับเมืองทาฟีลาห์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 สิริรวมพระชนมพรรษาได้ 28 พรรษา[1]
พระเกียรติยศ
แก้พระอิสริยยศ
แก้• อาลียา บาฮาอัดดีน ตูคัน (25 ธันวาคม พ.ศ. 2491 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2515)
• เฮอร์มาเจสตี้ สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (24 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน
แก้- Dame Grand Cordon with Collar of the Order of al-Hussein bin Ali.[3]
- Dame Grand Cordon of the Supreme Order of the Renaissance [special class] (24 ธันวาคม พ.ศ. 2515).[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Jordan remembers Queen Alia". Jordan Times. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
- ↑ Death of a King; Cautious King Took Risks In Straddling Two Worlds Judith Miller, The New York Times, 8 February 1999
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Royal Ark
- ↑ "President's Week in Review: March 1 – March 9, 1976". Official Gazette of the Republic of the Philippines. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 July 2015.
- ↑ Aparchive
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีอาลียาแห่งจอร์แดน | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
อองตัวแนต อาวริล การ์ดิเนอร์ | สมเด็จพระราชินีแห่งจอร์แดน (ค.ศ. 1972 - 1977) |
ลิซา นาจีบ ฮัลลาบี |