เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี

เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย:شمس پهلوی, ประสูติ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1917 - สิ้นพระชนม์ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996) พระราชธิดาในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี กับสมเด็จพระราชินีตาจ อัล-โมลูก และเป็นพระเชษฐภคินีในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ชาห์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ปาห์ลาวี และระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศอิหร่าน

เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี
เจ้าหญิงแห่งอิหร่าน
ประสูติ18 ตุลาคม ค.ศ. 1917
กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน
สิ้นพระชนม์29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 (79 ปี)
เมืองซานตาบาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
พระสวามีเฟเรย์ดัน แจม (หย่า)
เมหร์ดาด ปาหร์บอด
พระบุตรชาห์บอซ ปาหร์บอด
ชาห์ยาร์ ปาหร์บอด
ชาห์ราซาด ปาหร์บอด
ราชวงศ์ราชวงศ์ปาห์ลาวี
พระบิดาพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี
พระมารดาสมเด็จพระราชินีตาจ อัล-โมลูก

พระประวัติ แก้

เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี ประสูติเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1917กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ทรงพระราชธิดาในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี กับสมเด็จพระราชินีตาจ อัล-โมลูก พระองค์มีพระอนุชา 2 พระองค์ และพระขนิษฐา 1 พระองค์ คือ มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซา เจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี และเจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 1

ในระหว่างการเสด็จประพาสทวีปยุโรปใน ค.ศ. 1936 เจ้าหญิงชามส์ พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีตาจ อัล-โมลูก และพระขนิษฐา ได้ประทับอยู่ในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน โดยอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำในขณะนั้น ได้ให้ความเป็นมิตรแก่พระราชวงศ์อิหร่านขณะที่พำนักอยู่ โดยประเทศอิหร่านในขณะนั้น เป็นหนึ่งในกว่า 10 ประเทศ ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศเยอรมัน โดยมีการรับคนจำนวนมากเพื่อมาทำงานในอุตสาหกรรมตั๋วเดินทาง และศิลปศาสตร์การบิน

เสกสมรส แก้

 
เจ้าหญิงชามส์ และพระสวามี

เจ้าหญิงชามส์ได้เสกสมรสครั้งแรกกับนายเฟเรย์ดัน แจม (Fereydoun Jam) บุตรของนายมะห์มุด แจม (Mahmood Jam) อดีตนายกรัฐมนตรีของอิหร่าน ภายใต้การคลุมถุงชนของพระราชบิดา แต่ภายหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดา เจ้าหญิงชามส์ และพระสวามีจึงได้หย่าขาดจากกัน

ขณะที่พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี พระราชบิดา ถูกบังคับให้สละราชสมบัติ เจ้าหญิงชามส์พร้อมด้วยพระราชวงศ์จำนวนหนึ่งได้เสด็จลี้ภัยในกรุงพอร์ตลูอิส ประเทศมอริเชียส และเมืองโยฮันเนสเบิร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ตามลำดับ โดยขณะที่เจ้าหญิงชามได้ประทับนอกพระราชอาณาจักร เจ้าหญิงชามส์ได้เขียนบันทึกประจำวัน และได้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เอตตาลาอัต (Ettela'at) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์รายเดือน ในปี ค.ศ. 1948

เจ้าหญิงชามส์ที่ปราศจากพระยศได้เสกสมรสอีกครั้งกับนายเมหร์ดาด ปาหร์บอด และเจ้าหญิงได้เสด็จไปประทับในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1945 จนถึง ค.ศ. 1947 อย่างไรก็ตาม ภายหลังเจ้าหญิงชามส์ และพระสวามีได้เสด็จนิวัตประเทศอิหร่านในกรุงเตหะราน ก่อนที่จะเกิดเหตุความวุ่ยวายที่เมืองอะบาดาน เจ้าหญิงชามส์มีพระโอรส-ธิดากับนายเมหร์ดาด จำนวน 3 องค์ คือ เจ้าชายชาห์บอซ ปาหร์บอด (ประสูติ ธันวาคม ค.ศ. 1946), เจ้าชายชาห์ยาร์ ปาหร์บอด (ประสูติ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1949) และเจ้าหญิงชาห์ราซาด ปาหร์บอด (ประสูติ 12 กันยายน ค.ศ. 1952)[1] ต่อมาเจ้าหญิงชามส์ได้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ในปี ค.ศ. 1940 และได้สร้างโบสถ์ส่วนพระองค์ที่พระตำหนักในเมืองเมหร์ชาหร์ โดยพระสวามี และพระโอรสธิดาก็หันมานับถือศาสนาคริสต์ตามพระองค์ และพระองค์เสด็จไปยังประเทศอิตาลี และนครรัฐวาติกันหลายครั้ง เพื่อเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปา ซึ่งถือเป็นประมุขแห่งคริสตจักร[2]

หลังการก่อรัฐประหารในสมัยของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์ เจ้าหญิงชามส์ได้มีความขัดแย้งกับเจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี ซึ่งเป็นพระขนิษฐา ในเรื่องของการเป็นผู้จัดการมรดก และสมบัติมากมายที่ได้มาจากพระราชบิดา ในปลายปี ค.ศ. 1960 เจ้าหญิงได้พระราชวังโมราวิด ในเมืองการาจ ใกล้เมืองเมหร์ชาหร์ และพระตำหนักวิลล่า เมห์ราฟารีน ในเมืองคาเลาส์ จังหวัดมาซานดาราน

เสด็จเยือนไทย แก้

เจ้าหญิงชามส์ เคยเสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ 15-19 เมษายน พ.ศ. 2507 โดยพระยาศัลวิธานนิเทศสมุหราชพระมณเฑียร เป็นผู้แทนพระองค์รับเสด็จ ณ สนามบินดอนเมือง และประทับในพระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ก่อนที่จะเสด็จไปประพาสท่องเที่ยวในเมืองเชียงใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหญิง และพระสวามี พร้อมด้วยบุคคลในคณะ เฝ้าทูลละอองพระบาท ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์[3]

สิ้นพระชนม์ แก้

ภายหลังจากการยกเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แล้วเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐอิสลาม เจ้าหญิงชามส์ได้เสด็จลี้ภัย โดยประทับในสหรัฐอเมริกา และภายหลังเจ้าชามส์ได้สิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคมะเร็งเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 สิริรวมพระชนมายุได้ 79 พรรษา

อ้างอิง แก้

  1. "IRAN". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-15. สืบค้นเมื่อ 2010-02-19.
  2. Institute for Iranian Contemporary Historical Study
  3. สำนักราชเลขาธิการ[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น แก้