เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์

เจ้าชายโฮกุน[1][2] มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ (พระนามเต็ม โฮกุน มักนุส, พระราชสมภพ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์) พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ พระองค์มีพระเชษฐภคินีคือ เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอ

เจ้าชายโฮกุน
มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์
พระองค์เมื่อปีคริสต์ศักราช 2020
พระราชสมภพ20 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 (51 ปี)
ออสโล นอร์เวย์
พระชายาเจ้าหญิงเม็ตเตอ-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์
พระนามเต็ม
โฮกุน มักนุส
พระบุตร
ราชวงศ์กลึคส์บวร์ค
พระบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์
พระมารดาสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์

พระประวัติ

แก้

เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ณ โรงพยาบาลแห่งชาตินอร์เวย์ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ พระองค์มีพระบิดาและพระมารดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์, เจ้าชายคาร์ล เบอร์นาดอตต์, สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน, เจ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี เนื่องจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์จึงอยู่ในลำดับที่ 16 ของการสืบราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักร และถือเป็นพระญาติชั้นที่สามของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์

อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎมนเทียรบาลขึ้น เพื่อให้สิทธิแก่พระบุตรองค์แรก แต่กฎมนเทียรบาลดังกล่าวกลับไม่มีผลย้อนหลัง พระเชษฐภคินีเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอ จึงอยู่ลำดับสืบราชสมบัติต่อจากพระบุตรของมกุฎราชกุมาร และเจ้าชายโฮกุนจึงดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารต่อไป

การศึกษา

แก้

มกุฎราชกุมารโฮกุนได้เข้าศึกษาในกองทัพเรือนอร์เวย์โดยได้รับศึกษาขั้นต้นจากสถาบันกองทัพเรือนอร์เวย์ ในเรื่องของขีปนาวุธและอื่น ๆ ต่อมาพระองค์ได้ศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยได้ศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ใน พ.ศ. 2542 ภายหลังจากการสำเร็จการศึกษา มกุฎราชกุมารโฮกุนได้ทรงเข้าร่วมปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยออสโล ใน พ.ศ. 2544 ต่อมาพระองค์ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอนในระดับปริญญาโทด้านการพัฒนาและความเชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศและแอฟริกา

ชีวิตส่วนพระองค์

แก้
 
มกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารีใน พ.ศ. 2553 ในงานในงานอภิเษกสมรสของมกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดนกับดาเนียล เวสต์ลิง

มกุฎราชกุมารโฮกุนทรงได้รู้จักกับสตรีสามัญชนชื่อ เม็ตเตอ-มาริต เช็สเซิม เฮออิบี (Mette-Marit Tjessem Høiby) ผ่านทางเพื่อนของทั้งสองฝ่ายใน พ.ศ. 2542[3] เธอเป็นบริกรหญิงที่มีลูกติดอายุ 4 ขวบ จากความสัมพันธ์กับชายคนหนึ่งที่ต้องโทษในคดียาเสพติด[4][5] และมีข่าวลือว่าเม็ตเตอ-มาริต "ที่ผ่านมาเธอเป็นที่รู้จักในนามของนักเต้นออสโลและมีเรื่องราวเกี่ยวกับยาเสพติด" เธอได้เข้ารับการรักษาเพื่อบำบัดสารเสพติดและมีประวัติว่าเป็นนักเที่ยวหนัก[4][6]

อย่างไรก็ตามทั้งสองได้มีพิธีหมั้นขึ้น ท่ามกลางความรู้สึกของชาวนอร์เวย์ที่คิดว่ามกุฎราชกุมารทรงเลือกพระคู่หมั้นไม่เหมาะสม[7] เนื่องจากว่าพระคู่หมั้นนั้นผ่านการมีบุตรมาแล้ว รวมไปถึงปัญหายาเสพติด นอกจากนี้บิดาของบุตรที่เธอเลี้ยงนั้นได้รับโทษในเรือนจำเนื่องจากปัญหายาเสพติด[7] โดยในงานแถลงข่าวเปิดใจของว่าที่มกุฎราชกุมารี เธอได้กล่าวว่า อดีตที่ผ่านมาในช่วงวัยรุ่นของเธอมันทำให้เธอเข้มแข็งมากกว่าวัยรุ่นทั่วไป[7]

ทั้งคู่ได้อภิเษกสมรสกันเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2544 โดยจัดขึ้นในกรุงออสโล[5] พิธีล่าช้าไปหนึ่งชั่วโมงเนื่องจากเจ้าสาวร้องไห้ตลอดทั้งพิธี[5] นางสาวเม็ตเตอ-มาริตสวมชุดคลุมผ้าไหมสีขาวยาว 20 ฟุต ส่วนมกุฎราชกุมารฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงทหาร สายสะพายและเหรียญ[4] โดยมกุฎราชกุมารเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก เป็นเพื่อนเจ้าบ่าว[3] เบตินา และเอมิลี สวันสตรอม, คามิลลา และแอนนิเคน เบอร์เนย และตูวา เฮออิบี เป็นเพื่อนเจ้าสาว[8] นางสาวเม็ตเตอ-มาริต ได้รับการสถาปนาเป็น มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์[4] ทั้งมกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารี พร้อมด้วยเด็กชายมาริอุส โอรสนอกสมรสในมกุฎราชกุมารี ได้ปรากฏตัวบริเวณระเบียงของพระราชวังท่ามกลางการยิงสลุต และวงดนตรีเล่นเฉลิมฉลอง[9] ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา ด้วยกัน 2 พระองค์ ได้แก่

  1. เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดรา ประสูติเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2547
  2. เจ้าชายสแวร์เรอ มักนุส ประสูติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548

ลำดับพงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์[ลิงก์เสีย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  2. ราชอาณาจักรนอร์เวย์ เก็บถาวร 2007-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. กระทรวงการต่างประเทศ
  3. 3.0 3.1 "Tears of joy from Crown Prince Haakon as he makes Mette-Marit his future queen". Hellomagazine.com. 25 August 2001. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Gibbs, Walter (26 August 2001). "Uncommon Royal Couple Exchange Vows in Norway". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Norwegian prince ties the knot". BBC News. BBC.com. 25 August 2001. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  6. Frommer's Norway. Hoboken, New Jersey: Wiley Publishing, Inc. 2009. p. 144. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  7. 7.0 7.1 7.2 Hello profile of the Crown Princess
  8. "The Royal Wedding". Official website of the Norwegian royal family. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-10. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.
  9. Williams, Carol J. (26 August 2001). "A Fiord Fairy Tale Comes True for Single Mom, Crown Prince". Los Angeles Times. LATimes.com. สืบค้นเมื่อ 14 January 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ ถัดไป
ไม่มี    
ลำดับการสืบราชบัลลังก์นอร์เวย์
(ลำดับที่ 1)

  เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดรา
สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5    
ลำดับการสืบราชบัลลังก์อังกฤษ
(ลำดับที่ 63)

  เจ้าชายสแวร์เรอ มักนุส
สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5    
ลำดับการสืบตำแหน่งผู้นำราชวงศ์ชเลสวิช-ฮ็อลชไตน์-ซอนเดอร์บวร์ก-กลึคสบวร์ก
(ลำดับที่ 9)

  เจ้าชายสแวร์เรอ มักนุส