เจมส์ บอนด์
เจมส์ บอนด์ (อังกฤษ: James Bond) เป็นบทประพันธ์ชุดที่เน้นไปที่ตัวละคร เจมส์ บอนด์ สายลับของหน่วยข่าวกรองลับอังกฤษสมมติ สร้างโดยนักเขียน เอียน เฟลมมิง เมื่อปี ค.ศ. 1953 เขาเขียนให้ตัวละครดังกล่าวปรากฏอยู่ในนวนิยายสิบสองเล่มและหนังสือรวมเรื่องสั้นอีกสองเล่ม หลังจากเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1964 มีนักเขียนอีกแปดคนได้สิทธิ์ในการประพันธ์ เจมส์ บอนด์ ต่อ ได้แก่ คิงส์ลีย์ เอมิส, คริสโตเฟอร์ วูด, จอห์น การ์ดเนอร์, เรย์มอนด์ เบนสัน, เซบาสเตียน ฟอล์ค, เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์, วิลเลียม บอยด์และแอนโทนี โฮโรวิตซ์ นวนิยายเล่มล่าสุดคือ วิทอะไมน์ดทูคิล โดยแอนโทนี โฮโรวิตซ์ วางจำหน่ายเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2022 นอกจากนี้ยังมีผลงานของ ชาร์ลี ฮิกสัน ในนวนิยายชุด ยังบอนด์ และ เคต เวสต์บรูค เขียนนวนิยายสามเล่มในรูปแบบไดอารีของตัวละคร มิสมันนีเพนนี
เจมส์ บอนด์ James Bond | |
---|---|
ภาพเจมส์ บอนด์โดยเอียน เฟลมมิง เพื่อช่วยเหลือนักวาดการ์ตูนใน เดลีเอกซ์เพรสส์ | |
สร้างโดย | เอียน เฟลมมิง |
งานต้นฉบับ | คาสิโน รอยัล (1953) |
สื่อสิ่งพิมพ์ | |
นวนิยาย | รายชื่อนวนิยาย |
เรื่องสั้น | ดูรายชื่อนวนิยาย |
การ์ตูน | รายชื่อหนังสือการ์ตูน |
การ์ตูนช่อง |
|
ภาพยนตร์และโทรทัศน์ | |
ภาพยนตร์ | รายชื่อภาพยนตร์ |
ภาพยนตร์สั้น |
|
ละครโทรทัศน์ |
|
แอนิเมชันซีรีส์ |
|
เกม | |
ดั้งเดิม | หลากหลาย |
สวมบทบาท |
|
วิดีโอเกม | รายชื่อวิดีโอเกม |
เสียง | |
รายการวิทยุ(s) | ละครวิทยุ |
เพลงต้นฉบับ | |
เบ็ดเตล็ด | |
ของเล่น | หลากหลาย |
การแสดง | |
ให้เสียง |
ตัวละคร—หรือรู้จักกันในรหัสลับ 007—ได้ถูกดัดแปลงออกมาเป็นละครโทรทัศน์, ละครวิทยุ, การ์ตูน, วิดีโอเกมและภาพยนตร์ โดยเป็นภาพยนตร์ชุดที่ดำเนินต่อเนื่องยาวนานที่สุดตลอดกาลและทำเงินมากกว่า 7.040 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก เป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ห้า ภาพยนตร์ชุดนั้นเริ่มต้นจากภาพยนตร์ พยัคฆ์ร้าย 007 เมื่อปี ค.ศ. 1962 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบทเป็นบอนด์ ณ ปี ค.ศ. 2024 มีภาพยนตร์บอนด์ฉายแล้วทั้งหมดยี่สิบสี่เรื่องของอีออนโปรดักชันส์ ภาพยนตร์บอนด์ล่าสุด 007 พยัคฆ์ร้ายฝ่าเวลามรณะ (ค.ศ. 2021) มี แดเนียล เคร็ก รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ครั้งที่ห้าและครั้งสุดท้ายของเขาและเป็นคนที่หกที่รับบทนี้ มีภาพยนตร์ที่ไม่ได้สร้างโดยอีออน ได้แก่ ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (ภาพยนตร์ตลกเสียดสี ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1967) และ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (ภาพยนตร์สร้างใหม่ของ ธันเดอร์บอลล์ 007 ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1983) ณ ปี ค.ศ. 2015 มีการประมาณการว่าแฟรนไชส์ เจมส์ บอนด์ นั้นมีมูลค่าประมาณ 19.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] ทำให้กลายเป็นหนึ่งในสื่อแฟรนไชส์ที่ทำเงินสูงสุด
ภาพยนตร์บอนด์มีชื่อเสียงในด้านคุณสมบัติหลายประการ รวมถึงดนตรีประกอบ โดยมีเพลงประกอบที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์หลายครั้งและคว้าสองรางวัล องค์ประกอบสำคัญอื่น ๆ ที่ปรากฏในภาพยนตร์ส่วนใหญ่ ได้แก่ รถของบอนด์, ปืนของเขาและอุปกรณ์ที่เขาจัดหาให้โดยแผนกคิว ภาพยนตร์ชุดยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ของบอนด์กับผู้หญิงหลายคน ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "สาวบอนด์"
ประวัติการตีพิมพ์
แก้การสร้างและแรงบันดาลใจ
แก้เอียน เฟลมมิง สร้างตัวละครสมมติ เจมส์ บอนด์ ขึ้นมา เพื่อให้เป็นตัวละครศูนย์กลางสำหรับผลงานของเขา บอนด์เป็นเจ้าหน้าที่ข่าวกรองในสังกัดหน่วยข่าวกรองลับของอังกฤษ (อังกฤษ: Secret Intelligence Service) หรือรู้จักในชื่อ เอ็มไอ6 (อังกฤษ: MI6) บอนด์เป็นที่รู้จักจากหมายเลขรหัสของเขา ก็คือ 007 และเคยเป็นทหารเรือในสังกัดราชนาวีสำรอง ยศนาวาโท เฟลมมิงสร้างตัวละครจากบุคคลมากมายที่ผ่านเข้ามาในช่วงชีวิตของเขา ช่วงที่เฟลมมิงกำลังปฏิบัติหน้าที่ในกองข่าวกรองทางทะเลและหน่วยจู่โจม 30 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เฟลมมิงยอมรับว่าบอนด์ "เป็นการผสมกันของสายลับและหน่วยปฏิบัติการพิเศษทุกประเภทที่ผมพบในช่วงสงคราม"[2] หนึ่งในนั้นคือ ปีเตอร์ พี่ชายของเอียน เฟลมมิง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เบื้องหลังในยุทธการที่ นอร์เวย์และกรีซ ในช่วงสงคราม[3] นอกจากนี้ ยังมีบุคคลจำนวนหนึ่งที่ให้แง่มุมบางอย่างของการสร้างสรรค์บอนด์ ได้แก่ คอนราด โอไบรอัน-เฟรนช์, แพทริก แดลเซิล-จอบและบิลล์ "บิฟฟี" ดันเดอร์เดล[2]
ชื่อ เจมส์ บอนด์ นั้นมาจากชื่อนักปักษีวิทยาชาวอเมริกัน เจมส์ บอนด์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกแคริบเบียนและผู้เขียนคู่มือภาคสนาม ชื่อว่า นกของหมู่เกาะอินเดียตะวันตก เฟลมมิง ผู้เป็นนักดูนกตัวยง มีหนังสือคู่มือของบอนด์ และต่อมาเขาได้อธิบายให้ภรรยาของนักปักษีวิทยาฟังว่า "ผมคิดได้ว่าชื่อสั้น ๆ ที่ไม่โรแมนติก, แองโกล-แซกซอนและยังเป็นผู้ชายอยู่นั้นคือสิ่งที่ผมต้องการและเจมส์ บอนด์คนที่สองก็ถือกำเนิดขึ้น"[4] เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า:
เมื่อผมเขียนเรื่องแรกในปี ค.ศ. 1953 ผมต้องการให้บอนด์เป็นคนที่น่าเบื่อและไม่สนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมต้องการให้เขาเป็นคนหัวทื่อ ... เมื่อผมกำลังหาชื่อสำหรับตัวละครเอกของผม ผมคิดโอ้พระเจ้า [เจมส์ บอนด์] เป็นชื่อที่น่าเบื่อที่สุดที่ผมเคยได้ยินมา
— เอียน เฟลมมิง, เดอะนิวยอร์กเกอร์, 21 เมษายน ค.ศ. 1962[5]
ในอีกโอกาสหนึ่ง เฟลมมิงกล่าวว่า: "ผมต้องการชื่อที่เรียบง่าย, น่าเบื่อที่สุดและชัดเจนที่สุดเท่าที่ผมจะหาได้ 'เจมส์ บอนด์' ดีกว่าชื่อที่น่าสนใจมากกว่า เช่น 'เพเรกริน คาร์รัทเธอร์ส' มาก สิ่งแปลกใหม่จะเกิดขึ้นกับรอบตัวเขา แต่เขาจะเป็นบุคคลที่เป็นกลาง—เป็นเครื่องมือที่ไม่เปิดเผยตัวและทื่อซึ่งถูกใช้โดยหน่วยงานของรัฐ"[6]
เฟลมมิงตัดสินใจว่าบอนด์ควรมีลักษณะเหมือนนักร้องชาวอเมริกัน โฮกี คาร์ไมเคิลและตัวเขาเอง[7] และใน คาสิโนรอยัล เวสเปอร์ ลินด์ ระบุว่า "บอนด์ทำให้ฉันนึกถึง โฮกี คาร์ไมเคิล มากกว่า แต่มีบางอย่างที่เยือกเย็นและโหดเหี้ยม" เช่นเดียวกันกับใน มูนเรเกอร์ กาลา แบรนด์ เจ้าหน้าที่ตำรวจสันติบาล คิดว่าบอนด์ "ดูดีอย่างแน่นอน ... ค่อนข้างเหมือน โฮกี คาร์ไมเคิล ในทางใดทางหนึ่ง ผมสีดำนั้นตกลงมาที่คิ้วขวา กระดูกก็เหมือนกัน แต่มีบางอย่างที่โหดร้ายอยู่ในปากและดวงตาก็เย็นชา"[7]
นวนิยายและผลงานที่เกี่ยวข้อง
แก้นวนิยายโดยเอียน เฟลมมิง
แก้ในขณะที่ปฏิบัติราชการอยู่กับฝ่ายข่าวกรองของกองทัพเรือนั้น เฟลมมิงวางแผนที่จะเป็นนักเขียน[9] และได้บอกเพื่อนของเขาว่า "ผมจะเขียนเรื่องราวสายลับเพื่อจบเรื่องสายลับทั้งหมด"[2] เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 เขาได้เริ่มต้นเขียนนวนิยายเจมส์ บอนด์เล่มแรก ในชื่อ คาสิโนรอยัล ที่ คฤหาสน์โกลเดนอายที่จาเมกา[10] ซึ่งเป็นที่ ๆ เขาเขียนนวนิยายเจมส์ บอนด์ทั้งหมด ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี[11] หลังจากเริ่มเขียนได้ไม่นานนัก เฟลมิ่งก็แต่งงานกับ แอน ชาร์เตอร์ริส ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองจากการแต่งงานที่กำลังจะมาถึงของเขา[12]
หลังจากพิมพ์ต้นฉบับของ คาสิโนรอยัล เสร็จแล้ว, เฟลมิ่งได้ให้เพื่อนของเขา วิลเลียม โฟลเมอร์ อ่าน ซึ่งโฟลเมอร์ชอบมันและได้ส่งไปยังสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป แต่ก็ไม่ค่อยจะชอบมากเท่าไหร่ แต่สุดท้ายก็ได้ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1953 ซึ่งแนะนำโดย ปีเตอร์ เฟลมมิง, พี่ชายของเอียน เฟลมมิง[11] ระหว่างปี ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1966 และ 2 ปีหลังจากเสียชีวิต เฟลมมิงได้เขียนนวนิยายทั้งหมด 12 เล่มและรวมเรื่องสั้นอีก 2 เล่ม ซึ่ง 2 เล่มสุดท้ายนั้นใช้ชื่อว่า เดอะแมนวิตเดอะโกลเดนกัน และ ออกโตพุสซีแอนด์เดอะลิฟวิงเดย์ไลต์ส – ซึ่งตีพิมพ์หลังเฟลมมิงเสียชีวิตแล้ว[13] ทุกเล่มตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โจนาธาน เคป
|
|
นวนิยายหลังเฟลมมิง
แก้หลังเฟลมมิงเสียชีวิต คิงส์ลีย์ เอมิส (ใช้นามปากกา โรเบิร์ต มาร์คแฮม) ได้แต่งนวนิยายบอนด์ต่อ ในชื่อ โคโลเนลซัน ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 1968[28] ก่อนหน้านี้ เขาเคยเขียนงานศึกษาวรรณกรรมของเฟลมมิงในชื่อ เดอะเจมส์ บอนด์ดอสซิเอร์ เมื่อปี ค.ศ. 1965[29] ถึงแม้ว่าจะมีการตีพิมพ์นวนิยายที่ดัดแปลงจากภาพยนตร์บอนด์ที่สร้างโดยอีออนโปรดักชันส์สองเรื่อง ได้แก่ เจมส์ บอนด์, เดอะสปายฮูเลิฟด์มี และ เจมส์ บอนด์แอนด์มูนเรเกอร์ เขียนโดยผู้เขียนบทภาพยนตร์ คริสโตเฟอร์ วูด[30] นวนิยายชุดก็ไม่ได้มีการเขียนต่อ จนกระทั่งทศวรรษ 1980 ใน ค.ศ. 1981 นักเขียนแนวระทึกขวัญ จอห์น การ์ดเนอร์ ได้เขียนนวนิยายบอนด์ในชื่อ ไลเซนซ์รีนิวด์[31] โดยการ์ดเนอร์ได้เขียนนวนิยายบอนด์ต่อเนื่อง รวมทั้งหมดสิบหกเล่ม โดยมีสองเรื่องที่เขาเขียนนั้นเป็นการดัดแปลงจากภาพยนตร์ 007 รหัสสังหาร และ พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก การ์ดเนอร์ได้พานวนิยายชุดบอนด์เข้าสู่ทศวรรษ 1980 ถึงแม้ว่าเขายังคงให้ตัวละครอายุเท่าเดิมเมื่อตอนที่เฟลมมิงทิ้งพวกเขาเอาไว้[32] ในปี ค.ศ. 1996 การ์ดเนอร์เลิกเขียนนวนิยายบอนด์ เนื่องจากปัญหาสุขภาพ[33]
|
|
ในปี พ.ศ. 2539 นักเขียนชาวอเมริกัน เรย์มอนด์ เบ็นสัน กลายเป็นนักเขียนนวนิยายบอนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาเคยเขียนหนังสือ The James Bond Bedside Companion, ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527[48] จนถึงปี พ.ศ. 2545 ก็หยุดเขียน โดยเบ็นสันเขียนนวนิยายบอนด์ทั้งหมด 6 เล่ม, นิยายอีก 3 เล่มและเรื่องสั้นอีก 3 เรื่อง[49]
|
|
หลังจากผ่านไปหกปี เซบาสเตียน ฟอล์ค ได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์เอียน เฟลมมิง ให้เขียนนวนิยายบอนด์ใหม่ วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในวาระครบรอบ 100 ปี วันเกิดของเอียน เฟลมมิง[59] ในชื่อ เดวิลเมย์แคร์ ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แพนกวินบุกในสหราชอาณาจักรและสำนักพิมพ์ดับเบิลเดย์ในสหรัฐอเมริกา[60] ต่อมา นักเขียนชาวอเมริกัน เจฟฟรีย์ ดีฟเวอร์ ได้รับมอบหมายจากสำนักพิมพ์เอียน เฟลมมิง ให้เขียนนวนิยายบอนด์ในชื่อ พลิกแผนเพชฌฆาต (Carte Blanche) วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2011[61] ในนวนิยาย บอนด์เป็นสายลับหลังเหตุการณ์ 9/11 และไม่สังกัด MI5 หรือ MI6[62] นวนิยายชื่อ เดิมพันดับแค้น (Solo) โดย วิลเลียม บอยด์ ดำเนินเรื่องในปี ค.ศ. 1969 วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 2013[63] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 มีการประกาศว่า แอนโทนี โฮโรวิตซ์ จะเป็นนักเขียนนวนิยายบอนด์ต่อ[64] นวนิยายชื่อ ทริกเกอร์มอร์ทิส วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2015 ดำเนินเรื่องหลังเหตุการณ์ใน โกลด์ฟิงเกอร์ สองสัปดาห์ มีเนื้อหาที่เขียนโดยเฟลมมิง แต่ยังไม่เคยได้รับการเผยแพร่[65][66][67] นวนิยายบอนด์เล่มที่สองของโฮโรวิตซ์ ฟอร์เอฟเวอร์แอนด์อะเดย์ เล่าเรื่องราวต้นกำเนิดของบอนด์ ในฐานะสายลับดับเบิลโอก่อนเหตุการณ์ใน คาสิโนรอแยล นวนิยายเรื่องนี้ยังอิงจากเนื้อหาที่ไม่ได้เผยแพร่จากเฟลมมิง วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 2018[68][69]
|
|
พยัคฆ์ร้ายวัยทีน
แก้พยัคฆ์ร้ายวัยทีน (Young Bond) เป็นนิยายชุด แต่งโดย ชาร์ลี ฮิกสัน[70] โดยวางจำหน่ายระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2552 รวมทั้งหมด 5 เล่มและเรื่องสั้น 1 เรื่อง[71] โดยเล่มแรกมีชื่อว่า แผนลับพันธุ์พิฆาต (SilverFin) ซึ่งต่อมาได้ดัดแปลงเป็นนิยายภาพและวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 โดยสำนักพิมพ์ พัฟฟิน บุ๊ค[72] สำหรับประเทศไทยลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ และแปลโดยเอื้อนทิพย์ พีระเสถียร
|
เดอะ มันนีเพนนี ไดอารีส์
แก้เดอะ มันนีเพนนี ไดอารีส์ (The Moneypenny Diaries) เป็นนิยายไตรภาค เกี่ยวกับชีวิตของ มิสมันนีเพนนี, เลขานุการส่วนตัวของเอ็ม, เขียนโดย ซาแมนธา เวนเบิร์ก ภายใต้นามปากกา เคต เวสต์บรูค[80] เล่มแรกใช้ชื่อว่า Guardian Angel, วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ที่สหราชอาณาจักร[81] เล่มที่สองใช้ชื่อว่า Secret Servant วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 โดยสำนักพิมพ์ จอห์น เมอร์เรย์[82] และเล่มที่สามใช้ชื่อว่า Final Fling วางจำหน่ายเมื่อ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2551[83]
การดัดแปลง
แก้โทรทัศน์
แก้เมื่อปี ค.ศ. 1954 ซีบีเอส จ่ายเงินให้กับเอียน เฟลมมิงจำนวน $1,000 (ประมาณ $10,090 เทียบกับค่าเงินดอลลาร์ในปี ค.ศ. 2021[87]) เพื่อดัดแปลง คาสิโนรอยัล นวนิยายของเขาเป็น การผจญภัยบนโทรทัศน์ความยาวหนึ่งชั่วโมง ส่วนหนึ่งของรายการโทรทัศน์ ไคลแมกซ์![88] ตอนดังกล่าวออกอากาศสดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1954 แสดงนำโดย แบร์รี เนลสัน เป็น "การ์ดเซนส์" เจมส์ บอนด์ และ ปีเตอร์ ลอร์รี เป็น เลอ ชีฟร์[89] นวนิยายถูกดัดแปลงให้เหมาะกับผู้ชมชาวอเมริกัน โดยให้บอนด์เป็นสายลับชาวอเมริกัน ทำงานให้กับ "คอมไบน์ดอินเทลลิเจนซ์" ขณะที่ตัวละคร เฟลิกซ์ ไลเทอร์ ซึ่งเป็นชาวอเมริกันในนวนิยาย กลายเป็นชาวอังกฤษและถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "แคลเรนซ์ ไลเทอร์"[90]
เมื่อปี ค.ศ. 1973 สารคดีของบีบีซี ชื่อว่า ออมนิบัส: เดอะบริติชฮีโร แสดงนำโดย คริสโตเฟอร์ คาเซโนฟ เป็นตัวละครหลายตัว (เช่น ริชาร์ด แฮนเนย์และบลูด็อก ดรัมมอนด์) ในสารคดีมีเจมส์ บอนด์ ในฉากที่มาจากนวนิยาย โกลด์ฟิงเกอร์ ซึ่งเป็นฉากที่บอนด์ถูกจับแล้วกำลังจะโดนเลี่อยโดยเลื่อยวงเดือน (ซึ่งในภาพยนตร์นั้นใช้แสงเลเซอร์) และภาพยนตร์ 007 เพชรพยัคฆราช [91] ในปี ค.ศ. 1991 รายการโทรทัศน์การ์ตูนสำหรับเด็กชื่อว่า เจมส์ บอนด์ จูเนียร์ ให้เสียงโดย คอรีย์ เบอร์ตัน ในบทหลานชายของบอนด์ ซึ่งชื่อ เจมส์ บอนด์ เหมือนกัน[92]
วิทยุ
แก้การ์ตูน
แก้ภาพยนตร์
แก้ภาพยนตร์ที่สร้างโดยอีออนโปรดักชันส์
แก้อีออนโปรดักชันส์ ก่อตั้งโดยแฮรรี ซอลต์ซแมนและอัลเบิร์ต อาร์. บรอคโคลี สร้างภาพยนตร์บอนด์เรื่องแรก พยัคฆ์ร้าย 007 ฉายเมื่อปี ค.ศ. 1962 ซึ่งดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเดียวกันของเอียน เฟลมมิง เมื่อปี ค.ศ. 1958 โดยมี ฌอน คอนเนอรี รับบทเป็น เจมส์ บอนด์[93] คอนเนอรีแสดงเป็นบอนด์ในภาพยนตร์อีกสี่เรื่อง ก่อนที่เขาจะประกาศเลิกรับบท หลังแสดงใน จอมมหากาฬ 007 (ค.ศ. 1967)[94] ทำให้ จอร์จ เลเซนบี ได้รับบทเป็น เจมส์ บอนด์ แทนใน 007 ยอดพยัคฆ์ราชินี (ค.ศ. 1969)[95] เลเซนบีเลิกรับบทบอนด์ หลังแสดงได้แค่ภาพยนตร์เรื่องเดียว และได้นำตัวคอนเนอรีกลับมารับบทเดิมอีกครั้งใน 007 เพชรพยัคฆราช (ค.ศ. 1971) ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายของเขาที่แสดงให้ภาพยนตร์บอนด์ที่สร้างโดยอีออนโปรดักชัน[96]
โรเจอร์ มัวร์ ได้รับคัดเลือกรับบทเป็นบอนด์ใน พยัคฆ์มฤตยู 007 (ค.ศ. 1973) เขาแสดงเป็นบอนด์ในภาพยนตร์อีกหกเรื่องในช่วงระยะเวลาสิบสองปี ก่อนจะถูกแทนที่ด้วย ทิโมธี ดาลตัน ซึ่งแสดงเป็นบอนด์ในภาพยนตร์สองเรื่อง หลังจากนั้นภาพยนตร์ชุดก็หยุดพักไปหกปี เนื่องจากมีข้อพิพาททางด้านกฎหมาย[97] นักแสดงชาวไอริช เพียร์ซ บรอสแนน ได้รับคัดเลือกรับบทเป็นบอนด์ใน พยัคฆ์ร้าย 007 รหัสลับทลายโลก (ค.ศ. 1995) เขาแสดงเป็นบอนด์ในภาพยนตร์อีกสามเรื่อง ก่อนจะประกาศเลิกรับบทในปี ค.ศ. 2002 แดเนียล เคร็ก ได้รับคัดเลือกรับบทเป็นบอนด์ใน 007 พยัคฆ์ร้ายเดิมพันระห่ำโลก (ค.ศ. 2006) ซึ่งเป็นการรีบูตภาพยนตร์ชุด[98] เขาแสดงเป็นบอนด์ในภาพยนตร์อีกสี่เรื่อง โดยเรื่องสุดท้ายของเขากำหนดฉายในปี ค.ศ. 2020[99] ภาพยนตร์ชุดทำเงินมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้กลายเป็นภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดอันดับที่ห้า (ตามหลัง จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวล, สตาร์ วอร์ส, สไปเดอร์-แมน และ โลกเวทมนตร์)[100] และเป็นหนึ่งภาพยนตร์ชุดที่ทำเงินสูงสุดหากปรับค่าเงินตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว[101]
ภาพยนตร์ที่ไม่ได้สร้างโดยอีออน
แก้ในปีพ.ศ. 2510 ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 (Casino Royale) ได้ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ตลก ผู้แสดงเป็น เซอร์ เจมส์ บอนด์ คือ เดวิด นิเวน และเออร์ซูลา แอนเดรส รับบทเป็น เวสเปอร์ ลินด์ (เดวิด นิเวน เคยเป็นตัวเลือกแรกของเอียน เฟลมิ่ง เพื่อรับบทเจมส์ บอนด์ใน พยัคฆ์ร้าย 007 ของ อีโอเอ็น โปรดักชันส์ด้วย)[103] ในปีพ.ศ. 2506 จากการตัดสินในชั้นศาลในลอนดอน อนุญาตให้ เควิน แม็คคลอรี สร้างฉบับรีเมคของ ธันเดอร์บอลล์ 007 (Thunderball) ในชื่อ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ (Never Say Never Again) ซึ่งออกฉายในปีพ.ศ. 2526[104] โดยมีฌอน คอนเนอรี รับบทเป็นเจมส์ บอนด์ ในปีพ.ศ. 2540 โซนีคอร์โปเรชันได้ซื้อลิขสิทธิ์จากแม็คคลอรี ซึ่งไม่เปิดเผยราคา[104] ซึ่งต่อมาก็ยกให้ MGM, โดยเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 MGM ได้ประกาศว่าทางบริษัทได้สิทธิ์ในการจำหน่ายภาพยนตร์ พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ จากบริษัท ทาเลียฟิล์ม ของ Schwartzman[105] ปัจจุบัน บริษัทอีโอเอ็น เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในการดัดแปลง นวนิยายบอนด์ของเอียน เฟลมิ่งทั้งหมด แต่เพียงผู้เดียว[104][106]
ชื่อเรื่องภาษาไทย | ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ | ปี | นักแสดง | ผู้กำกับ |
---|---|---|---|---|
ทีเด็ดเจมส์บอนด์ 007 | Casino Royale | 1967 | เดวิด นิเวน | เคน ฮิวจ์ส จอห์น ฮัสตัน โจเซฟ แม็คกราธ โรเบิร์ต พาร์ริช วาล เกสต์ ริชาร์ด ทาลแมดจ์ |
พยัคฆ์เหนือพยัคฆ์ | Never Say Never Again | 1983 | ฌอน คอนเนอรี | เออร์วิน เคอร์เชอร์ |
เจมส์ บอนด์กับประเทศไทย
แก้ภาพยนตร์ชุดเจมส์ บอนด์ เคยเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทยสองครั้ง ได้แก่ 007 เพชฌฆาตปืนทอง ที่ เกาะพีพีและเกาะตาปูในจังหวัดพังงา หลังภาพยนตร์เรื่องนี้ฉาย ทำให้สถานที่ดังกล่าวมีชื่อเสียง จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "เกาะเจมส์ บอนด์" ยังมีการถ่ายทำที่ คลองภาษีเจริญ, วัดนางชีโชติการาม, เวทีมวยลุมพินี, ถนนราชดำเนินผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพมหานคร และ 007 พยัคฆ์ร้ายไม่มีวันตาย ถ่ายทำที่สินสาธร ทาวเวอร์ เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร และจังหวัดภูเก็ต
เมื่อปี พ.ศ. 2523 มีภาพยนตร์ไทยล้อเลียนเจมส์ บอนด์ ชื่อว่า เจมส์แบน 007 กำกับโดย ชัย นิมิตโชตินัย แสดงนำโดย เทพ เทียนชัย, ล้อต๊อก, ศุภลักษณ์ อยู่เย็น, มนทิพย์ ชนินทรและมณีกานต์ นาคะเสโณ
เมื่อปี พ.ศ. 2533 เคยออกอากาศภาพยนตร์โทรทัศน์ทางไทยทีวีสีช่อง 3 ชื่อ SPYMAKER: The Secret Life of Ian Fleming[107] ประวัติการผจญภัยของเฟลมมิ่งในช่วงหนุ่มน้อยสายลับฝึกหัดที่มีอิทธิพลต่อการเขียนนิยายชุดเจมส์ บอนด์ ในเวลาต่อมา นำแสดงโดย เจสัน คอนเนอรี (Jason Connery) บุตรของ ณอน คอนเนอรี (ทั้งคู่เคยแสดงร่วมกันใน Robin and Marian เมื่อ พ.ศ. 2519)
เมื่อปี พ.ศ. 2534 "รายการท็อปเท็น" ทางช่อง 9 เคยนำเสนอซีรีส์สั้น ๆ เกี่ยวกับเจมส์ บอนด์ โดยนักแสดงชาวไทยที่รับบทเจมส์ บอนด์ คือ ธานินทร์ ทัพมงคล
เมื่อปี พ.ศ. 2545 นิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเอานวนิยายชุดเจมส์ บอนด์ มาดัดแปลงเป็นละคอนถาปัด ซึ่งเป็นกิจกรรมละครเวทีประจำปีของนิสิต และใช้ชื่อว่า "พยัคฆ์(ลอง)ร้าย 007" โดยเล่าเรื่องภารกิจครั้งแรกของ เจมส์ บอนด์ ครั้งยังเป็นสายลับหนุ่มฝึกหัดของหน่วยสืบราชการลับอังกฤษ โดยมีตัวละครจากซีรีส์ภาพยนตร์ชุด เจมส์ บอนด์ ภาคต่าง ๆ ปรากฏในท้องเรื่องหลายตัวละคร เช่น เอ็ม, มันนีเพ็นนี, คิว, เฟลิกซ์ ไลเทอร์, ดร.โน, อูริค โกลด์ฟิงเกอร์ และ เอิร์นส์ สตาฟโร โบลเฟลด์ แสดงที่ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 10 รอบ ระหว่างวันที่ 17-19 และ 24-26 พฤษภาคม 2545
อ้างอิง
แก้- ↑ Adejobi, Alicia (27 October 2015). "Spectre movie: James Bond brand worth £13bn off the back of monster box office and DVD sales". International Business Times. สืบค้นเมื่อ 15 January 2017.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Macintyre, Ben (5 April 2008). "Bond - the real Bond". The Times. p. 36.
- ↑ "Obituary: Colonel Peter Fleming, Author and explorer". The Times. 20 August 1971. p. 14.
- ↑ "James Bond, Ornithologist, 89; Fleming Adopted Name for 007". New York Times. สืบค้นเมื่อ 22 August 2019.
- ↑ Hellman, Geoffrey T. (21 April 1962). "Bond's Creator". The New Yorker. p. 32. section "Talk of the Town". สืบค้นเมื่อ 9 September 2011.
- ↑ Chancellor 2005, p. 112.
- ↑ 7.0 7.1 Macintyre 2008, p. 67. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFMacintyre2008 (help)
- ↑ Macintyre 2008, p. 208. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFMacintyre2008 (help)
- ↑ Lycett, Andrew (2004). "Fleming, Ian Lancaster (1908–1964) (subscription needed)". Oxford Dictionary of National Biography. Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/33168. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
- ↑ Chancellor 2005, p. 4.
- ↑ 11.0 11.1 Chancellor 2005, p. 5.
- ↑ Bennett & Woollacott 2003, p. 1, ch 1.
- ↑ Black 2005, p. 75.
- ↑ "Casino Royale". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2012. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Live and Let Die". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2012. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Moonraker". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2011. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Diamonds are Forever". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2012. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "From Russia, with Love". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2012. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Dr. No". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Goldfinger". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "For Your Eyes Only". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Thunderball". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "The Spy Who Loved Me". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "On Her Majesty's Secret Service". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "You Only Live Twice". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2012. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "The Man with the Golden Gun". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Octopussy and The Living Daylights". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 31 October 2011.
- ↑ "Colonel Sun". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ Benson 1988, p. 32.
- ↑ 30.0 30.1 30.2 30.3 30.4 30.5 "Film Novelizations". The Books. Ian Fleming Publications. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2011. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ Simpson 2002, p. 58.
- ↑ Benson 1988, p. 149.
- ↑ Ripley, Mike (2 November 2007). "Obituary: John Gardner: Prolific thriller writer behind the revival of James Bond and Professor Moriarty". The Guardian. p. 41. สืบค้นเมื่อ 14 November 2011.
- ↑ "Licence Renewed". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "For Special Services". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Ice Breaker". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Role Of Honour". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Nobody Lives Forever". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "No Deals Mr Bond". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Scorpius". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Win, Lose Or Die". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Brokenclaw". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "The Man From Barbarossa". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Death is Forever". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Never Send Flowers". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Seafire". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Cold". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ Raymond Benson. "Books--At a Glance". RaymondBenson.com. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Raymond Benson". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ Simpson 2002, p. 62.
- ↑ "Zero Minus Ten". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "The Facts Of Death". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ Simpson 2002, p. 63.
- ↑ Simpson 2002, p. 64.
- ↑ "High Time To Kill". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Doubleshot". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Never Dream Of Dying". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "The Man With The Red Tattoo". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Faulks pens new James Bond novel". BBC News. 11 July 2007. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Sebastian Faulks". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "James Bond book called Carte Blanche". BBC News. 17 January 2011. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Jeffery Deaver". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 3 November 2011.
- ↑ "Solo Published Today". Ian Fleming Publications. 26 September 2013. สืบค้นเมื่อ 1 October 2013.
- ↑ Singh, Anita (2 October 2014). "James Bond's secret mission: to save Stirling Moss". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 6 November 2015.
- ↑ "James Bond: Pussy Galore returns in new novel". BBC News. BBC. 28 May 2015. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
- ↑ Flood, Alison (28 May 2015). "New James Bond novel Trigger Mortis resurrects Pussy Galore". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 May 2015.
- ↑ Furness, Hannah (28 May 2015). "Pussy Galore returns for new James Bond novel Trigger Mortis". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 6 November 2015.
- ↑ "Forever and a Day". IanFleming.com. Ian Fleming Publications. 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019.
- ↑ "New James Bond Novel Is a Prequel to Fleming's First". New York Times. New York Times. 12 February 2018. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019.
- ↑ Smith, Neil (3 March 2005). "The name's Bond - Junior Bond". BBC News. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ "Charlie Higson". Puffin Books - Authors. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-09. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ "SilverFin: The Graphic Novel". Puffin Books. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ "Young Bond: SilverFin". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Young Bond: Blood Fever". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Young Bond: Double or Die". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Young Bond: Hurricane Gold". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Young Bond: By Royal Command". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-21. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "SilverFin: The (Graphic Novel)". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Danger Society: The Young Bond Dossier". Puffin Books: Charlie Higson. Penguin Books. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Miss Moneypenny". Evening Standard. 14 October 2005. p. 10.
- ↑ O'Connell, John (12 October 2005). "Books - Review - The Moneypenny Diaries - Kate Westbrook (ed) - John Murray GBP 12.99". Time Out. p. 47.
- ↑ Weinberg, Samantha (11 November 2006). "Licensed to thrill". The Times. p. 29.
- ↑ Saunders, Kate (10 May 2008). "The Moneypenny Diaries: Final Fling". The Times. p. 13.
- ↑ "Guardian Angel". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Secret Servant". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ "Final Fling". The Books. Ian Fleming Publications. สืบค้นเมื่อ 2 November 2011.
- ↑ 1634–1699: McCusker, J. J. (1997). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States: Addenda et Corrigenda (PDF). American Antiquarian Society. 1700–1799: McCusker, J. J. (1992). How Much Is That in Real Money? A Historical Price Index for Use as a Deflator of Money Values in the Economy of the United States (PDF). American Antiquarian Society. 1800–present: Federal Reserve Bank of Minneapolis. "Consumer Price Index (estimate) 1800–". สืบค้นเมื่อ 1 January 2020.
- ↑ Black 2005, p. 14.
- ↑ Benson 1988, p. 11.
- ↑ Black 2005, p. 101.
- ↑ "Radio Times". 6–12 October 1973: 74–79.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Svetkey, Benjamin (29 May 1992). "Sweet Baby James". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-20. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
- ↑ Sutton, Mike. "Dr. No (1962)". Screenonline. British Film Institute. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2016. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
- ↑ "You Only Live Twice". TCM. Turner Entertainment Networks, Inc. สืบค้นเมื่อ 2 August 2011.
- ↑ "On Her Majesty's Secret Service (1969)". Screenonline. British Film Institute. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
- ↑ Feeney Callan 2002, p. 217.
- ↑ Simpson 2002, p. 81.
- ↑ Robey, Tim (12 January 2011). "Sam Mendes may have problems directing new James Bond movie". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
- ↑ Pallotta, Frank. "Daniel Craig confirms return as James Bond". CNNMoney. สืบค้นเมื่อ 21 August 2018.
- ↑ "Movie Franchises". The Numbers. Nash Information Services. สืบค้นเมื่อ 17 January 2015.
- ↑ "Pottering on, and on". The Economist. London. 11 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
- ↑ "James Bond: Cary Joji Fukunaga to direct next Bond film". BBC News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
- ↑ Macintyre 2008, p. 202. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFMacintyre2008 (help)
- ↑ 104.0 104.1 104.2 Poliakoff, Keith (2000). "License to Copyright - The Ongoing Dispute Over the Ownership of James Bond" (PDF). Cardozo Arts & Entertainment Law Journal. Benjamin N. Cardozo School of Law. 18: 387–436. สืบค้นเมื่อ 3 September 2011.
- ↑ "Metro-Goldwyn-Mayer Inc. announces acquisition of Never Say Never Again James Bond assets" (Press release). Metro-Goldwyn-Mayer. 4 December 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-05. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
- ↑ Shprintz, Janet (29 March 1999). "Big Bond-holder". Variety. สืบค้นเมื่อ 4 November 2011.
Judge Rafeedie ... found that McClory's rights in the "Thunderball" material had reverted to the estate of Fleming
- ↑ secret life of Ian Fleming ,www.imdb.com
บรรณานุกรม
แก้- Bennett, Tony; Woollacott, Janet (2003). "The Moments of Bond". ใน Lindner, Christoph (บ.ก.). The James Bond Phenomenon: a Critical Reader. Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-6541-5.
- Benson, Raymond (1988). The James Bond Bedside Companion. London: Boxtree Ltd. ISBN 978-1-85283-233-9.
- Black, Jeremy (2005). The Politics of James Bond: from Fleming's Novel to the Big Screen. University of Nebraska Press. ISBN 978-0-8032-6240-9.
- Chancellor, Henry (2005). James Bond: The Man and His World. London: John Murray. ISBN 978-0-7195-6815-2.
- Chapman, James (2009). Licence to Thrill: A Cultural History of the James Bond Films. New York: I.B. Tauris. ISBN 978-1-84511-515-9.
- Conroy, Mike (2004). 500 Great Comicbook Action Heroes. London: Chrysalis Books Group. ISBN 978-1-84411-004-9.
- Cork, John; Scivally, Bruce (2002). James Bond: The Legacy. London: Boxtree. ISBN 978-0-7522-6498-1.
- Cork, John; Stutz, Collin (2007). James Bond Encyclopedia. London: Dorling Kindersley. ISBN 978-1-4053-3427-3.
- Feeney Callan, Michael (2002). Sean Connery. London: Virgin Books. ISBN 978-1-85227-992-9.
- Fleming, Ian; Gammidge, Henry; McLusky, John (1988). Octopussy. London: Titan Books. ISBN 1-85286-040-5.
- Griswold, John (2006). Ian Fleming's James Bond: Annotations And Chronologies for Ian Fleming's Bond Stories. AuthorHouse. ISBN 978-1-4259-3100-1.
- Jütting, Kerstin (2007). "Grow Up, 007!" – James Bond Over the Decades: Formula Vs. Innovation. GRIN Verlag. ISBN 978-3-638-85372-9.
- King, Geoff; Krzywinska, Tanya (2002). Screenplay: cinema/videogames/interfaces. Wallflower Press. ISBN 978-1-903364-23-9.
- Lindner, Christoph (2009). The James Bond Phenomenon: a Critical Reader. Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-6541-5.
- Lycett, Andrew (1996). Ian Fleming. London: Phoenix. ISBN 978-1-85799-783-5.
- Macintyre, Ben (2008). For Your Eyes Only. London: Bloomsbury Publishing. ISBN 978-0-7475-9527-4.
- Packer, Jeremy (2009). Secret agents: popular icons beyond James Bond. Peter Lang. ISBN 978-0-8204-8669-7.
- Pearson, John (2008). James Bond: The Authorized Biography. Random House. ISBN 978-0-09-950292-0.
- Pfeiffer, Lee; Worrall, Dave (1998). The Essential Bond. London: Boxtree Ltd. ISBN 978-0-7522-2477-0.
- Simpson, Paul (2002). The Rough Guide to James Bond. Rough Guides. ISBN 978-1-84353-142-5.
- Smith, Jim; Lavington, Stephen (2002). Bond Films. London: Virgin Books. ISBN 978-0-7535-0709-4.
- Thompson, Maggie; Frankenhoff, Brent; Bickford, Peter (2010). Comic Book Price Guide 2010. Krause Publications. ISBN 978-1-4402-1399-1.[ลิงก์เสีย]
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับเจมส์ บอนด์
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ สำนักพิมพ์เอียน เฟลมิ่ง เก็บถาวร 2017-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของนวนิยายเยาวชนชุดยัง บอนด์
- Pinewood Studios – home of Bond
- Pinewood Studios Albert R. Broccoli 007 Stage official website เก็บถาวร 2011-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Ian Fleming's 'Red Indians' – 30AU – Literary James Bond's Wartime unit