เคแมนแคระกูว์วีเย

เคแมนแคระกูว์วีเย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sauropsida
อันดับ: Crocodilia
วงศ์: Alligatoridae
สกุล: Paleosuchus
สปีชีส์: P.  palpebrosus
ชื่อทวินาม
Paleosuchus palpebrosus
Cuvier, 1807
แผนที่กระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง[2]
รายชื่อ
  • Crocodilus palpebrosus
    (Cuvier, 1807)
  • Jacaretinga moschifer
    Spix, 1825
  • Champsa gibbiceps
    Natterer, 1841
  • Champsa palpebrosus
    Wagler, 1830
  • Alligator palpebrosus
    Duméril & Bibron, 1836
  • Paleosuchus palpebrosus
    King & Burke, 1989
  • Paleosuchus palpebrosus
    Gorzula & Senaris, 1999

เคแมนแคระกูว์วีเย (อังกฤษ: Cuvier's dwarf caiman, Cuvier's caiman, Smooth-fronted caiman, Musky caiman; ชื่อวิทยาศาสตร์: Paleosuchus palpebrosus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกเคแมน จัดอยู่ในวงศ์แอลลิเกเตอร์ (Alligatoridae)

จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับจระเข้ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 1.4 เมตร (4.6 ฟุต) ในตัวผู้ และ 1.2 เมตร (3.9 ฟุต) ในตัวเมีย น้ำหนักประมาณ 6 ถึง 7 กิโลกรัม (13 ถึง 15 ปอนด์) ถูกค้นพบและบรรยายทางวิทยาศาสตร์โดยฌอร์ฌ กูว์วีเย (Georges Cuvier) นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ค้นพบเป็นบุคคลแรก โดยสถานที่ค้นพบครั้งแรกคือเมืองกาแยนในเฟรนช์เกียนา[3] โดยที่ชื่อวิทยาศาสตร์ คำว่า Paleosuchus มาจากคำภาษากรีกว่า palaios หมายถึง "โบราณ" และ soukhos หมายถึง "จระเข้" เพราะเชื่อว่าเคแมนแคระกูว์วีเยสืบสายพันธุ์มาจากสัตว์ในอันดับจระเข้โบราณอายุนานกว่า 30 ล้านปี และคำว่า palpebrosus มาจากภาษาละติน palpebra หมายถึง "เปลือกตา" และ osus หมายถึง "เต็มไปด้วย" ซึ่งหมายถึงแผ่นกระดูกที่ปรากฏอยู่เหนือเปลือกตา[4]

ส่วนหัว

เคแมนแคระกูว์วีเย กระจายพันธุ์อยู่ในป่าทึบของลุ่มน้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ โดยอาศัยในพื้นที่ที่เป็นแม่น้ำและทะเลสาบ การฟักไข่เหมือนกับเคแมนชนิดอื่น ๆ คือ ใช้ความร้อนจากแสงแดดหรือความร้อนจากการเน่าสลายของพรรณพืชที่ใช้ปกคลุมรังเพื่อการฟักเป็นตัว[5]

เคแมนแคระกูว์วีเยไม่มีชนิดย่อย[4] กินอาหารได้หลากหลายชนิด ทั้งสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, ปลา, ปู, นก, กุ้ง, หอย, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก รวมถึงแมลงปีกแข็งและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังด้วย[4] เนื่องจากเป็นสัตว์ขนาดเล็กจึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Crocodile Specialist Group (1996). "Paleosuchus palpebrosus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 1996-08-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. Uetz, Peter; Hallermann, Jakob. "Paleosuchus palpebrosus (Cuvier, 1807)". Reptile Database. สืบค้นเมื่อ 2014-06-17.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Cuvier, G. 1807. "Sur les différentes especes de crocodiles vivans et sur leurs caracteres distinctifs." Ann. Natl. Mus. Hist. Nat. Paris 10: 8-86.
  4. 4.0 4.1 4.2 Britton, Adam (2009-01-01). "Paleosuchus palpebrosus (Cuvier, 1807)". Crocodilian species list. สืบค้นเมื่อ 2013-10-28.
  5. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา. วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2552. 458 หน้า. หน้า 369. ISBN 978-616-556-016-0
  6. Britton, Adam. "Captive care". Crocodilian.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-30. สืบค้นเมื่อ 2014-06-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Paleosuchus palpebrosus ที่วิกิสปีชีส์