ฮอยอัน
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ฮอยอัน หรือ โห่ยอาน (เวียดนาม: Hội An) เป็นเมืองขนาดเล็กริมฝั่งทะเลจีนใต้ทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดกว๋างนาม มีประชากรอาศัยอยู่ราว 80,000 คน ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมืองโบราณฮอยอัน * | |
---|---|
![]() | |
![]() เมืองเก่าฮอยอันริมน้ำ | |
พิกัด | 15°52′37.7″N 108°19′43.1″E / 15.877139°N 108.328639°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 15°52′37.7″N 108°19′43.1″E / 15.877139°N 108.328639°E |
ประเทศ | ![]() |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
ประเภท | มรดกทางวัฒนธรรม |
เกณฑ์พิจารณา | (ii), (v) |
อ้างอิง | 948 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2542 (คณะกรรมการสมัยที่ 23) |
พื้นที่ | 30 ha |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |

ในสมัยของอาณาจักรจามปา บริเวณนี้เคยเป็นเมืองท่าบนปากแม่น้ำทูโบน ซึ่งมีชื่อว่า ไฮโฟ โดยเป็นศูนย์กลางทางการค้าในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 มีชาวต่างชาติมาตั้งถิ่นฐานและค้าขายในเมืองนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ญี่ปุ่น ดัตช์ และอินเดีย เดิมทีเมืองนี้ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่งโดยมีคลองสายหนึ่งคั่นอยู่กลางเมือง มีสะพานญี่ปุ่นทอดข้ามคลองเพื่อกั้นแบ่งเขตชุมชนของชาวญี่ปุ่นที่อีกฝั่งหนึ่งของคลอง ตัวสะพานสร้างโดยชาวญี่ปุ่น มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ในปี พ.ศ. 2542 องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเขตเมืองเก่าของฮอยอันให้เป็นมรดกโลก ด้วยเหตุผลว่าเป็นตัวอย่างของเมืองท่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15-19 ที่มีการผสมผสานศิลปะและสถาปัตยกรรมทั้งของท้องถิ่นและของต่างชาติไว้ได้อย่างมีเอกลักษณ์ และอาคารต่างๆภายในเมืองได้รับการอนุรักษ์ให้อยู่ในสภาพเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี
ทุกวันนี้ ฮอยอันยังคงเป็นเมืองขนาดเล็กเช่นเดิม แต่ก็มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยือนเป็นจำนวนมาก ผู้มาเยือนมักมาเยี่ยมชมร้านค้าขายผลงานทางศิลปะและหัตถกรรม ริมฝั่งแม่น้ำมีอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ บาร์ และร้านอาหารเปิดเรียงรายอยู่มากมายซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้าใช้บริการ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกที่มีอยู่มากมาย
มรดกโลก แก้
เมืองฮอยอันได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 23 เมื่อปี พ.ศ. 2542 ที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมร็อกโก ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้
- (ii) - เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
- (v) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา