อุทยานแห่งชาติไทรโยค

อุทยานแห่งชาติไทรโยค เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขต อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

อุทยานแห่งชาติไทรโยค
แม่น้ำแควน้อยในอุทยานแห่งชาติไทรโยค
แผนที่
ที่ตั้งจังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย
พิกัด14°25′4″N 98°44′50″E / 14.41778°N 98.74722°E / 14.41778; 98.74722
พื้นที่500 ตารางกิโลเมตร (310,000 ไร่)
จัดตั้งตุลาคม พ.ศ. 2523
ผู้เยี่ยมชม117,401 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ภูมิประเทศ

แก้

อุทยานแห่งชาติไทรโยค มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ป่าแม่น้ำน้อย ป่าวังใหญ่ และป่าห้วยเขย่ง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของ อุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีลักษณะที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ปานกลาง กินพื้นที่ 500 ตารางกิโลเมตร (190 ตารางไมล์)[1] และมีความสูงโดยเฉลี่ยที่ 300-600 เมตร มียอดเขาแขวะเป็นยอดเขาที่สุดของอุทยาน โดยวัดความสูงได้ประมาณ 1,327 เมตร (4,354 ฟุต) จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาส่วนใหญ่นั้นจะทอดยาวจากทางด้านทิศเหนือลงมาทางทิศใต้ ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติไทรโยคเป็นเขตติดต่อกับประเทศพม่า[2]

ภูมิอากาศ

แก้

อุณหภูมิในพื้นที่อุทยานรายปีอยู่ในช่วงกว้างระหว่าง 8 องศาเซลเซียส (46 องศาฟาเรนไฮต์) ถึง 45 องศาเซลเซียส (113 องศาฟาเรนไฮต์) ช่วงเวลาที่แห้งแล้งที่สุดอยู่ในเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ ในขณะที่ช่วงที่มีฝนชุกที่สุดอยู่ในช่วงพฤษภาคมถึงตุลาคม[1][3]

ประวัติ

แก้

ข้างในอุทยานยังมีสะพานของทางรถไฟสายมรณะและค่ายของกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง[2][4]

ใน พ.ศ. 2521 มีการถ่ายทำฉากรัสเซียนรูเล็ตของภาพยนตร์เดอะ เดียร์ ฮันเตอร์ในอุทยานนี้[1] ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2523 ไทรโยคกลายเป็นอุทยานแห่งชาติที่ 11 ของประเทศไทย[3]

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้
 
น้ำตกไทรโยคใหญ่

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในอุทยานคือน้ำตก ได้แก่น้ำตกไทรโยคน้อยและน้ำตกไทรโยคใหญ่ ซึ่งไหลไปยังแม่น้ำแควน้อย [2]

อุทยานนี้มีถ้ำจำนวนมาก โดยถ้ำละว้า ถ้ำที่มีขนาดใหญ่สุด มีความยาว 500 เมตร (1,600 ฟุต) ในถ้ำมีโพรงใหญ่ 5 ช่อง แต่ละช่องมีหินงอกหินย้อยขนาดใหญ่[1] ส่วนถ้ำดาวดึงส์ ซึ่งค้นพบใน พ.ศ. 2515 มีความยาว 100 เมตร (330 ฟุต) และมีโพลงที่มีหินงอกหินย้อย 8 ช่อง[2]

พรรณไม้ประจำถิ่นและพันธุ์สัตว์

แก้

พื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าไทรโยคเต็มไปด้วยต้นสัก ในช่วงที่ญี่ปุ่นบุกครองประเทศไทย มีการตัดต้นสักเพื่อทำเป็นหมอนรถไฟของทางรถไฟสายมรณะ หลังจากนั้นมีการปลูกต้นสักใหม่ใน พ.ศ. 2497[5]

สัตว์ที่อยู่ในอุทยานนี้ ได้แก่ช้าง, เสือ, เก้ง, กวางป่า, หมูป่า, ชะนี, เม่นใหญ่แผงคอยาว, ลิงลม และเลียงผา[1][3] ต่อมามีการค้นพบปูราชินีในอุทยานนี้เมื่อ พ.ศ. 2526[1][4]

ไทรโยคเป็นที่อยู่ของค้างคาวคุณกิตติ ซึ่งพบครั้งแรกใน พ.ศ. 2516 และพบเฉพาะในถ้ำหินปูนของอุทยาน (รวมถึงถ้ำค้างคาว) และบริเวณรอบ ๆ จังหวัดกาญจนบุรีกับใกล้ประเทศพม่า[1][3][4][6]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 Williams, China; Beales, Mark; Bewer, Tim (February 2012). Lonely Planet Thailand (14th ed.). Lonely Planet Publications. pp. 184. ISBN 978-1-74179-714-5.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "National Parks in Thailand: Sai Yok National Park" (PDF). Department of National Parks (Thailand). 2015. pp. 202–203. สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "Sai Yok National Park". Department of National Parks (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 May 2013. สืบค้นเมื่อ 16 May 2013.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Introducing Sai Yok National Park". Lonely Planet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-06. สืบค้นเมื่อ 20 June 2017.
  5. Gray, Paul; Ridout, Lucy (1995). Thailand - The Rough Guide (2nd ed.). Rough Guides Limited. p. 159. ISBN 1-85828-140-7.
  6. Elliot, Stephan; Cubitt, Gerald (2001). THE NATIONAL PARKS and other Wild Places of THAILAND. New Holland Publishers (UK) Ltd. pp. 57–59. ISBN 9781859748862.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้